Tuesday, December 27, 2011

ตัวอย่างชิ้นงานที่ 7

ตัวอย่าง งานที่ดี ที่สะท้อนให้เห็นสำนวน โวหาร ในหนังสืออ่านนอกเวลาของนักเรียน






                                                                       ตัวอย่าง  โวหารจากชัินงานที่ 7
                                               สวนเที่ยงคืน (Tom’s midnight Garden)


เร็ว! เร็ว! บ้านเหมือนจะกระซิบอยู่รอบๆ ตัวเขา เวลากำลังผ่านไป... ผ่านไป...

ทอมเปิดประตูกว้าง ปล่อยให้แสงจันทร์ทะลักเข้ามา---เจิดจ้าราวแสงอรุณสีขาวก่อนดวงอาทิตย์จะขึ้นเต็มที่

เป็นอุปมาโวหาร เพราะว่า เปรียบแสงจันทร์ให้เหมือนกับแสงอาทิตย์




“ครอบครัวของเขาน่าเศร้ามาก แต่เธอต้องสัญญานะว่าจะไม่ไปบอกใครนะ ถ้าฉันเล่าให้ฟัง”

“เขามีพี่ชายคนเดียว วันหนึ่งสองพี่น้องต่อสู้กันในทุ่งนา---ตอนนั้นก่อนที่เขาจะมาเป็นคนสวนที่นี่ พี่ชายของเขาอิจฉาเขามาก และวันหนึ่ง...ในทุ่งนา...ทั้งสองต่อสู้กัน เอ้อ พี่ชายของเขาเล่นงานเขา---ด้วยอาวุธ---อย่างโหดเหี้ยม



เขากับเธอเสกตต่อไป ดวงอาทิตย์สีจางๆ เจิดจ้าเริ่มคล้อยต่ำลง เงาดำของแฮตตี้โฉบอยู่ทางขวา บนพื้นน้ำแข็งที่สว่างพร่างเคืองตา บางครั้งเขาทั้งสองจะเสกตกลางแม่น้ำ แต่บางครั้งก็แฉลบออกไปทางริมตลิ่งเลียบแนวที่น้ำท่วมถึง มีเพียงต้นวิลโลว์ตามริมฝั่งแม่น้ำเท่านั้นที่จับตาดูอยู่ น้ำแข็งส่งเลียงเปรี๊ยะๆ ขณะที่พวกเขาผ่านไป

เป็นพรรณนาโวหาร เพราะว่า ได้อธิบายในเห็นภาพระหว่างที่พวกเขาเสกต


                                     เป็นบุคลาธิษฐานโวหาร เพราะว่า เปรียบให้ต้นวิลโลว์มีชีวิต
                                              เธอทำตาโตเป็นไข่ห่านใส่เขา เป็นอติพจน์โวหาร


ข้อที่ควรแก้ไข
การตอบคำถาม ยังไม่ครบทุกข้อ
มีโวหารบังคับ อยู่ 5 โวหารทิ่เรียน ควรหาและนำมาใส่ให้ครบ


ชิ้นงานที่ 7

ด.ญ. พรนัชชา สวนจิตร  ป.6/5 เลขที่ 19

































































Sunday, December 18, 2011

ตัวอย่างชิ้นงานที่ ๖ "ศึกสายเลือด"

สวัสดีนักเรียนทุกคน
     ชิ้นงานที่ ๖ ที่ครูได้สั้งให้นักเรียนทำนั้น มีนักเรียนหลายคนกังวลว่าทำงานชิ้นนี้ไม่ได้ และไม่มีตัวอย่างให้ดู ครูจึงได้นำชิ้นงานของเพื่อนที่สวยงาม น่าสนใจ และมีความคิดสร้างสรรค์ มาให้นักเรียนดูเพื่อเป็นแนวทางในการทำงาน...ขอให้นักเรียนทุกคน ทำงานให้เต็มที่







