Saturday, October 24, 2009

การเขียนเรียงความ



เรื่อง การเขียนเรียงความ
การเขียนเรียงความเป็นการนำถ้อยคำมาผูกเป็นประโยค แล้วเรียบเรียงเป็นเรื่องราวเพื่อแสดงความรู้ ความเข้าใจ ความคิดเห็น และความรู้สึกของผู้เขียนให้ผู้อื่นเข้าใจเรื่องราวที่เขียน ด้วยสำนวนภาษาที่สละสลวย
หลักการเขียนเรียงความ
1. เขียนชื่อเรื่องไว้กึ่งกลางหน้ากระดาษ
2. เขียนด้วยลายมือที่ชัดเจนอ่านง่าย และถูกต้องตามหลักการเขียน
3. ไม่เขียนชิดริมกระดาษ หรือเขียนตกขอบกระดาษ ควรเว้นหน้ากระดาษทั้งด้านซ้ายและด้านขวาพองาม รวมทั้งไม่เขียนฉีกคำด้วย
4. วางโครงเรื่องเพื่อลำดับเรื่องราวให้เป็นไปตามลำดับก่อนหลัง
5. ความแบ่งเนื้อหาเป็นย่อหน้าคำนำ เนื้อเรื่อง และสรุป โดยในส่วนของเนื้อเรื่องอาจมีย่อหน้าหลายย่อหน้าได้ และควรเขียนย่อหน้าให้ตรงกัน
6. ชื่อเรื่องและเนื้อเรื่องต้องสัมพันธ์กัน
7. เนื้อเรื่องต้องประกอบด้วยข้อมูลที่เป็นจริง ผู้เขียนจึงควรค้นคว้าเรื่องที่จะเขียนให้ดีเสียก่อนที่จะลงมือเขียน
รูปแบบของการเขียนเรียงความ แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ดังนี้
1. คำนำ อยู่ส่วนแรกของเรียงความ มีความยาวพอประมาณ ใช้แสดงความรู้สึกนึกคิดของผู้เขียนต่อหัวข้อเรื่อง บางเรื่องก็ขึ้นคำนำโดยใช้การอธิบายคำจำกำความหัวข้อ กลอน สุภาษิต เป็นต้น
2. เนื้อเรื่อง เป็นย่อหน้าถัดจากคำนำ ส่วนของเนื้อเรื่องควรมีประมาณ 2 – 4 ย่อหน้า ต้องบรรยายชัดเจน ยกตัวอย่างให้เห็นจริง อ้างอิงให้ข้อความมีน้ำหนัก
3. สรุป เป็นย่อหน้าสุดท้ายของเรียงความ ควรมีเพียงย่อหน้าเดียว และไม่ต้องเขียนคำว่าสรุป บางครั้งอาจจบลงด้วยคำคม หรือสุภาษิตที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง
การใช้ภาษาในเรียงความ แนวปฏิบัติเกี่ยวกับการใช้ภาษาในเรียงความมี 5 ประการ ดังนี้
1. สังเกตภาษา เช่น การใช้คำสื่อความหมายได้ชัดเจน เหมาะสม
- ถ้าเราใช้เวลาจนคุ้มค่า ก็ไม่ต้องเสียดายโอกาสที่ผ่านไป
- การมองโลกในแง่ดี ย่อมทำให้จิตใจผ่องใส
2. เลือกใช้คำที่เหมาะสม ใช้คำศัพท์ที่ถูกต้องและเรียบง่าย อ่านแล้วเข้าใจทำให้เห็นภาพ
- คำที่เรียบง่าย เช่น ผมชอบอากาศทางเหนือที่หนาวเย็น
- คำเพียงพยางค์เดียวและคำซ้อน เช่น เธอเขียนคำตอบผิด
- คำที่ทำให้เห็นภาพและได้ยินเสียง เช่น “เป็นตัวแรกลงน้ำก่อนไซ้ปีกไซ้ขน ขณะที่ตัวอื่นๆ ตามลงมาดูเบา และลอยฟ่องเหมือนร่างกายไม่มีน้ำหนัก”
3. คิดให้แจ่มแจ้ง ควรใช้ความคิดในเรื่องที่เขียนให้กระจ่าง เพื่อใช้เป็นโครงเรื่อง และคิดหาถ้อยคำมาสื่อความหมาย จนกว่าจะจบเรื่อง
4. แต่งประโยคสั้น เป็นวิธีการที่ดีในการเขียนเรียงความ ในการแต่งประโยคไม่ควรใช้คำซ้ำๆ ในที่ใกล้ๆ กัน ควรเปลี่ยนใช้คำอื่นที่มีความหมายใกล้เคียงกัน เช่น


แม่ซื้อกระเป๋า กระเป๋ามีสีดำ กระเป๋าใบนี้ทำจากหนังงู

แม่ซื้อกระเป๋าสีดำ ซึ่งทำจากหนังงู

“สุนทรภู่ ได้ชื่อว่าเป็นกวีแห่งรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ.2529
สุนทรภู่ได้รับการยกย่องให้เป็นกวีเอกของโลก”


“สุนทรภู่ ได้ชื่อว่าเป็นกวีแห่งรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ.2529
ท่านได้รับการยกย่องให้เป็นกวีเอกของโลก”

5. ความสัมพันธ์เรื่องราว ควรคำนึงถึงการให้เรื่องที่เขียนมีเนื้อหาสาระที่สัมพันธ์กันตามโครงเรื่อง โดยย่อหน้าทั้งหมดต้องมีเรื่องราวสัมพันธ์ต่อเนื่องกันจนกว่าจะจบเรื่อง
ผู้เขียนเรียงความต้องใช้คำในการสื่อความหมายได้ชัดเจน อ่านแล้วเข้าใจทำให้เห็นภาพ ควรใช้คำที่ถูกต้องและเรียบง่าย การเขียนเรียงความมีข้อควรระวัง คือ ไม่ควรใช้คำซ้ำๆ ในที่ใกล้ๆ กัน ควรเปลี่ยนใช้คำอื่นที่มีความหมายใกล้เคียงกัน และเรียบเรียงเนื้อหาสาระให้สัมพันธ์กันตามโครงเรื่อง ข้อความแต่ละย่อหน้าให้มีความต่อเนื่องกันจนจบ และอาจลงท้ายด้วยคำคม หรือสุภาษิตก็ได้

