Wednesday, May 29, 2013



เสริมความรู้เรื่องคำวิเศษณ์ (คำวิเศษณ์มี 9 หรือ 10 ชนิดกันแน่...)





๙. ประติเสธวิเศษณ์ คือ คำที่บอกความห้าม หรือไม่รับรอง เช่น ไม่ใช่ มิได้ บ่
๑๐. ประพันธวิเศษณ์ คือ คำประพันธสรรพนาม ซึ่งเอามาใช้เหมือนคำวิเศษณ์ ได้แก่ ที่ ซึ่ง อัน เช่น เขาพูดอย่างที่ฉันพูด ที่ ซึ่ง อัน ถ้าอยู่ติดกับคำนาม หรือสรรพนามจะเป็น  ประพันธสรรพนาม ถ้าอยู่ติดกับกริยาหรือกริยาวิเศษณ์จะเป็นประพันธวิเศษณ์


สังเกตคำ ประพันธสรรพนาม  คือ สรรพนามที่ใช้แทนนาม หรือแทนสรรพนามที่อยู่ติดต่อกันข้างหน้า ได้แก่คำว่า ผู้ ที่ ซึ่ง อัน ดัง ผู้ที่ ผู้ซึ่ง ตัวอย่าง เช่น

            ๑) ใครๆ ผู้ ที่ไม่กินผักก็ให้กินผลไม้
                        ๒) คน ที่ เป็นทหารต้องมีความอดทน
                       ๓) เขาบูชาความรัก ซึ่ง ทำให้เขาตาบอด

           ๔) มันชอบกินแมลงซึ่งเป็นศัตรูพืชผักผลไม้ของคนเรา          
           ๕) นกเหล่านี้เป็นอาหารตาอันเป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม
ตั้งข้อสังเกตจากการสอนวันนี้  นักเรียนในห้อง 6/4 จะได้ยินสองอย่างว่าคำวิเศษณ์มี 10 ชนิด และมี 9 ชนิด จากประเด็นตรงนี้ ทำให้ครูต้องกลับไปสืบค้น  และได้ความคิดเห็นที่น่าเชื่อถือจาก อาจารย์กอบกุลย์
ถ้าตามลักษณะภาษาไทย เค้าจะแบ่งตามนี้ค่ะ
ประพันธวิเศษณ์คือคำประพันธสรรพนามหรือคำประสมบางคำที่เอามาใช้เป็นวิเศษณ์เพื่อขยายวิเศษณ์หรือกริยา  เช่น เด็กคนนี้โง่แปลก โง่ที่อธิบายไม่ถูก
               คือว่า เกณฑ์การวิเคราะห์ตอนนี้มีอยู่2ประเด็นคือ
       การที่บอกว่าประพันธวิเศษณ์. เป็น คำเดียวกับประพันธสรรพนาม เพราะ ตามหลักไวยากรณ์โครงสร้าง(ภาษาศาสตร์แนวใหม่) เค้าจำแนกคำโดยอาศัย "หน้าที่"ของคำเป็นเกณฑ์ เมื่อใช้กรอบประโยคทดสอบ
       มาจากหนังสือของพระยาอุปกิตในเรื่องชนิดของคำ ซึ่งตอนแรกอธิบายเหมือนกัน ว่าเป็นชนิดเดียวกับประพันธสรรพนาม   ตรงข้อนี้เองที่นักภาษาศาสตร์เห็นว่า  พระยาอุปกิต เขียนขัดแย้งกัน ในตอนท้ายที่สรุป ว่าต่างกัน
ดังนั้น จึงขอให้นักเรียนทราบว่า   คำวิเศษณ์ อาจมี 9 หรือ 10 ชนิดนั้น มาจาก ลักษณะการจำแนก ของพระยาอุปกิตศิลปสาร ทีให้ไว้ว่า 10 ชนิด แต่เมื่อนักภาษาศาสตร์แผนใหม่มาศึกษาและตีความจึงเห็นว่าคำ                (ประพันธวิเศษณ์ และประพันธสรรพนาม)สอง อย่างนี่เหมือนกัน  จึงตัดให้เหลือ  9 ชนิด

7 comments:

  1. ขอบคุณมากค่ะอาจารย์ จดในห้องไม่ทัน (lexsure) เลยตามมาจดในนี้ ได้เก็บครบเลยค่ะ
    จาก ด.ญ.สวิตตา ป.๖/๔

    ReplyDelete
    Replies
    1. เช่นกัน ต้องชมว่ามีความขยัน

      Delete
    2. ก็วิชานี้ค่อนข้างยากนี่คะ555 ต้องขยันกันหน่อย :D

      Delete
  2. ขอบคุณมากครับอาจารย์ lexsure ไม่ทันมาจดเลยครับ จาก ด.ช. พัทธดนย์ พึ่งวงศ์สำราญ ป๖/๕ ครับ

    ReplyDelete
    Replies
    1. ถ้ามีนักเรียนขยันแบบนี้สอนไม่เหนื่อยจริงๆ

      Delete
  3. ขอบคุณอาจารย์มากนะคะ เข้าใจหมดเลยและยังได้ความรู้เพิ่มเติมอีกมากเลยคะ

    ReplyDelete
  4. พูดน่ารักนะ อยากให้ได้มากๆ จะได้ไม่เหนื่อยเวลาสอบคะ

    ReplyDelete