Sunday, August 28, 2011

แก้ข้อสงสัย

         มีคำถามจากอาจารย์สอนภาษาไทย ท่านหนี่ง โทรมาถาม เกี่ยวกับการอ่านว่า คำว่า  โทรศัพท์ และ โทรทัศน์  ทำให้ ครูต้องนิ่งและคิด ก่อนตอบ และย้ำด้วยการค้นคว้า  พบว่า คำเหล่านี้
โทรทัศน์ อ่านว่า โท-ระ- ทัศน์  และ โทรศัพท์ อ่านว่า  โท-ระ -ศัพท์ 
คำว่า โทร. หมายความ  ไกล,  ทัศน์ มาจาก คำว่า มองเห็น จินตนาการ มโนภาพ (vision) เป็นคำศัพท์บัญญัติ ที่มาจากคำไทยที่มาจากภาษาต่างประเทศว่า  tellevision , tellophone.

Friday, August 26, 2011

แจ้งคะแนน ๒๐ คะแนน วิชาภาษาไทย

เรียนท่านผู้ปกครองที่เคารพและนักเรียนที่รักทุกคน     
      ตามที่อาจารย์ระพิน ได้ให้นักเรียนปรับปรุงชิ้นงานวิชาภาษาไทยและส่งแฟ้มสะสมงานวิชาภาษาไทย เพื่อนำคะแนนที่ได้มารวมกับคะแนนเดิม เพื่อปรับปรุงคะแนน (๒๐ คะแนน) ที่จะแจ้งผู้ปกครองในวันที่ ๓๐ สิงหาคม นี้ ตอนนี้ครูได้ตรวจงานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว และได้ปรับแก้คะแนนให้กับนักเรียนที่ส่งแฟ้มสะสมงาน จึงนำคะแนนมาขึ้นเว็ปไซต์เพื่อให้นักเรียนและท่านผู้ปกครองทราบคะแนน จึงเรียนมาเพื่อทราบ... 
คะแนนห้อง ๖/๔

 คะแนนห้อง ๖/๕

Tuesday, August 23, 2011

โต้วาที

การโต้วาที ญัญติ วันนี้ 23 สิงหาคม 2554

เก่งไอที ดีกว่าเก่งภาษา 

ผลการตัดสิน คือฝ่ายเสนอชนะ ในหลายๆเหตุผล
ที่สำคัญ ทำให้เราได้นักพูดฝีปากดี หลายคน ซึ่งจะนำไปฝึกฝนให้
มีความเก่งกล้า และสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้

ข้อค้นพบที่พบวันนี้
1. นักเรียนยังไม่มีประสบการณ์ในการพูดโน้มน้าว
 การพูดแบบมีตัวอย่างประกอบ หรือการพูดที่แยกแยะข้อเท็จจริง และสรุปประเด็น
ที่พูดให้เป็นหมวดหมู่
2. การใส่อารมณ์ ท่าทาง ประกอบการพูดช่วยสะกดผู้ฟังได้ไม่น้อย แต่อีกฝ่ายยังพูดเหมือนการ
ชี้แจง ควรใส่นำ้เสียงจริงจัง มีการเน้นเสียง หนักเบา
3. การนำกระดาษมาอ่าน ทำให้เหมือนการอ่าน มากกว่าการพูด จึงไม่ควรอย่างยิ่งที่จะอ่านในขณะทำการโต้ ควรอ่านให้เข้าใจ และทำความเข้าใจให้ถูกต้องก่อน
4. การใช้เวลา 3 นาที ควรใช้ให้หมด แต่ไม่ควรเกิน ฉะนั้น ก่อนพูดต้องทำการบ้านว่าเราพูคครบตามเวลาหรือไม่







Saturday, August 20, 2011

หลักการเขียนเรียงความ

              ใกล้ช่วงเวลาที่นักเรียนต้องฝึกการเขียน ในเทอม 2 และที่สำคัญทุกคนต้องเขียนบทความในชวงปิดเทอม ครูจะสอนการเขียนให้  จะได้รับรางวัล และประสบความสำเร็จเหมือนพี่นกของเรา ก่อนอื่นต้องเข้าใจหลักการเขียนก่อน ตามที่กำหนดข้างล่างนี้ และเราฝึกเขียนบ่อยๆ ก็จะชำนาญ