Thursday, October 22, 2009

บทที2 เรื่อง ประโยค



ประโยค

1 .เจตนาประโยคมี 3 อย่าง = แจ้งให้ทราบ(บอกเล่า) ถามให้ตอบ(คำถาม) บอกให้ทำ(ให้ทำ)
2 .โครงสร้างของประโยค หมายถึง ส่วนประกอบของประโยค คือ ประธาน กริยา กรรม ส่วนขยาย
เช่น พ่อฉันกันข้างเก่งมาก (ประธาน ขยาย(พ่อ) กริยา กรรม ขยาย(กิน) ขยาย(เก่ง))
ภาคแสดง ในโครงสร้างของประโยคหมายถึง ส่วนประกอบตั้งแต่กริยาเป็นต้อนไปจนจบประโยค
เช่น เขากินข้าวมาแล้ว 5 ชาม
การเน้นส่วนของประโยค ถ้าเราต้องการเน้นตรงไหน จะเอาส่วนนั้นมาขึ้นต้นประโยค เช่น
กระเป๋าใบนี้ฉันถักเอง (เอากรรมขึ้นประโยค ประธานคือ ฉัน)
ที่โรงอาหารรุ่นพี่ทะเลาะกับรุ่นน้อง(เน้นสถานที่)

3.ชนิดของประโยค มี 3 ชนิด
1. ประโยคความเดียว : มีประธาน กริยา กรรม อย่างละตัว
2. ประโยคความซ้อน : มี 2 ประโยคมารวมกัน ใช้คำเชื่อม ว่า ที่ ซึ่ง อัน ว่า ให้

ข้อที่ต้องระวังกับประโยคความซ้อน

ที่ ซึ่ง อัน ที่เป็นประโยคความซ้อนมีความหมายเหมือนกันคือ that
ที่ ในประโยคความซ้อน ไม่ได้ หมายถึง at
ซึ่ง ในประโยคความซ้อน ต้องแทนด้วยคำว่า "ที่" ได้
อัน ในประโยคความซ้อน ต้องแทนด้วยคำว่า "ที่ได้
***รวมประโยครูปแบบนี้ด้วย Subj + Verb หระสาทสัมผัส + ประโยค
เช่น เขาเห็นนกบินกลับรัง
3. ประโยคความรวม : มี 2 ประโยคมารวมกันด้วยคำเชื่อมคำใดก็ได้ ยกเว้น ที่ ซึ่ง อัน ว่า ให้ (ถ้าใช้ ที่ ซึ่ง อัน ว่า ให้ เชื่อม จะเป็นประโยคความซ้อน)
เช่น เขาทำการบ้านก่อนนอน (ละ เขานอน)
ข้อระวังเกี่ยวกับประโยคความรวม
มีประโยคความรวมบางประเภทละคำเชื่อมว่า "และ" เลยเห็นเป็น verb 2 ตัวติดกันเราถือเป็นประโยคความรวม(ประเภทละ"และ") เช่น เขานอนฟังเพลง เขาเดินกินขนม
ลองทบทวนดู
ข้อต่อไปนี้เป็นประโยคชนิดไหนสังเกต จากอะไร
-น้ำตกที่สวยที่สุดในภาคเหนือคือ น้ำตกแม่ยะ
ประโยคความซ้อน สังเกตที่มีคำเชื่อม"ที่" แปลว่า that ไม่ใช่ at
-เด็กกินนอนกันทั้งวัน
ประโยคความรวมมี verb 2 ตัวติดกัน รวมแบบละ"และ"
- สุรชัย ฟังหลุยส์ร้องเพลง
ประโยคความซ้อนที่มี Pattern sub (สุรชัย)+verbประสาทสัมผัส(ฟัง) + ประโยค(หลุยส์ร้องเพลง
-เขาเดินอยู่บนบ้านทั้งคืน
ประโยคความเดียว

4.จำนวนประโยค
ปกติจบ 1 ประโยค = นับเป็น 1 ประโยค
ถ้ามีคำเชื่อมเราคือว่าประโยคนั้นยังเป็นประโยคเดียวกับข้างหน้า
เ ช่นเขากินข้าวแล้ว 1 เขากินข้าแล้ว ตอนนี้เขาเข้านอนแล้ว 2 เขากินข้าวก่อนจะเข้านอน 1 ตะวันบอกละเวงว่าจะไปเมืองนอก ละเวงเลยร้องไห้ 1

5.วลี คือ กลุ่มคำที่ไม่ใช่ประโยค บางทีก้อยาวจนเกือบจะเป็นประโยค แต่ก้อไม่ใช่ประโยค
วิธีดูว่าจะเป็นวลี(ในหนังสือบอกว่าเป็น ประโยคไม่สมบูรณ์)หรือประโยค ลองอ่าน ๆ ไป ถ้าอ่านแล้วเหมือนจะไม่จบ (ประมาณว่ารู้สึกต้องมีอะไรต่อนะ) แสดงว่าเป็นวลี แต่ถ้าอ่านแล้วรู้สึกว่ามันจบก็คือประโยคเช่น
แม้นเราจะอ่านหนังสือสอบมากขนานไหน = วลี (เวลาอ่านรู้สึกว่ามันต้องมีต่อ sure)
เธอวิ่งซะจน = วลี (ซะจน - - อะไรเหรอ อยากรู้จัง -- แสดงว่าต้องมีอะไรต่อนะ)
กระดาษที่วางบนโต๊ะตัวนั้น = วลี (แล้วมันยังไงนะ ต้องมีต่อsure)
เธอกลับบ้านไปแล้ว = ประโยค(ก็มันจบนี่)
ทุกทุกคราวที่มองฟ้า = วลี (แล้วยังไง - ต้องมีต่อ Sure "คิดถึงเธอทุกที" - หรือเปล่า)

Monday, October 19, 2009

งานและหน้าที่มอบหมายในประเทศจีน



ถ่ายรูปร่วมกับนักศึกษาและอาจารย์ในมหาวิทยาลัยยูนาน

























ประสบการณ์ และงานสอน ของผศ.ระพิน ชูชื่น






สอนภาษาไทยในห้องเรียนที่ประเทศสวีเดน


















สอนภาษาไทยทีี่มหาวิทยาลัยในยูนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน













สอนวิชาทำอาหาร ในโรงเรียนมัธยม ที่ Leigh Manchester England.




