Tuesday, January 25, 2011

-ข้อมูลโครงงาน การฝึกพูดในโอกาสต่างๆ

เนื้อหาที่จะใช้ มีรายละเอียดดังนี้
พิจารณา จากการสนทนาเรื่องปัญหาการพูด ที่พวกเราพบ และวิธีการแก้ไข ที่เราใช้วิธีการทางการทำโครงงานมาช่วย รายละเอียด ดังนี้


ประโยชน์ของการพูด

บุคคลที่จะประสบความสำเร็จนอกจากจะเป็นผู้ที่มี

- ความเฉลียวฉลาดรอบรู้ (ปัญญาพละ)

- ความขยันขันแข็ง (วิริยะพละ)

- ความความซื่อสัตย์สุจริต (อนวัชระพละ) แล้วองค์ประกอบสำคัญที่สุดคือ สังคพละ หรือ
สังคหวัตถุ ๔ ได้แก่ โอบอ้อมอารี วจีไพเราะ สังเคราะห์คน วางตนเหมาะสม
ปิยะวาจา แปลว่า "วาจาอันเป็นที่รัก" คือคำพูดที่มีแต่ประโยชน์ แก่คนพูดและคนฟัง ครองใจ
ผู้อื่นได้เพราะ
1. สร้างเสน่ห์ให้ตัวผู้พูด
2. สร้างพลังอำนาจให้ตัวผู้พูด
3. สร้างความเชื่อถือให้ตัวผู้พูด พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า "ชื่อว่าวาจาหยาบ ย่อมทำความพินาศไม่เพียงเป็นที่ไม่น่าพอใจของคน เท่านั้น แม้แต่สัตว์เดียรัจฉาน ก็ไม่พอใจด้วย" พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ รัชกาลที่ 6 ทรงให้ความสำคัญแก่ "ปาก" ไว้ในพระราชนิพนธ์ วิวาหพระสมุทร ไว้ดังนี้ ปากเป็นเอก เลขเป็นโท โบราณว่า หนังสือเป็นตรี มีปัญญา ไม่เสียหลาย ถึงรู้มาก ไม่มีปาก ลำบากกาย มีอุบาย พูดไม่เป็น เห็นป่วยการ สุนทรภู่ กวีเอกได้สาธกให้เห็นความสำคัญของการพูดไว้ในบทประพันธ์ของท่านว่า "คนเราเป็น ที่รักที่นิยมก็อยู่ที่คำพูด หรืออาจจะเดือดร้อนก็เพราะคำพูด" เป็นมนุษย์ สุดนิยม ที่ลมปาก จะได้ยาก โหยหิว เพราะชิวหา แม้พูดดี มีคน เขาเมตตา จะพูดจา จงพิเคราะห์ ให้เหมาะความ นักพูดหน้าใหม่ ควรจะปรับเปลี่ยนความเข้าใจผิด ๆ ให้เป็นความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องต่อไปนี้
1. ความสามารถในการพูด ไม่ใช่เป็นพรสวรรค์เฉพาะบางคน แต่ความสามารถในการพูด
เป็นพลังหรือ ทรัพยากรที่ซ่อนเร้นอยู่ในตัวของแต่ละคนอยู่แล้ว
คนพูดเก่งอาจมีอยู่ 2 ประเภท คือ พวกหนึ่งเป็นพวกพูดเก่ง พูดแบบสร้างสรรค์ให้กำลังใจ ให้ข้อคิดได้
เรื่องได้ราว ในขณะที่อีกพวกหนึ่ง พูดแบบทำลายมิตร พูดเก่งในการนินทาว่าร้าย หรือพูดส่อเสียดยุยงผู้อื่น พวก หลังนี่เขาเรียกว่าพวก "ปั้นน้ำเป็นตัว" สอดแทรกอยู่ในหลายวงการ ทั้งในสภากาแฟและสภาผู้ดี ถ้าได้ฟังคน ประเภทนี้พูดก็ขอให้ฟังหูไว้หู เพราะพวกนี้ดีแต่พูด แต่ทำไม่เป็น
2. การประหม่าหรือตื่นเวทีเป็นเรื่องธรรมดา โดยเฉพาะนักพูดหน้าใหม่ นักพูดระดับแนว
หน้า ไม่ว่าในเมืองไทยหรือว่าที่ไหน ในโลกที่ได้ชื่อว่า "เซียน" ย่อมมีความประหม่า และเกิด
อาการสั่นเวลาหัดพูดใหม่ ๆ ด้วยกันทุกคน
ฉะนั้น อย่าไปเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเรื่องประหลาด เป็นเรื่องที่เกิดเฉพาะตัวเรา จงอย่าเกิดความท้อแท้สิ้น
หวังเป็นอันขาด จะแก้ความประหม่าหรืออาการสั่นได้อย่างไร ?
จงเตรียมการพูดทุกครั้ง ไม่ว่าจะขึ้นไปเป็นพิธีกร ไปร่วมสัมมนา เป็นประธานเปิดการประชุม ไปกล่าว
อวยพร เป็นวิทยากรผู้บรรยาย การให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน แม้กระทั่ง จะพูดแนะนำตักเตือนลูกหลานหรือลูกน้อง การเตรียมตัวดี จะทำให้เกิดความมั่นใจ เกิดพลังที่จะระงับหรือบรรเทาการประหม่าได้อย่างวิเศษสุด ว่ากันว่าความสำเร็จของการพูดอยู่ที่การเตรียม 70% อีก 30% อยู่ที่การพูด "การไม่เตรียมตัวในการขึ้นเวทีปราศรัย ก็ไม่ผิดอะไรกับนักมวยที่ขึ้นเวทีโดยไม่ได้ฝึกซ้อม เท่ากับขึ้นไปรับความพ่ายแพ้" นอกจากจะเตรียมตัวดีแล้ว สิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันก็คือ การวิเคราะห์คนฟังและโอกาสที่จะพูด การขึ้นเวที เปรียบเสมือนกับการก้าวสู่สังเวียนการต่อสู้ ถ้าไม่รู้ว่าจะสู้กับใคร รังแต่จะเสียเปรียบ ฉะนั้นต้องรู้ว่า พูดให้ใครฟัง มีระดับการศึกษาอย่างไร มีอาชีพอะไร อายุอานามเท่าไร แก่หรือหนุ่มสาว เป็นชายหรือหญิง