                                       หลักในการเขียนเรียงความ

หลักในการเขียนเรียงความที่สำคัญ ๆ มีดังนี้
   1. เขียนตรงตามส่วนประกอบของเรียงความ คือ มีส่วนนำเรื่อง ส่วนเนื้อเรื่องและส่วนปิดเรื่อง ย่อหน้าแรกและย่อหน้าสุดท้ายเป็นส่วนนำเรื่องและส่วนปิดเรื่อง

  2. เขียนตรงตามโครงเรื่องที่วางไว้ทุกประเด็น

  3. เนื้อเรื่องที่วางไว้ตามโครงเรื่องควรเขียนอย่างครบถ้วน และสมบูรณ์ และมีการลำดับความที่ต่อเนื่องสอดคล้องกัน อ่านเข้าใจ ประเด็นความคิดหลักต้องแจ่มชัด อย่าเขียนออกนอกเรื่อง หรือนอกประเด็นไม่ตรงตามโครงเรื่องที่วางไว้
  4. การนำเสนอเรื่อง นอกจากจะให้มีสาระน่าอ่านแล้ว ยังควรต้องเลือกสรรข้อความที่เหมาะสมมากล่าวจะทำให้มีน้ำหนักของถ้อยคำน่าเชื่อถือ สามารถจูงใจให้ผู้อ่านเห็นคล้อยตามถ้อยคำที่เลือกสรรไว้
  5. มีความคิดแปลกใหม่ ทันสมัย น่าสนใจ สอดแทรกในข้อเขียนอย่างเหมาะเจาะกลมกลืน นับเป็นท่วงทำนองการเขียนเฉพาะตัวที่น่าสนใจ หรือแสดงความคิดเชิงสร้างสรรค์
  6. มีสำนวนการเขียนดี มีโวหาร คือ มีถ้อยคำที่เรียบเรียงน่าอ่าน มีการแสดงถ้อยคำออกมาเป็นข้อความที่เปรียบเทียบ
  7. มีความงามในรูปแบบ คือ หัวข้อกลางหน้ากระดาษ หัวข้อชิดขอบกระดาษ หัวข้อย่อหน้า หัวข้อย่อยจะวางรูปแบบได้สัดส่วนเหมาะเจาะ สวยงาม อ่านง่าย ไม่สับสน ย่อหน้าใหม่ทุกครั้งเมื่อต้องเปลี่ยนเรื่องใหม่
  8. เรียงความที่ต้องประกอบด้วย เอกภาพ สัมพันธภาพ และสารัตถภาพ


(คู่มือการเรียนการสอนภาษาไทย คิดและเขียนเชิงสร้างสรรค์:เรียงความ ย่อความและสรุปความ ช่วงชั้นที่2-4,สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ,2551)



ทำความเข้าใจ ครั้งที่ 1

จากคะแนน 20 ของนักเรียน
ซึ่งคะแนนส่วนใหญ่จะมาจาก    -  ชิ้นงาน (10ชื้นงาน)  และงานกลุ่ม(อ.ประจักษ์)
                                                  -  การสอบหลักภาษาไทย 2 ครั้ง (เลือกคะแนนที่ดีที่สุด)
                                                  -  การสอบการใฃ้ภาษา
                                                  -  คะแนนดาว คะแนนกลุ่ม การตอบคำถาม
คะแนนที่ออกมายังไม่สูงมาก ในภาพรวมของนักเรียนทั้ง 2 ห้อง
ปัญหาที่พบ คือ
1. นักเรียนยังไม่ชินกับการส่งงานที่มีเกิดขึ้นตลอดเวลา และจากนิสัยที่ชอบสะสมงาน การบ้าน
จึงทำให้ทำไม่ทัน เรียกว่าดินพอกหางหมู
2. การทำงาน ที่ไม่ให้ความจริงจัง และขาดการทบทวน หรือปรับปรุงก่อนส่ง
    ทำให้คุณภาพของงานไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์
3. การทำงานแบบ แค่ทำส่ง หรือการลอกงาน ผู้อื่น  (คงต้องพยายามตัดนิสัยนี้)
4. คิดว่าอาจารย์ไม่ตรวจงาน และจะรอดพ้น