คะแนนทดสอบย่อยวิชาภาษาไทย ครั้งที่ 1-4

     ก่อนอื่น ต้องขอบคุณอาจารยประจักษ์ ที่ช่วยเรียบเรียงคะแนนให้ 
หลังจากเห็นคะแนนกันแล้ว อาจารย์คิดว่าหลายคนคงตกใจ หมดหวัง ท้อใจ หรือไม่  ก็ชิงชัง วิชาภาษาไทย หรือเจ้าของวิชา  ทั้งหมดที่กล่าวมานี้  ยังไม่ใช่ หนทางสุดท้าย คะแนนเป็นเพียงเครื่องมือในการตรวจสอบความรู้ของนักเรียนในบางด้านของเนื้อหาเท่านั้น
และครูมั่นใจว่านักเรียนยังมี อีกหลายด้านที่ดี และมีความสำเร็จ จงอย่าลช้เลิกความตั้งใจ
ก่อนอื่นต้องเข้าใจวิธีการเก็บคะแนนของอาจารย์
1.  ในเรื่องสำนวน โวหาร (เนื้อหา ยาก แบบเข้มข้น) จะมีการสอบ ด้วยข้อสอบ 3 ชุด นักเรียนจะได้สอบทั้งหมด แต่จะได้เลือกชุดที่คะแนนดีที่สุด มาเป็นคะแนนเก็บ ดังนั้นรอลุ้นชุดที่ 3 ได้ทำไว้แล้วอย่างเรียบง่าย และนักเรียนผ่านการสอน การสอบ หลายครั้ง จึงเป็นชุดสุดท้ายที่ง่ายที่สุด สอบภายในสัปดาห์นี้ (รอลุ้น)
2. งานในแฟ้ม อย่าลืมส่ง จะลงคะแนนให้เห็นในเว็บนี้ ในสัปดาห์หน้า  ทุกงานต้องเสร็จ และการอ่านเสริมนอกเวลา ควรอ่านจบเล่มได้แล้ว ขั้นตอนนี้ คือการสรุปการอ่าน ตามแบบที่กำหนด
3. นักเรียน จะต้องส่งงาน และพัฒนางาน ถ้าพบว่าคะแนนงาน ช้ินไหน  น้อย ทำส่งมาใหม่ (คะแนนจะเพิ่มขึ้น)
  




 ห้อง 6/1




ห้อง 6/2



ห้อง 6/4



 ห้อง 6/5



หมายเหตุ ....คะแนนสอบทุกครั้ง เต็ม 50 คะแนน

ในกรณีที่ข้อสอบชุดใดที่สอบไปแล้วไม่ถึงหรือมากกว่า 50 คะแนนนั้น ครูผู้สอนจะดำเนินการสอบเพิ่มเพื่อปรับคะแนนให้เป็น 50คะแนน ทั้งนี้จะแจ้งนักเรียนในชั่วโมงเรียนอีกครั้งหนึ่ง


Wednesday, December 7, 2011


ตัวอย่างงาน และคำแนะนำ ที่นักเรียน ควรรู้ เพื่อนำไปพัฒนางานเขียน

ตัวอย่างที่ดี ที่พบ คือ ผู้เชียนให้รายละเอียดเกี่ยวกับ เหตุผลในการเลือกหนังสือดีมาก
และบอกถึง สิ่งที่ประทับใจ หรือสิ่งที่ต้องการให้แก้ไขได้ดี มีตัวอย่างประกอบ
ศัพท์ที่น่าสนใจ ก็อธิบายได้ชัดเจน


แต่มีบางจุดที่อยากให้เพิ่มเติม คือในข้อ 12 13 และ 14 การพูดหรือ กล่าวถึงอะไร ขอให้ยกตัวอย่างประกอบด้วย
เช่นรู้สึกอย่างไร ตอบเพียง สนุก หรือคำว่าน่าสนใจ ยังไม่เห็นถึงจุดสำคัญ ที่ทำให้ผู้อ่านทราบได้ว่านักเรียนชอบไม่ชอบอย่างไร ขอให้ตัวอย่าง บางเรื่องบางตอน จะทำให้เห็นภาพได้ชัด เหมือนกันใช้สาธก ในการยกตัวอย่าง หรือการเทศนาโวหาร
ที่ใช้หลักของเหตุ และผล ในการพูดชักจูงให้คล้อยตาม
อยากให้นักเรียนฝึกการเขียน ที่มีการยกตัวอย่างประกอบ ให้มากกว่านี้