ประสบการณ์ในต่างแดน

Saint Andrews Church of England Primary School








ร่วมสอนกับอาจารย์ที่โรงเรียนประถมศึกษาในประเทศอังกฤษ Westligh St Paul's School



สอนภาษาไทยในมหาวิทยาลัย Yunnan Normal University Bussiness School

ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน






























































เยี่ยมชมและร่วมสอนนักเรียนอนุบาลในประเทศอังกฤษ St' Plilips Primary School.






























































Saturday, October 17, 2009

ตัวอย่างชิ้นงาน ภาษาไทย












2. ผลการประกวดเรียงความและบทความทางอินเตอร์เน็ตเกี่ยวกับ
การปกครองส่วนท้องถิ่น ครั้งที่ ๔ ประจำปี ๒๕๕๑
รางวัลชมเชยระดับประถมศึกษา
“สุขภาพดี ชีวีมีสุข”
สุขภาพดีนั้นไซร้ไม่มีขาย เงินมากมายซื้อไม่ได้ต้องสร้างหา
จะดีได้ทั้งใจและกายา ต้องสร้างมาทุกวันพลันสุขมี
เริ่มจากทานอาหารดีมีประโยชน์ อารมณ์โกรธทิ้งไปมีไมตรี
ออกกำลังกายมีเพื่อนที่ดี ร่วมทำชีวีดีวันนี้เลย
เราทุกคนต่างปรารถนาที่จะมีสุขภาพที่ดี และชีวิตที่มีความสุขกันทุกคน แต่จะมีสักกี่คนในยุคปัจจุบันนี้ ที่สามารถเข้าใจอย่างถ่องแท้และปฏิบัติได้จริงในชีวิตประจำวัน แล้วคุณเป็นหนึ่งในนั้นหรือเปล่าคะ
สุขภาพเป็นสิ่งที่ไม่มีใคร นอกจากตัวเราเท่านั้นเป็นผู้กำหนด เป็นสิ่งที่เราเลือกได้ แต่เราได้เลือกแล้วหรือยัง มองย้อนกลับไปดูว่าที่ผ่านมา เราดำเนินชีวิตอย่างถูกต้องหรือเปล่า เราสนใจเรื่องอาหารการกินมากน้อยแค่ไหน เรากินเพื่ออยู่ไปวันๆ หรือเรามีความสุขกับการกินจนมากเกินไป ถ้าเป็นเช่นนั้น คงถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องรีบปรับตัวและไม่ปล่อยละเลยกับการดูแลรักษาสุขภาพ ให้แข็งแรงอยู่เสมอ เพราะหากเป็นปัญหาขึ้นมาแล้ว อาจสายเกินแก้
การมีสุขภาพดีนั้น ต้องเริ่มจากวิธีคิด และปฏิบัติตนในชีวิตประจำวัน นั่นหมายถึงต้องทำทุกวัน ผู้คนสมัยนี้มักจะตามใจตัวเองในการกิน นึกอยากจะกินอะไรก็ตามใจตัวแสวงหามากินจนได้ โดยหลัก ๆที่มองเห็นคือ กินทุกอย่างที่ชอบ กินไม่ได้สัดส่วนของอาหาร กินครั้งละมากๆ ถ้าถูกปากและมักจะกินตลอดเวลาถ้ามีโอกาสแต่ ที่ถูกต้อง และควรปฏิบัติ คือ รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ครบ ๕ หมู่ ในทุกๆมื้อ กินให้หลากหลายไม่ซ้ำซาก เพื่อความเพียงพอของสารอาหาร และไม่สะสมสารพิษในร่างกาย ไม่ควรรับประทานอาหารที่มีไขมันสูง เพราะจะเสี่ยงต่อการเป็นโรคมากมายเช่นโรคไขมันในเลือดสูง โรคความดันโลหิตสูง และรวมถึงโรคหัวใจ ซึ่งคนไทยมีอัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคเหล่านี้เพิ่มสูงขึ้นทุกปี ทำให้ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลมากมาย ควรรับประทานปลาและเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ไข่ ถั่วเมล็ดแห้งเป็นประจำ คนทั่วไปที่สุขภาพดีไม่มีปัญหาคอเลสเตอรอลสูงกินไข่ได้วันละ ๑ ฟอง ผู้สูงอายุกินไข่ได้วันเว้นวัน ถั่วเหลืองและผลิตภัณฑ์ที่ทำจากถั่วเหลืองเป็นอาหารเพื่อสุขภาพ ควรรับประทานเป็นประจำ หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารรสหวานจัด และเค็มจัดเพื่อลดความเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง อาหารต้องสะอาดปราศจากสารปนเปื้อน งดดื่ม เครื่องดื่มแอลกอฮอลล์ รับประทานพืชผักให้มากและกินผลไม้เป็นประจำ เพื่อให้ได้วิตามิน ใยอาหารและสารป้องกันอนุมูลอิสระ นอกจากนี้ควรดื่มน้ำที่สะอาดอย่างน้อย ๘-๑๐ แก้ว
การออกกำลังกายก็สำคัญ ควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละ ๓ วัน ครั้งละ ๓๐ นาทีขึ้นไปเพื่อให้เลือดสูบฉีดไปเลี้ยงหัวใจมากยิ่งขึ้น
หากคุณไม่ค่อยมี เวลาออกกำลังกาย ควรใช้เครื่องทุ่นแรงให้น้อยลง เช่น ควรเดินขึ้นบันไดแทนการใช้ลิฟท์ หรือ ทำงานบ้านเอง เป็นการออกกำลังการที่
ถึงอย่างไรก็ตามจิตใจเป็นก็สิ่งที่เราไม่ควรมองข้าม เราต้องรู้จักมองโลกในแง่ดี อย่าคาดหวังกับสิ่งใดๆให้สูงมาก ควรทำงานหรือกิจกรรมการงานที่ชอบและถนัด ทำด้วยใจรัก มีความเมตตา และเป็นมิตรที่ดีกับทุกคน เราก็จะไม่เครียดกับชีวิตประจำวัน นอนก็หลับสบาย พักผ่อนได้เต็มที่ จิตใจดี ร่างกายก็จะดีตามไปด้วย แต่ในปัจจุบันนี้ชีวิตประจำวันของเราต้องรีบ ต้องแข่งขัน บางคนทำงานหนักมากเพราะต้องการได้เงินมาก จนละเลยการดูแลตนเอง เพราะคิดว่ามีเงินจะซื้อได้ทุกอย่าง แต่ลืมคิดไปว่ามีเงินมากมายนั้นก็หาซื้อสุขภาพที่ดีไม่ได้ หรือจะซื้อชีวิตใครสักคนก็ไม่ได้เช่นกัน
หากวันนี้คุณอยากมีสุขภาพดีและชีวีมีสุข คุณก็อย่าลืมที่จะใส่ใจและสำรวจตัวคุณเอง ว่า วันนี้คุณได้ให้สิ่งที่ดีกับตัวคุณเองแล้วหรือยัง ถ้ายัง อย่าผลัดวันประกันพรุ่งนะคะ เริ่มตั้งแต่วันนี้เพื่อสุขภาพดี ชีวีมีสุขตลอดไปค่ะ
_______________________________________________________________________
แหล่งที่มา: 1. หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ ออนไลน์ วันเสาร์ที่ ๒๕ กุมภาพันธ์ ๒๕๔๙
2. บทความมติชน ตอนที่ ๓ ประจำวันอาทิตย์ที่ ๕ ตุลาคม ๒๕๔๖
โดย รศ.ดร. ปรไพศรี ศิริจักรวาล สถาบันวิจัยโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล

ด.ญ. อธิชา ขำวิลัย ป.๖/๕
..............................................................................................................................................................................


3. ตัวอย่างใบเลือกหนังสือ


ใบเลือกอ่านหนังสือ


ชื่อหนังสือ......................................................................................
ผู้แต่ง..............................................................................................
เริ่มอ่าน...........................................................................................
คาดว่าจะอ่านจบ.............................................................................
มีหน้าทั้งหมด.................................................................................
ผู้อ่านหนังสือ..................................................................................

สาเหตุที่เลือกหนังสือเล่มนี้.............................................................

..................................................................................................

3. บันทึกการอ่าน

ตัวอย่างบันทึกการอ่านหนังสือ


ชื่อเรื่อง ............................................
เริ่มอ่านเมื่อ .........................................
อ่านจบเมื่อ ...............................................
ก่อนอ่านหนังสือเล่มนี้ฉันคิดว่าหนังสือเล่มนี้น่าจะเกี่ยวกับ
......................................................................................................................................................................... ..........................................................................................................................................................

ตัวละครในเรื่อง. ............................................................................................................................................
.......................................................................................................................................................................... ...................................................................................................................................................................................
ฉันชอบ
.......................................................................................................................................................................... ......................................................................................................................................................................... ........................................................................................................................................................
ฉันไม่ชอบ
......................................................................................................................................................................
ฉันน่าจะเปลี่ยน.......................................................................


ศัพท์ที่น่าสนใจ...........................................................................
เหตุผลที่เลือกอ่านหนังสือเล่มนี้
......................................................................................................................................................................... ..........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
หลังอ่านหนังสือจบตอนที่หนึ่งแล้ว
......................................................................................................................................................................... ..........................................................................................................................................................
........................................................................................................................................................
หลังจากที่คุณอ่านหนังสือไปได้ครึ่งเล่ม
......................................................................................................................................................................... .........................................................................................................................................................
เมื่อคุณอ่านหนังสือเล่มนี้จบลง
.......................................................................................................................................................................... ...........................................................................................................................................................................
ตัวอย่างงานเขียน เรียงความ เกี่ยวกับวัดหยุดปิดเทอม

วันปิดเทอมนะ

ในวันปิดเทอมวันแรกเป็นวันที่น่าเบื่อมากเพราะแทนที่พอปิดเทอมแล้วจะได้เล่นเกมไปเที่ยวหรือแม้แต่ไปต่างจังหวัดแต่ก็ไปไม่ได้เพราะเป็นหวัดใน2สัปดาห์เป็นอะไรที่น่าเบื่อมากแต่ก็ยังมีเพื่อนเป็นห่วงชวนไปดูหนัง(ไม่รู้ว่าเป็นห่วงหรือไม่มีเพื่อนไปดู)นั้นก็คือมีนได้ชวนไปดูหนังเรื่องรถไฟฟ้ามาหานะเธอตอนแรกก็ตอบตกลงแต่พอถึงวันที่จะไปดูก็ไม่ได้ดูแล้วครั้งที่2ก็ไม่ได้ดูก็เลยทำให้หงุดหงิดมากไปที่เดียวเลยทำให้เบื่อวันปิดเทอมมากๆแต่ก็มีวันที่สนุกคือพอ2สัปดาห์ก็หาย
ได้เล่นเกมได้ไปเที่ยวไปเที่ยวที่แหลมทองเล่นเกมคอมและเมื่อตกเย็นก็ขี่จักยานทุกวันทำแบบนี้ทุกวันก็สนุกมากแต่พอแหลมทองเปิดใหม่ก็ได้ไปเที่ยวกันในวันเสาร์ เพื่อนที่ไปคือคือแซน มีน แต่แซนกับมีนช้ามากๆๆตอนแรกบอก10:00ไปๆมาๆบอกแหลมทองเปิด10:30และพอ10:30แซนกับมีนก็บอกกำลังจะไปพอ11:00ก็เริ่มอารมณ์เสียเพราะตัวเองบอกว่ากำลังไปตั้งแต่10:30ก็ทำให้หมัดไส้พอโทรไปก็บอกว่านี้แซนๆบ้านอยู่พัทยาหรอมาช้ามาแหม่บอกว่าจะมา10:30เอาไป11:00และพอมาเจอกันเรา3คนก็ตรงไปที่ร้านบะหมี่หมายเลข8เรา3คนได้สั่งอาหารเสร็จสับพอเรากินอาหารเสร็จปุ๊บก็ได้จ่ายกันของแต่ละคนและพอเรากินเสร็จมีนกับแซนก็เหมือนว่าเห็นลิฟต์เป็นครั้งแรกขึ้นลงขึ้นลงอยู่ด้ายและในที่สุดก็ได้ไปกินไอติมร้านเบอรีไอซ์
พอไปแหลมทองเสร็จ1:00ก็ได้ไปเรีนกพิเศษที่เซ็นทรัลชลบุรีและก็ไปเรียนพิเศษในนั้นมีเราคนเด่วป.6นอกนั้นป.5ป.4ป.3ป.2 แต่ละคนชื่อบูล ใบเตย จูเนียกล้วย(เท่าที่จำได้นะ)และพอเรียนเสร็จก็ได้ไปดูหนังโรงเรื่องจี-ฟอส
เป็นเรื่องเกี่ยวกับหนู ตุ่น และแมลงต่างๆที่นักวิทยาศาสตร์ได้สร้างเครื่องที่ทำให้สัต์วพวกนี้ฟังคนออกและพูดได้(เล่าตัวแรกๆ)
ปิดเทอมที่แสนสนุกและน่าเบื่อทำให้มี2ข้อที่อยากให้ได้เร็วๆคือเปิดเรียนเร็ว(อยากเจอเพื่อน)และก็ไม่อยากเปิดเรียน(เพราะกำลังสนุก)
ชนาธิป เดชขจร ป.6\4 เลขที่3