จากปัญหาทั้งหมดนี้ ขอให้นักเรียนแก้ไข เพราะอาจารย์จะไม่ให้นักเรียนผ่าน
และการสอบถามอาจารย์ เมื่อสงสัย หรือต้องการความช่วยเหลือยังทำได้ และควรทำ ใครที่ติดต่อครู
และสอบถามงาน การบ้านครู หรือโทรหาครูบ่อยๆ จะพบคำตอบของการเรียนที่ดีขึ้น หรือเรียกว่าความสำเร็จก็ว่าได้ เบอร์โทรของครู  0819969811   อาจารย์อีกท่านที่นักเรียนสามารถสอบถามข้อสงสัยคือ
 อ.ประจักษ ทำงานได้เข้มแข็ง และตั้งใจดีกับนักเรียนเสมอมา

สัปดาห์หน้า จะเป็นกิจกรรมโต้วาทีสำหรับชั้นป.6 ต่อจากที่ได้ทำไปแล้วทั้งสองห้อง
ต้องยอมรับว่านักเรียนมีความสามารถมาก ครูชื่นชมทุกคน

ดังนั้น ครูจะให้โอกาสนักเรียนอีกครังในการเพิ่มคะแนน โดยจะตรวจแบบฝึกหัด และแฟ้มสะสมผลงาน
และอาจให้สอบอีกครั้ง เพื่อเป็นตัวเลือกในการได้คะแนนเพิ่มขึ้น ขอให้ทุกคนเตรียมตัวไว้ในสัปดาห์หน้า