Monday, December 5, 2011

ตารางชิ้นงานวิชาภาษาไทย เทอม ๒/๒๕๕๔


ข้อสอบวิชาภาษาไทย ชุดที่ ๒ (ประโยคและวรรณคดีเรื่อง "อย่าชิงสุกก่อนห่าม")

ข้อสอบวิชาภาษาไทย ( ชุดที่ ๒ ) ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
....................................................................
ตอนที่ ๑
คำชี้แจง        ให้นักเรียนเขียนคำตอบที่ถูกต้องลงในบรรทัดที่กำหนดให้

๑.      ผู้แต่งเรื่องสุภาษิตสอนหญิงคือใคร.................................................................................................................
๒.      ผู้ที่สันนิษฐานว่ากวีในข้อที่ ๑ เป็นผู้แต่งเรื่องสุภาษิตฯคือใคร.......................................................................
๓.      เรื่องสุภาษิตสอนหญิงแต่งด้วยคำประพันธ์ประเภทใด...................................................................................
๔.      จงอธิบายความหมายของคำว่า “ชิงสุกก่อนห่าม” มาพอสังเขป
..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
๕.      นักเรียนคิดว่าเรื่อง”อย่าชิงสุกก่อนห่าม” ที่ได้เรียนนั้น มีความจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตในสังคมปัจจุบันอย่างไร จงอธิบายมาพอเข้าใจ
......................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
๖.      “ถ้าแม้นทำสิ่งใดให้ตลอด                อย่าทิ้งทอดเที่ยวไปไม่เป็นผล
เขม้นขะมักรักงานการของตน           อย่าซุกซนคบเพื่อนไพล่เชือนแช”
จากบทกลอนข้างต้นสอนผู้อ่านในเรื่องใด
.......................................................................................................................................................................
๗.      “จะพูดจาปราศรัยกับใครนั้น           อย่าตะคั้นตะคอกให้เคืองหู
ไม่ควรพูดอื้ออึงขึ้นมึงกู                   คนจะหลู่ล่วงลามไม่ขามใจ”
จากบทกลอนข้างต้นหากจะให้ผู้อ่านยกสำนวนมาเปรียบเทียบ คิดว่าสำนวนใดเหมาะสมที่สุด
.......................................................................................................................................................................
๘.      “มีสลึงพึงประจบให้ครบบาท อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์
จงมักน้อยกินน้อยค่อยบรรจง อย่าจ่ายลงให้มากจะยากนาน”
จากบทกลอนข้างต้นสอนผู้อ่านในเรื่องใด
.......................................................................................................................................................................
๙.      “จงรักนวลสงวนงามห้ามใจไว้           อย่าหลงใหลจำคำที่พร่ำสอน
คิดถึงหน้าบิดาและมารดร               อย่ารืบร้อนเร็วนักมักไม่ดี”
จากบทกลอนข้างต้นหากจะให้ผู้อ่านยกสำนวนมาเปรียบเทียบ คิดว่าสำนวนใดเหมาะสมที่สุด
.......................................................................................................................................................................
๑๐.  นิทานคติธรรมเรื่อง “ไม่สำคัญที่ชื่อ” ให้ข้อคิดอะไรกับนักเรียนบ้าง จงอธิบายมาพอสังเขป
..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
๑๑.   ให้นักเรียนสรุปความรู้หรือข้อคิดที่ได้จากนิทานสุภาษิตเรื่อง “เงินสลึง” มาพอสังเขป
....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................