ตัวอย่างการเขียนบันทีการอ่าน





บันทึกการอ่านหนังสือ ชิ้นงานที่ 15/1


ชื่อเรื่อง ชีวิตเปลี่ยนได้ถ้าใจไม่ยอมแพ้
เริ่มอ่านเมื่อ 7 สิงหาคม พ.ศ.2552
อ่านจบเมื่อ 11 สิงหาคม พ.ศ.2552
ก่อนอ่านหนังสือเล่มนี้ฉันคิดว่าหนังสือเล่มนี้น่าจะเกี่ยวกับ
มุมมองและวิธีคิดที่จะทำให้ชีวิตเปลี่ยนแปลงและมีความสุขได้ ด้วยใจที่ไม่ยอมแพ้
ตัวละครในเรื่อง
ซารา เรนเนอร์ อาซิม กามิซา ฯลฯ
ฉันชอบ
บทที่ 8 สุขได้แม้ไม่สำเร็จ มีคำพูดดีๆกล่าวไว้ว่า ความสำเร็จนำมาซึ่งความสุขก็จริง แต่การอยู่เหนือความสำเร็จหรือไม่หมกมุ่นติดยึดกับความสำเร็จต่างหากคือที่มา แห่งความสุขที่แท้จริง
ฉันไม่ชอบ
จำนวนหน้าน้อยไป
ฉันน่าจะเปลี่ยน
จำนวนหน้าของหนังสือน่าจะมากกว่านี้
ศัพท์ที่น่าสนใจ
ขออะไรก็ไม่ยากเท่า ขอโทษ
ให้อะไรก็ไม่ยากเท่า ให้อภัย
แต่ถ้าเราไม่รู้จักขอโทษและให้อภัย
ชีวิตจะมีความสุขได้อย่างไร
เหตุผลที่เลือกอ่านหนังสือเล่มนี้
พ่อซื้อให้ และรู้สึกว่าพออ่านเนื้อหาแล้วจะเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้นได้
หลังอ่านหนังสือจบตอนที่หนึ่งแล้ว
รู้สึกเบื่อนิดๆ คิดว่าจะต้องเป็นหนังสือธรรมะแน่ๆเลย
หลังจากที่คุณอ่านหนังสือไปได้ครึ่งเล่ม
ตอนแรกคิดผิดมากๆ หนังสือเล่มนี้ไม่ใช่หนังสือธรรมะแต่เป็นหนังสือจิตวิทยาทั่วไปซึ่งสอดแทรกข้อคิดดีๆแฝงเอาไว้
เมื่อคุณอ่านหนังสือเล่มนี้จบลง
ไม่น่าเบื่ออย่างตอนแรก ช่วงหลังๆจะมีเนื้อเรื่องตัวอย่างของความดีของหลายๆคน สามารถนำข้อคิดนี้ไปใช้ในชีวิตประจำวันได้ ทำให้เราใจเย็นลง สุขุมมากขึ้น


ประมวลการสอนวิชาภาษาไทยชั้นป.6

สวัสดีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ทุกคน
อาจารย์ได้นำความรู้ และข้อมูลที่ควรรู้ในการเรียนวิชาภาษาไทยในชั้น ป.6 มาให้นักเรียนได้ศึกษา และเตรียมตัวในการเรียน และในการสอบ ก่อนอื่นต้อมารู้จักกับธรรมชาติวิชา และขอบข่ายของเนื้อหาที่เราจะเรียนกัน

โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา
ประมวลรายวิชา (Course syllabus)
ชื่อวิชา ภาษาไทย รหัสวิชา ท16101 สาระการเรียนรู้ □ พื้นฐาน □ เพิ่มเติม
กลุ่มสาระการเรียนรู้ ภาษาไทย จำนวน 400ชั่วโมง/ปีการศึกษา ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 6 ปีการศึกษา 2552 อาจารย์ผู้สอน ผศ.ระพิน ชูชื่น
--------------------------------------------------------------------------------------
1 .คำอธิบายรายวิชา
อ่านออกเสียง อ่านในใจ แล้วบอกความหมายของคำ การอ่านร้อยแก้ว ร้อยกรอง สำนวน โวหารการบรรยาย การพรรณนา การเปรียบเทียบ การใช้บริบท การใช้แผนภาพความคิดพัฒนาการอ่านนำการอ่านไปใช้ในการ คาดการณ์ ค้นคว้า จำบทร้อยกรองที่มีคุณค่า เลือกอ่านหนังสือ สื่อ สารสนเทศสิ่งตีพิมพ์ สื่ออิเลคทรอนิกส์ เขียนเรียงความ ย่อความ จดหมาย สื่อสาร รายงาน เขียนเรื่องราวจากเหตุการณ์ต่างๆ จากเรื่องจริง และจิตนาการ เขียนบันทึกประจำวัน ข้อความเรื่องราว ที่จะแสดงความรู้สึกความคิด ใช้กระบวนการเขียนพัฒนางานเขียน จดบันทึกความรู้ ประสบการณ์ต่างๆ และเขียนเรื่องราวในชีวิตประจำวัน การใช้แผนภาพโครงเรื่อง แผนภาพความคิด โครงงานภาษาไทย ฟังและดุ และจับใจความสำคัญ เข้าใจเนื้อเรื่องถ้อยคำ จับประเด็น สรุปความสำคัญ แยกข้อเท็จจริง กับความคิดเห็น ตั้งข้อสังเกต เปรียบเทียบกับประสบการณ์ตรง พูด สนทนา โต้ตอบ อภิปราย เชื้อเชิญ ชักชวน ปฏิเสธ ต่อหน้า ชุมชน พูดรายงาน วิเคราะห์ ใช้ภาษาและถ้อยคำที่เหมาะสม ตั้งความถามและตอบคำถาม ได้เหมาะสม อ่าน และเขียนสะกดคำประโยคสื่อสาร ใช้ภาษาในการในการสนทนา เชื้อเชิญ ชักชวย ปฏิเสธ ชี้แจง เข้าใจภาษาไทย และคำไทยที่มาจากต่างประเทศ บทร้อยกรอง กาพย์ โคลง กลอน สักวา คำราชาศัพท์ สำนวน โวหาร คำไทยทั้ง 7 ชนิด ตำนานพื้นบ้าน คำมูล คำประสม โครงงานภาษาไทย ตัวเลขไทย คำเป็น และ คำตาย เข้าใจภาษาพุดและภาษาเขียน ใช้ทักษะทางภาษาในการเขียน แสวงหาความรู้ เพื่อพัฒนาความรู้และใช้ภาษาได้เหมาะสมกับบุคลคล และสถานการณ์ เป็นประโยชน์ ต่อส่วนรวม สอดคล้องกับประเพณี วัฒนธรรม ใช้ภาษาในกลุ่มสาระการเรียนรู้ พัฒนาการอ่านและการเขียนเห็นคุณค่าของตัวเลขไทย และใช้เทคโนโลยีการสื่อสารเพื่อพัฒนาการเรียน อ่านนิทานเรื่องสั้น สารคดี บทความ บทร้อยกรอง เชื่อมโยงความรู้กับประสบการณ์ใช้หลักการพิจารณาวรรณกรรม สิ่งพิมพ์ วรรณคดี ที่มีคุณค่าไปใช้ในชีวิตประจำวัน มีวิจารณญาณ การศึกษา ค้นคว้า มีคุณธรรม มีมารยาทในการอ่าน เขียน ฟัง พูด ดู มีนิสัยรักการอ่าน เขียน ใฝ่รู้ มีเจตคติที่ดี ต่อภาษาไทย นำคุณค่าในการอ่าน และเขียนไปใช้ประโยชน์ในชีวิตประจำวัน และมีเจตคติที่ดีต่อภาษาไทย ตระหนักในคุณค่าเอกลักษณ์ ของความเป็นท้องถิ่นและความเป็นไทย เลือกอ่านหนังสือได้หลากหลายทั้ง นิทาน ตำนาน เรื่องสั้น สารคดี บทความ บทร้อยกรอง และบทละคร แสดงความคิดเห็น วิจารณ์ วิเคราะห์ ใช้หลักการพิจารณาวรรณคดี วรรณกรรมอย่างเห็นคุณค่า และนำไปใช้ในชีวิตจริงได้
ตัวชี้วัด ภาษาไทย ป.6
การอ่าน
๑. อ่านออกเสียงบทร้อยแก้วและ บทร้อยกรองได้ถูกต้อง
๒. อธิบายความหมายของคำ ประโยคและข้อความที่เป็นโวหาร
๓. อ่านเรื่องสั้นๆ อย่างหลากหลายโดยจับเวลาแล้วถามเกี่ยวกับเรื่องที่อ่าน
๔. แยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นจากเรื่องที่อ่าน
๕. อธิบายการนำความรู้และความคิด จากเรื่องที่อ่านไปตัดสินใจแก้ปัญหา ในการดำเนินชีวิต
๖. อ่านงานเขียนเชิงอธิบาย คำสั่ง ข้อแนะนำ และปฏิบัติตาม
๗. อธิบายความหมายของข้อมูล จากการอ่านแผนผัง แผนที่ แผนภูมิ และกราฟ
๘. อ่านหนังสือตามความสนใจ และอธิบายคุณค่าที่ได้รับ
๙. มีมารยาทในการอ่าน
การเขียน
๑. คัดลายมือตัวบรรจงเต็มบรรทัด และครึ่งบรรทัด
๒. เขียนสื่อสารโดยใช้คำได้ถูกต้องชัดเจน และเหมาะสม
๓. เขียนแผนภาพโครงเรื่องและแผนภาพความคิดเพื่อใช้พัฒนางานเขียน
๔. เขียนเรียงความ
๕. เขียนย่อความจากเรื่องที่อ่าน
๖. เขียนจดหมายส่วนตัว
๗. กรอกแบบรายการต่างๆ
๘. เขียนเรื่องตามจินตนาการและสร้างสรรค์
๙. มีมารยาทในการเขียน
การฟัง การดู และการพูด
๑. พูดแสดงความรู้ ความเข้าใจจุดประสงค์ของเรื่องที่ฟังและดู
๒. ตั้งคำถามและตอบคำถามเชิงเหตุผล จากเรื่องที่ฟังและดู
๓. วิเคราะห์ความน่าเชื่อถือจากการฟังและดูสื่อโฆษณาอย่างมีเหตุผล
๔. พูดรายงานเรื่องหรือประเด็นที่ศึกษาค้นคว้าจากการฟัง การดู และการสนทนา
๕. พูดโน้มน้าวอย่างมีเหตุผล และน่าเชื่อถือ
๖. มีมารยาทในการฟัง การดู และการพูด
หลักการใช้ภาษาไทย
๑. วิเคราะห์ชนิดและหน้าที่ของคำในประโยค
๒. ใช้คำได้เหมาะสมกับกาลเทศะและบุคคล
๓. รวบรวมและบอกความหมายของ คำภาษาต่างประเทศที่ใช้ในภาษาไทย
๔. ระบุลักษณะของประโยค
๕. แต่งบทร้อยกรอง
๖. วิเคราะห์และเปรียบเทียบสำนวนที่เป็นคำพังเพย และสุภาษิต
วรรณคดีและวรรณกรรม
๑. แสดงความคิดเห็นจากวรรณคดี หรือวรรณกรรมที่อ่าน
๒. เล่านิทานพื้นบ้านท้องถิ่นตนเอง และนิทานพื้นบ้านของท้องถิ่นอื่น
๓. อธิบายคุณค่าของวรรณคดี และวรรณกรรมที่อ่านและนำไป ประยุกต์ใช้ในชีวิตจริง
๔. ท่องจำบทอาขยานตามที่กำหนด และบทร้อยกรองที่มีคุณค่าตามความสนใจ