Thursday, August 18, 2011

ตอบข้อสงสัยนักเรียน ครั้งที่ 1

      ก่อนอื่นต้องทำความเข้าใจกับนักเรียน เรื่องการอ่าน และเขียนคำยาก นักเรียนต้องหมั่นอ่านหนังสือบ่อยๆ จะทำให้นักเรียนจดจำคำยากได้  และเข้าใจความหมายของคำที่อ่าน  ตัวอย่างของคำและความหมายนี้  เป็นส่วนหนึ่งของการเฉลยข้อสอบ เพื่อแก้ข้อสงสัย “
เรื่องที่ 1 :  สาสน์” “สาส์นและ สาร
          คำ สาสน์ (อ่านว่า สาด) สาส์น (อ่านว่า สาน) และ สาร (อ่านว่า สาน) ยังมีการนำไปใช้สับสนกัน ดังข้อความที่เห็นกันอยู่เสมอ ๆ เช่น สาสน์จาก (นายกรัฐมนตรี, ผู้ว่าการ ฯลฯ) สาส์นจาก... หรือ สารจาก... ทำให้เกิดความสงสัยว่า ควรจะใช้คำใดจึงจะถูกต้อง
           ถ้าเปิดพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๒๕ พิมพ์ครั้งที่ ๔ จะไม่พบคำ สาส์นแต่จะพบคำ สาสน์ (หน้า ๘๑๘) และคำ สาร (หน้า ๘๑๕) ซึ่งนิยามไว้ดังนี้
           สาสน์ (สาด) น.คำสั่ง, คำสั่งสอน; โดยปริยายหมายถึงพระราชหัตถเลขาทางราชการ  จดหมายทางราชการของประธานาธิบดี และลิขิตของพระสังฆราช เช่น พระราชสาสน์ อักษรสาสน์ สมณสาสน์.
           สาร ๑, สาร-๑, สาระ (สาน, สาระ-) น.แก่น, เนื้อแท้ที่แข็ง, เช่น แก่นสาร ส่วนสำคัญ, ข้อใหญ่ใจความ, เช่น ไม่เป็นสาระ; ถ้อยคำ เช่น กล่าวสาร, หนังสือ เช่น นิตยสาร, จดหมาย เช่น เขียนสาร.
           การที่พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน ไม่เก็บคำ สาส์น เพราะเป็นคำที่อ่านและเขียนผิดอักขรวิธีไทยของคำที่มาจากภาษาบาลีสันสกฤต คำบาลีสันสกฤตนั้น พยัญชนะตัวที่ไม่มีรูปสระกำกับอยู่และไม่ใช่ตัวควบกล้ำหรือตัวสะกด จะอ่านเหมือนมีสระอะประสมอยู่เสมอโดยเฉพาะพยัญชนะตัวท้ายคำ เช่น สาสน (อ่านว่า สา-สะ-นะ) เมื่อไทยรับคำบาลีสันสกฤตมาใช้มักนิยมแปลงพยัญชนะตัวท้ายคำเป็นตัวสะกดบ้าง เช่น กาล (กา-ละ) อ่านเป็น กาน, ขย (ขะ-ยะ) แผลงเป็น ขัย แปลงเป็นตัวสะกดและตัวการันต์บ้าง เช่น สนฺต เป็น สันต์, วิโรจน เป็น วิโรจน์ คำ สาส์น ซึ่งเป็นคำมาจากบาลีว่า สาสน จึงต้องเขียนว่า สาสน์ (อ่านว่า สาด) จึงจะถูกต้องตามหลักอักขรวิธีไทยดังกล่าวข้างต้น และคำนี้มีแบบแผนการใช้มาแต่โบราณกับลิขิตของพระสังฆราช เช่น สมณสาสน์, พระราชหัตถเลขาทางราชการ เช่น พระราชสาสน์ เท่านั้น
           ส่วนที่มีการใช้คำว่า สาส์น และอ่านว่า สาน คงเนื่องมาจากชื่อหนังสือ สาส์นสมเด็จ ซึ่งเป็นหนังสือที่รวบรวมจดหมายโต้ตอบเกี่ยวกับความรู้ทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี ภาษา ขนบธรรมเนียมประเพณี ศิลปะ ฯลฯ ระหว่างสมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพกับสมเด็จฯ กรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์  หนังสือเล่มนี้เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายมาก คำ สาส์น นี้จึงติดหูติดตาและนำไปใช้ในความหมายของ จดหมายกันแพร่หลาย ที่ถูกแล้ว คำ สาส์น จะต้องถือว่าเป็นคำวิสามานยนาม เป็นคำยกเว้นที่ใช้เป็นชื่อหนังสือเล่มนี้เท่านั้น
           ฉะนั้น เมื่อไรก็ตามที่ต้องการจะหมายถึง ถ้อยคำ, หนังสือหรือจดหมายจากบุคคลใดบุคคลหนึ่งให้ใช้คำว่า สาร เช่น สารจาก (นายกรัฐมนตรี, ประธานกรรมการ, ...) สารฉบับนี้มีข้อความว่า... ไม่ใช้ สาสน์ หรือ สาส์น เป็นอันขาดเพราะไม่ถูกต้อง.
ที่มา : จดหมายข่าวราชบัณฑิตยสถาน ปีที่ ๑ ฉบับที่ ๔

เรื่องที่ 2 : คำราชาศัพท์ที่แปลว่าตาย
ต่อไป จะเป็นคำราชาศัพท์ที่เกี่ยวกับ ตาย  ที่เราใช้ผิดและสับสน ทั้ง  7  คำ  โดยแต่ละคำนั้นจะนำไปใช้แตกต่างกันตามฐานะของแต่ละบุคคล  ดังนี้