๑๒.  จากนิทานคติธรรมเรื่อง “พูดดีเป็นศรีแก่ตัว” นักเรียนคิดว่าการกระทำของบุตรเศรษฐีคนใดที่เหมาะสมที่สุดในเรื่องของการใช้คำพูด ทำไมนักเรียนจึงคิดเช่นนั้น จงอธิบายมาพอสังเขป
..................................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................
๑๓.  กำหนดให้นักเรียนทุกคนเป็นนักเรียนชาย คำถามมีอยู่ว่า ในความคิดของนักเรียน เหตุใดนักเรียนชายจะต้องมาเรียนวรรณคดีเรื่องสุภาษิตสอนหญิง และวรรณคดีเรื่องนี้มีประโยชน์ต่อนักเรียนชายหรือไม่ อย่างไร จงอธิบายมาพอสังเขป
..................................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................

ตอนที่ ๒
คำชี้แจง        ให้นักเรียนทำเครื่องหมายกากบาทลงหน้าตัวเลือกที่ถูกต้องที่สุด
๑. ข้อใดไม่เป็นประโยค
ก. งานแสดงอัญมณีล้ำค่าที่ศูนย์การค้าลาดพร้าว      ข. ธงไตรรงค์สะบัดพลิ้วบนยอดเขา
ค. ขวดใบนี้บรรจุน้ำได้มาก                             ง. นักเตะลูกหนังหงส์แดงถึงไทยตอนเย็นวันนี้

๒. ประโยคใดไม่มีประธาน
   ก. ใครจะไปใครจะมาข้าไม่สน             ข. เกิดเป็นคนควรตระหนักในศักดิ์ศรี
   ค. มาเมื่อไหร่ทำไมไม่บอกพี่               ง. ทำอย่างนี้ไม่เหมาะหรอกกนะเธอ
๓. ข้อใดเป็นประโยคความเดียว
    ก. ฝนตกรถติด                            ข.เขาเก่งหรือใครเก่ง
    ค.เขาช่างคุยมากเกินไป                   ง. เขาขยันจึงรวย
๔. ข้อใดไม่ใช่ประโยคความเดียว
 ก.สาหร่ายสังเคราะห์สามารถใช้แทนการกำจัดยุงด้วยวิธีอื่น ๆ
                 ข. วิธีกำจัดยุงกับลูกน้ำที่เป็นพาหะของโรคเท้าช้างยากมาก
                 ค. นักวิทยาศาสตร์สหรัฐได้เปิดเผยวิธีกำจัดยุงแบบใหม่
                 ง. การปล่อยสาหร่ายสู่แหล่งน้ำจะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐบาล
๕. ข้อใดเป็นประโยคความรวม
ก. ขงเบ้งยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดศรีสะเกษ
                ข. ขอทานสองผัวเมียโชคดีถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่ 1โจรเจ้ากรรมกลับแย่งไปจากมือ
                ค. อาชีพต่าง ๆ ในกรุงเทพฯมิใช่ว่าจะเหมาะสมกับผู้ที่อพยพมาหางานทำเสมอไป
                ง. ปีนี้มูลนิธิเพื่อเด็กพิการจัดค่ายพักแรมที่เขาใหญ่
๖. ข้อใดเป็นประโยคความซ้อน
ก. เจฟฟ์ยื่นคำร้องต่อศาลจังหวัดศรีสะเกษ
ข. ขอทานสองผัวเมียโชคดีถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่ 1โจรเจ้ากรรมกลับแย่งไปจากมือ
ค. อาชีพต่าง ๆ ในกรุงเทพฯมิใช่ว่าจะเหมาะสมกับผู้ที่อพยพมาหางานทำเสมอไป
ง. ปีนี้มูลนิธิเพื่อเด็กพิการจัดค่ายพักแรมที่เขาใหญ่
๗. ข้อใดเป็นประโยคความซ้อน
   ก. แพนไปซื้อผ้าและตัดผมที่ตลาด                  ข. แพรวไปซื้อกับข้าวที่ตลาด
   ค. พริ้มเพราไปซื้อผ้าแต่แม่ครัวไปที่ตลาด           ง. พราวไปหาเพื่อนที่อยู่ที่ตลาด