Tuesday, October 13, 2009

แบบฝึกหัดบทที่ 1

แบบฝึกหัดบทที่ 1

ตอนที่ 1 จงเขียนเครื่องหมาย  หน้าข้อความที่ถูกต้องและเขียนเครื่องหมาย X
หน้าข้อความที่ไม่ถูกต้อง

1. ไตรยางค์ คือ อักษร 3 หมู่ ได้แก่ อักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ
2. อักษรคู่ คือ อักษรสูงที่มีเสียงคู่กับอักษรต่ำ
3. พยัญชนะทุกวรรคมีทั้งอักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ
4. พ ภ เป็นอักษรต่ำที่มีเสียงคู่กับอักษรสูง ผ
5. อักษรเดี่ยวเป็นอักษรต่ำที่ไม่มีเสียงคู่กับอักษรสูง

ตอนที่ 2 จงวงกลมล้อมรอบตัวอักษร ก ข ค หรือ ง ที่ถูกที่สุดเพียงข้อเดียว

1. พยัญชนะคืออะไร 2. ข้อใดเป็นอักษรกลางทั้งหมด
ก. ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงดนตรี ก. จ ด ช
ข. ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงแปร ข. ฎ บ อ
ค. ตัวอักษรที่ใช้เสียงแท้ ค. ฏ บ ว
ง. ตัวอักษรตัวแรกของพยางค์ ง. ค ป ห
3. ข้อใดเป็นอักษรสูงทั้งหมด 4. ข้อใดเป็นอักษรต่ำทั้งหมด
ก. ข ฉ ถ ก. ค ฆ ฉ
ข. ฐ ฑ ฒ ข. ช ซ ฌ
ค. ถ ผ ฟ ค. ฏ ฑ ฒ
ง. ศ ส ฬ ง. ถ ท ธ
5. ข้อใดเป็นอักษรเดี่ยวทั้งหมด 6. ข้อใดเป็นอักษรคู่ทั้งหมด
ก. ย ร ล ถ ล ก. ม้าชอบหญ้า
ข. ห ณ ช ว ข. ยักษ์ใหญ่ใจดี
ค. ญ น ง ฬ ค. ฉันชอบต้นไม้จริง
ง. ก ย ช ค ง. พ่อค้าชอบซื้อทอง

7. ข้อใดเป็นอักษรเดี่ยวทั้งหมด 8. ข้อใดเป็นพยัญชนะเป็นอักษรหมู่เดี่ยวกับคำว่า “มะระ”
ก. เขี้ยว – เงี้ยว ก. น้ำเย็น
ข. เดิน – เที่ยว ข. ส้มโอ
ค. เงา – เทา ค. ฝักแค
ง. นอน – เล่น ง. เตาไฟ
9. ข้อใดพยัญชนะต้นเป็นอักษรกลางทั้งหมด 10. ข้อใดพยัญชนะต้นเป็นอักษรสูงทั้งหมด
ก. จิก – สวย ก. ถุงเสื้อสีแดง
ข. การ – เดิน ข. ขี่เสื้อขึ้นภูเขา
ค. แม่ – มด ค. เข็นครกขึ้นภูเขา
ง. ฝูง – แร้ง ง. สดใสหิ้วถุงข้าวสาร

ตอนที่ 3 จงเติมคำลงในช่องว่างให้ถูกต้อง

1. การแบ่งพยัญชนะไทยออกเป็นสามหมู่ ตามลำดับเสียง เรียกว่า………………………………...
2. พยัญชนะในภาษาไทยมีทั้งหมด 44 ตัว แต่ปัจจุบันใช้เพียง…………………………………..ตัว
พยัญชนะที่ไม่ใช้แล้วคือ………………………………………………………………………...
3. อักษรสูงมี……………ตัว ได้แก่………………………………………………………………..
4. อักษรกลางมี………….ตัว ได้แก่………………………………………………………………..
5. อักษรต่ำมี…………….ตัว ได้แก่………………………………………………………………..
…………………………………………………………………………………………………..
6. อักษรคู่ หมายถึง…………………………………………………………………………………
7. อักษรคู่มี…………….. ตัว ได้แก่………………………………………………………………..
8. อักษรเดี่ยว หมายถึง……………………………………………………………………………..
9. อักษรเดี่ยวมี………….ตัว ได้แก่……………………………………………………………….
10. ฆ มีเสียงคู่กับ………….………….………….………….………….………….……………….
11. ฟ มีเสียงคู่กับ………….………….………….………….………….………….……………….



ตอนที่ 4 ให้นักเรียนพิจารณาคำหรือพยางค์ต่อไปนี้ว่ามีพยัญชนะต้นเป็นอักษรสูง, อักษรกลาง, อักษรต่ำ

ตัวอย่าง น้ำผึ้ง พยัญชนะต้น คือ น, ผ เป็นอักษร ต่ำ, สูง

1. สมัย พยัญชนะต้น คือ……………………เป็นอักษร……………………………………..
2. จราจร พยัญชนะต้น คือ……………………เป็นอักษร……………………………………..
3. รูปร่าง พยัญชนะต้น คือ……………………เป็นอักษร……………………………………..
4. ผลิต พยัญชนะต้น คือ……………………เป็นอักษร……………………………………..
5. อมร พยัญชนะต้น คือ……………………เป็นอักษร……………………………………..
6. แผ่นดิน พยัญชนะต้น คือ……………………เป็นอักษร……………………………………..
7. ภมร พยัญชนะต้น คือ……………………เป็นอักษร……………………………………..
8. ชบา พยัญชนะต้น คือ……………………เป็นอักษร……………………………………..
9. นามแฝง พยัญชนะต้น คือ……………………เป็นอักษร……………………………………..
10. ขนุน พยัญชนะต้น คือ……………………เป็นอักษร……………………………………..