ชีพิตักษัย   ความหมาย    (ราชา) น. การสิ้นชีวิต. ก. ตาย, ใช้แก่หม่อมเจ้าว่า ถึงชีพิตักษัย. (ส. ชีวิตกฺษย; ป. ชีวิตกฺขย).    [ชี-พิ-ตัก-ไส] น. การสิ้นชีวิต. ก. ตาย. เช่น
-          พระมารดาในพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าโสมสวลี พระวรราชาทินัดดามาตุ ... หม่อมเจ้าฐิติพันธ์ ยุคล สิ้นชีพิตักสัย เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม
-          หม่อมเจ้าทิพยฉัตร ฉัตรชัย สิ้นชีพิตักสัย แล้ว, อดีต ผกก. หนังไทยวิวสวย และผู้แปล คำบรรยายไทยใน เดอะแมทริกซ์.
พิราลัย    เป็นคำราชาศัพท์ใช้สำหรับเจ้าประเทศราช และสมเด็จเจ้าพระยา อสัญกรรม  สวรรคต  เป็นคำราชาศัพท์ใช้สำหรับพระเจ้าแผ่นดิน  สมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี  สมเด็จพระยุพราช สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช และพระบรมราชวงศ์ที่ทรงได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น
-          ในวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2462 สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จสวรรคตด้วยพระโรคพระวักกะอักเสบเรื้อรัง ณ พระราชวังพญาไท
ทิวงคต   เป็นคำราชาศัพท์ใช้แก่พระยุพราชหรือเจ้าฟ้าซึ่งได้รับการเฉลิมพระยศพิเศษ หรือใช้กับ พระมหา กษัตริย์ต่างประเทศ, กรมพระราชวังบวรสถานมงคล พระราชวงศ์ที่ดำรงพระอิสริยศักดิ์สูง
สิ้นพระชนม์   เป็นคำราชาศัพท์ใช้แก่เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า สมเด็จพระสังฆราชเจ้า และสมเด็จพระสังฆราช
-สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ สิ้นพระชนม์อย่างกะทันหันด้วยพระโรคนิวมอเนีย เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน
อสัญกรรม เป็นคำราชาศัพท์ใช้สำหรับข้าราชการชั้นเจ้าพระยาตาย ใช้ว่า ถึงแก่อสัญกรรม
- นายสมัคร สุนทรเวช อดีตนายกรัฐมนตรี คนที่  25 ที่เข้ารักษาตัวด้วยอาการป่วยเป็นโรคมะเร็งตับ ที่ รพ.บำรุงราษฏร์ ได้ถึงอสัญกรรมด้วยความสงบ  

อนิจกรรม  เป็นคำราชาศัพท์ข้าราชการชั้นพระยาพานทองตาย ใช้ว่า ถึงแก่อนิจกรรม
-      นพ.เสม พริ้งพวงแก้ว ผู้มีบทบาทด้านการแพทย์ชนบทถึงแก่อนิจกรรมแล้ว รวมอายุได้ 100 ปี
-          ถึงแก่อนิจกรรมแล้ว พล.อ.สิทธิ จิรโรจน์ โรคชราคร่าชีวิตขณะอายุ 89 ปี ในหลวง ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานน้ำหลวงอาบศพ
เรื่องที่ 3 : ความหมายและชื่อเรียกของฉัตร 
         สำหรับฉัตรแต่ละชั้นแสดงถึงเครื่องประกอบอิสริยยศของเจ้านาย ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมทย์ ให้ความหมายว่าฉัตรคือร่ม เมื่อพระเจ้าอยู่หัวยกทัพไปตีเมืองใด เมื่อชนะก็นำร่มหรือฉัตรของเมืองที่ยึดได้มา ทั้งนี้ได้กำหนดฉัตรสูงสุดไว้ 9 ชั้น โดยฉัตรสีขาวเป็นฉัตรที่สูงชั้นที่สุด เรียกว่า เศวตฉัตร มี 5 ชั้น 7 ชั้นและ 9 ชั้น โดยฉัตรสีขาว 9 ชั้น เรียกว่านพดลมหาเศวตฉัตร ใช้กับพระเจ้าอยู่หัวและพระบรมราชินี ส่วน 7 ชั้นใช้กับพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร และสมเด็จพระเทพฯเรียก สัตตปดล ฉัตร 5 ชั้นใช้กับสมเด็จเจ้าฟ้าและสมเด็จพระสังฆราช แต่ทั้งนี้ โปรดเกล้าฯให้เลื่อนลำดับได้ อย่างเช่นกรณีพระพี่นางฯ ดำรงพระอิศริยยศเสมอด้วยฉัตร 5 ชั้น แต่ต่อมา พระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เลื่อนชั้นเป็นฉัตร 7 ชั้น