๘. ข้อใดเป็นประโยคความเดียว
   ก. แม่ไปซื้อผ้าและตัดผมที่ตลาด          ข. แม่ครัวไปซื้อกับข้าวที่ตลาด
   ค. แม่ไปซื้อผ้าแต่แม่ครัวไปที่ตลาด        ง. แม่ครัวไปหาเพื่อนที่อยู่ที่ตลาด
๙. ข้อใดเป็นประโยคความซ้อน
   .กานต์ร้องเพลงไทยเดิมเพราะมาก       .ฐานะทางการเงินของกันต์ตกต่ำลงอย่างมาก
   .ปืนกับเพื่อนนัดซ้อมฟุตบอลทุกเย็น      .เบฟทำการบ้านตามที่ครูบอกทุกครั้ง
๐. ข้อใดมีส่วนประกอบของประโยคเหมือน "พนักงานหนุ่มร้านนี้เกียจคร้าน"
   ก. .ดอกไม้เหี่ยวในแจกันดูน่าเกลียด                ข. ผู้หญิงแก่ข้างบ้านให้อาหารหมาจรจัด
   . คนกวาดถนนผู้หญิงทำงานอย่างคล่องแคล่ว    .แมวน้อยสีขาวตัวอ้วนกัดหนูตัวอ้วน
๑๑ ประโยคข้อใด ไม่ใช่ประโยคความรวม
ก. ปุระชัยเดินทางไปราชการที่เชียงใหม่และลำปาง   ข. ชวลิตอยากเป็นทหาร แต่ทักษิณอยากเป็นตำรวจ
ค. ฉันจะไม่ลืมคำที่คุณพูดวันนี้เลย                     ง. ถ้าแม่ไม่ไปคลินิก ก็ต้องไปโรงพยาบาล
๑๒. ข้อใดไม่ใช่ประโยค
. ร่วมกันพิทักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อโลกใบใหญ่ของเรา   . ธรรมชาติต่างผูกพันด้วยสายใยแห่งชีวิต
. เราจะเดินตามรอยเท้าของพระองค์ท่าน            . ๒๕ ปีโรงเรียนศึกษานารีวิทยาในปี ๒๕๕๐
๑๓ ข้อใดเป็นประโยคคำ ถาม
. ถามเท่าไรเขาก็ไม่บอก           . เขาบอกจึงต้องถามเธอ
. เธอจะบอกฉันหรือไม่            . ฉันไม่บอกเธอหรอก
๑๔.ข้อใดเป็นประโยคความรวม
. ครูคนไหน ๆ ก็ชอบสอนห้องที่นักเรียนเงียบสงบ   . ห้องที่เงียบสงบมีครูเข้าสอนแล้ว
. ครูเข้าห้องเรียนที่เงียบสงบ                          ง.พอครูเข้าห้องทุกคนก็เงียบเสียง
๑๕.เจ้าของสวนยางสอบถามคนสวนที่มาจากพม่าคุยกันอย่างไรก็ไม่สามารถสื่อสารกันได้ ปัญหาน่าจะเกิดจากองค์ประกอบใดมากที่สุด
. ผู้ส่งสาร       . ผู้รับสาร       . สื่อ             . สาร
๑๖. ข้อใดเป็นประโยคบังคับ ขอร้องหรือชักชวน
. เขาบังคับขอเงินจากรุ่นน้อง      . รุ่นน้องขอร้องไม่ให้เขาทำ
. อย่าทำ รุ่นน้องคนนั้นเลย        . เขาเลยไม่ได้บังคับรุ่นน้อง
๑๗. ข้อใดเป็นประโยคความซ้อน
. ชามที่เต้นท์ซื้อมาใหม่แตกแล้ว   . แม่ของน๊อตซื้อชามใบใหม่
. แสนและแม่ไปซื้อชาม            . นายทำชามแตกแม่จึงไปซื้อชาม
๑๘. ข้อใดเป็นประโยคเน้นผู้กระทำ
. ฝนตกแต่เช้า  . อาคารกำ ลังก่อสร้าง  . คูระบายนํ้าถูกขุด  . บ้านนี้ไฟไหม้