ตอนที่ 5 ให้เติมพยัญชนะที่หายไปให้ครบ

ตอนที่ 6 จงนำคำทางด้านขวามือมาใส่หน้าข้อความทางด้านซ้ายมือ เมื่อนักเรียนเห็นว่าอักษร
ทั้ง 2 ด้าน เป็นอักษรคู่กัน

ชุ่มชื้น 1. ฉุยฉาย ฝากฝัง
2. สดสวย หุบเหว
3. คุณค่า ศร
4. ฟ้า พัน
5. ฮ่อ ชุ่มชื้น
6. โซ่ ค้อน
7. ผ้าผ่อน ข่าว
8. ไข่ขาว ทหาร
9. เถื่อน ซุ่มซ่อน
10. เฒ่า ฐานะ
ตาย
ว่องไว

บทที่ 1 พยัญชนะไทยและไตรยางค์

บทที่ 1

พยัญชนะไทยและไตรยางค์

พยัญชนะ คือ อักษรที่ใช้แทนเสียงแปร (เสียงที่เปล่งออกมากระทบส่วนใดส่วนหนึ่ง
หรือหลายส่วนในปาก ได้แก่ คอ เพดาน ปุ่มเหงือก ไรฟัน ริมฝีปาก ซึ่งทำให้เกิดเสียงต่าง ๆ เช่น กอ จ่อ ทอ บอ)

ตัวอักษรที่ใช้แทนเสียงแปร มี 44 ตัว หรือ 44 รูป คือ1























ในจำนวนพยัญชนะในภาษาไทยทั้ง 44 ตัว ที่ไม่ใช้แล้วมี 2 ตัว คือ ฃ ฅ

เสียงของพยัญชนะในภาษาไทยมี 21 เสียง 44 รูปดังนี้2

1. เสียง // ใช้อักษรแทนเสียงเป็น

2. เสียง // ใช้อักษรแทนเสียงเป็น

3. เสียง // ใช้อักษรแทนเสียงเป็น

4. เสียง // ใช้อักษรแทนเสียงเป็น ข ฅ ค ฅ ฆ

5. เสียง // ใช้อักษรแทนเสียงเป็น

6. เสียง // ใช้อักษรแทนเสียงเป็น

7. เสียง // ใช้อักษรแทนเสียงเป็น ฉ ช ฌ

8. เสียง // ใช้อักษรแทนเสียงเป็น ญ ย

9. เสียง // ใช้อักษรแทนเสียงเป็น

10. เสียง // ใช้อักษรแทนเสียงเป็น ฏ ต

11. เสียง // ใช้อักษรแทนเสียงเป็น ฐ ฑ ฒ ถ ท ะ

12. เสียง // ใช้อักษรแทนเสียงเป็น ศ ษ ส ซ

13. เสียง // ใช้อักษรแทนเสียงเป็น ฎ ฑ ด

14. เสียง // ใช้อักษรแทนเสียงเป็น ณ น

15. เสียง // ใช้อักษรแทนเสียงเป็น ล ฬ

16. เสียง // ใช้อักษรแทนเสียงเป็น ฝ ฟ

17. เสียง // ใช้อักษรแทนเสียงเป็น

18. เสียง // ใช้อักษรแทนเสียงเป็น ผ พ ภ

19. เสียง // ใช้อักษรแทนเสียงเป็น

20. เสียง // ใช้อักษรแทนเสียงเป็น

21. เสียง // ใช้อักษรแทนเสียงเป็น

คำว่า ไตรยางค์หมายถึง สามส่วน มาจากคำว่า ไตรย” (สาม) กับ องค์” (ส่วน)
ซึ่งหมายถึง อักษร 3 หมู่ ที่ได้จัดแยกออกมาเป็นพวก ๆ จากพยัญชนะ 44 ตัว นั่นเอง ได้แก่ อักษรสูง อักษรกลาง อักษรต่ำ3

การแยกพยัญชนะออกเป็น 3 หมู่นั้นถือเอาเสียงเป็นสำคัญ พยัญชนะตัวใดพื้นเสียง
มิได้ผันด้วยรูปวรรณยุกต์ มีสำเนียงอยู่ในระดับสูงก็จัดไว้เป็นพวกอักษรสูง พยัญชนะตัวใดที่ยัง
ไม่ได้ผันด้วยวรรณยุกต์ สำเนียงอยู่ในระดับกลางก็จัดเป็นพวกอักษรกลาง เป็นต้น ดังตารางที่ 1

ตารางที่ 1 แสดงการแยกพยัญชนะเป็น 3 หมู่

อักษรกลาง

อักษรสูง

อักษรต่ำ

อักษรคู่

อักษรเดี่ยว

ข ฃ

ถ ฐ











1. อักษรสูง มี 11 ตัว มีวิธีจำง่าย ๆ ดังนี้



ฉั ฝ้ ผี ษฐี ขี่ สื วด ถุ

2. อักษรกลาง มี 9 ตัว มีวิธีการจำดังนี้

ก่ จิ ด็ าย (ฎ ฏ) าก อ่

3. อักษรต่ำ มี 24 ตัว มีวิธีการจำดังนี้

พ่() ค้(ค ฆ) ฟั อง (ฑ ธ ฒ)

ซื้ ช้าง () ฮ่ งู ใหญ่ อน ยู่ ริ ฬี

อักษรต่ำ 24 ตัว แบ่งออกเป็น 2 พวก คือ อักษรคู่ และอักษรเดี่ยว

อักษรคู่ คือ อักษรต่ำที่มีเสียงคู่กับอักษรสูง มี 14 ตัว ได้แก่

อักษรเดี่ยว คือ อักษรต่ำที่ไม่มีเสียงคู่กับอักษรสูง มี 10 ตัว ได้แก่ ล ว

พยัญชนะทั้ง 3 หมู่ สามารถผันเสียงวรรณยุกต์ได้ดังนี้4

อักษรสูง ผันเสียงวรรณยุกต์ได้น้อยที่สุด 2 เสียง และผันวรรณยุกต์ได้เพียงรูปเดียว คือผันด้วยไม้โทเท่านั้น

อักษรกลาง ผันเสียงวรรณยุกต์ได้ครบทุกเสียง และทุกรูป ได้แก่ สามัญ เอก โท ตรี จัตวา

อักษรต่ำ ผันเสียงวรรณยุกต์ ได้แก่ สามัญ เอก โท มีเสียงตรี แต่ห้ามใช้ไม้ตรีผัน ให้ใช้ไม้โทผันเป็นเสียงตรี เช่น เชิ้ต และถ้าเป็นอักษรต่ำ สระสั้น จะเป็นเสียงตรีโดยไม่ต้องใช้รูปวรรณยุกต์กำกับ เช่น นะคะ เป็นต้น