๑๙. ข้อใดเป็นประโยคเน้นกริยา
. ปรากฏข่าวลือว่าอ่าวไทยจะจมนํ้าในวันที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๕๔
. ๒๕ กุมภาพันธ์ ๕๔มีข่าวลือว่าอ่าวไทยจะจมนํ้าตามข่าวที่ปรากฏ
. ๒๕ กุมภาพันธ์ ๕๔ปรากฏตามข่าวลือว่าอ่าวไทยจมนํ้าหรือ
. หรืออ่าวไทยจะจมนํ้าตามข่าวลือที่ปรากฏ
๒๐. ข้อใดเป็นประโยคเน้นกริยา
. รถคันนี้มียาเสพติดซุกซ่อนมา    . มียาเสพติดซุกซ่อนมากับรถคันนี้
. ยาเสพติดเป็นภัยต่อชีวิต         . มีนาคมนี้จะปิดเทอมแล้ว
๒๑. ข้อใดเป็นประโยคความเดียว
. เขาเดินเล่นในสวนสาธารณะประจำจังหวัด        . เขาสนุกสนานเพราะมีสุนัขคอยวิ่งเคียงข้าง
. เขาและสุนัขต่างวิ่งไล่กันสนุกสนาน                . เขาจูงสุนัขออกเดินเล่น
๒๒. ข้อใดเป็นประโยคความรวม
. สมศักดิ์ขายรถคันโปรดไปแล้ว                               
. เด็กน้อยร้องเพลงของพี่เบิร์ดได้คล่องแคล่ว
. เจ้าแมวดำ จับลูกนกที่อยู่บนต้นมะม่วงอย่างว่องไว         
. เมื่อครูมาลีเข้าห้องเพื่อน ๆ ก็ออกไปทานอาหารกลางวันหมดแล้ว
๒๓. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
. การเตรียมการพูดที่ดีเป็นหน้าที่ของผู้ส่งสาร
. ผู้รับสารต้องมีความพร้อมและมีสมาธิ
. ปัญหาการได้ยินจากการพูดกลางสายฝนเกิดจากผู้ส่งสาร
. การสื่อสารด้วยการเขียนต้องอ่านง่ายกะทัดรัด ใช้ภาษาถูกต้อง
๒๔. ประโยคประกอบด้วยส่วนต่าง ๆ อะไรบ้าง
. ประธาน กริยา และกรรม                 . ภาคประธาน และภาคแสดง
. ประธาน กริยา กรรม และส่วนขยาย     . ประธาน ส่วนขยายประธาน กริยาและส่วนขยายกริยา
๒๕. ข้อใดเป็นประโยคปฏิเสธ
. ดีแล้วล่ะที่เขาไม่บอก             . เขาบอกว่าไม่มีเงินเลย
. เขาไม่ได้บอกฉันเลยนะ          . เขาไม่บอกเลยหรือ
๒๖. ข้อใดเป็นประโยค บังคับ ขอร้อง หรือชักชวน
. บุญโปรดชอบฟังเพลงที่เขาโปรดปรานเท่านั้น      . โปรดสัตว์ได้บาปเป็นคำ พังเพยของไทย
. โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมเป็นคำ ราชาศัพท์       . โปรดใช้วิจารณญาณก่อนตัดสินใจ
๒๗. ข้อใดมีส่วนขยายภาคแสดง
. ดอกกุหลาบแดงช่อนี้มอบแด่เธอ          . เธอรับกุหลาบแดงช่อนั้น
. กุหลาบแดงช่อนั้นสวยงาม                 . ความสวยงามมีพิษ
๒๘. ขณะที่ครูอธิบายทบทวนเนื้อหา ด..ต้นกล้าต่างพูดคุยกันไม่สนใจคำ พูดของครู เขาทั้งสองจึงสอบตก ปัญหาของเหตุการณ์นี้เกิดจากองค์ประกอบใดเป็นสำคัญ
. ผู้ส่งสาร       . สาร            . สื่อ             . ผู้รับสาร
๒๙. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
. ผู้ส่งสาร คือผู้ที่ส่งเรื่องราวออกไป                 
. ผู้รับสารหมายถึงบุคคลผู้รับเรื่องราว
ค. บทละครการแสดงเป็นวิธีการสื่ออย่างหนึ่ง
ง. สารคือเรื่องราวที่ส่งออกไปในรูปแบบของจดหมายหรือข่าวเท่านั้น
๓๐. ข้อใดเป็นประโยคเน้นผู้กระทำ
. ครั้งนี้เขาถูกตี           . เขาถูกตีในครั้งนี้        . ครูตีเขาในครั้งนี้        . ครั้งนี้เขาเกือบถูกครูตี
๓๑. ข้อใดเป็นประโยคสมบูรณ์
. อย่าทำ อย่างเช่นเมื่อวานอีกนะ
. แฟนของเขาทิ้งเขาไป
. ได้โปรดช่วยเหลือกันหน่อยนะคะเพื่อประเทศชาติของเรา
ง. จะมีการแข่งกีฬาระหว่างชั้นเรียนในเดือนกุมภาพันธ์
๓๒. องค์ประกอบของการสื่อสารมีอะไรบ้าง
. ผู้ฟัง ผู้พูด                         . ผู้ส่งสาร ผู้รับสาร
. ผู้ส่งสาร ผู้รับสาร สื่อ            . ผู้ส่งสาร สาร สื่อ ผู้รับสาร
๓๓. ข้อใดไม่มีส่วนขยายภาคประธาน
. นักเรียนทุกคนรีบวิ่งไปเข้าแถว           
. นักเรียนเข้าแถวในสนามพร้อมเพรียงกัน
. การเข้าแถวของนักเรียนโรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพามีระเบียบมาก
. ครูบางคนชื่นชมการเข้าแถวของนักเรียน
๓๔. ข้อใดมีกริยาเป็นประธานของประโยค
. นอนมากทำ ให้ร่างกายอ่อนแอ           . เขาอ่อนแอเพราะนอนมาก
. ความอ่อนแอเกิดจากนอนมาก            . การนอนเป็นการพักผ่อนที่ดี
๓๕. ข้อใดมีส่วนขยายของภาคประธาน
. นักเรียนชั้น ม.๒ ร่วมแสดงความยินดีกับพี่ ๆ ม. 
. พี่ ๆ กล่าวขอบคุณน้อง ม.๒ ที่มาแสดงความยินดี
. การแสดงความยินในวันปัจฉิมนิเทศทำ มาทุกปี
. ทุกปีโรงเรียนจะจัดงานปัจฉิมนิเทศ
๓๖. ข้อใดเป็นประโยค
. มดคลาน      . มดแดงสีแดง            . โน่น ! ไอ้มดเอ็กซ์       . ฝูงมดเอ็กซ์
๓๗. ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง
. ผู้อำนวยการอ่านสารวันเด็กของฯพณฯนายกรัฐมนตรีให้นักเรียนฟังผู้อำ นวยการคือผู้รับสาร
. นักเรียนอ่านวรรณคดีเรื่องสังข์ทองให้คุณตาคุณยายฟังคุณตาคุณยายคือผู้รับสาร
. น้อง ๆ โรงเรียนอนุบาลกำ ลังอ่านนิทานเรื่องโปเกม่อน หนังสือนิทานคือสื่อ
. พี่ ม.๓ ต่างซาบซึ้งในคำ กล่าวของตัวแทนครูในโอกาสวันปัจฉิมนิเทศ