หลักย่อ ๆ สำหรับการเตรียมการพูด

1. จงคิดก่อนว่า จะพูดเรื่องอะไร กรณีที่ผู้เชิญไม่ได้เจาะจงหัวข้อให้จงพูดเรื่องที่เราถนัด เรื่องที่เราสนใจ
ที่สุด หรือเรื่องที่เรารู้ดีที่สุด แต่ก็ต้องมีการเตรียมการพูดอยู่ดี เพื่อเรียงลำดับขั้นตอนการพูด

2. ถ้าผู้เชิญกำหนดหัวข้อมาให้แน่นอน คราวนี้แหละที่จะต้องเตรียมด้วยการเริ่มเขียนหัวข้อไว้ก่อน แล้ว
เรียบเรียงแนวคิดประเด็นเสนอ ขยายความจากหัวข้อนั้น ๆ เป็นลำดับขั้นตอนให้ดี อย่าประมาทว่ารู้ดีแล้ว

3. หลังจากเตรียมหัวข้อ และเรียบเรียงดีแล้ว ขั้นต่อไปก็คือ ค้นคว้าเพิ่มเติมจากตำรับตำราหรือสิ่งพิมพ์
ต่าง ๆ โดยเฉพาะตัวเลข วันเดือนปี ชื่อคน หรือชื่อสถานที่ต้องถูกต้องแม่นยำ

4. เมื่อเขียนและเรียบเรียงคำบรรยาย หรือคำปราศรัยเสร็จสิ้นแล้ว ก็ต้องนำมาขัดเกลา หรือตัดทอน ให้
เนื้อความสละสลวย ไม่เยิ่นเย้อ หรือห้วนเกินไป เตรียมเหตุผล ข้ออ้างอิง ตัวอย่าง คำคมต่าง ๆ ให้พร้อม เพื่อเพิ่ม สีสันการบรรยายให้น่าฟัง

5. เสร็จแล้วก็ลองนำมาอ่านดู ออกเสียงดัง ๆ หลาย ๆ เที่ยว จนจำขึ้นใจ ดูว่ามีคำนำ เนื้อเรื่อง และบท
สรุปครบถ้วนไหม

6. การเตรียมการพูด ไม่ใช่การท่องจำ แต่ต้องแม่นในแนวคิด และประเด็นเสนอ อย่าไปจำคำพูดของใคร
มาทั้งดุ้น นอกจากจะหยิบยกคำคม หรือวาทะของบุคคลสำคัญมาประกอบการพูด และควรให้เกียรติท่านเหล่านั้น ด้วยการเอ่ยชื่อท่านหรือชื่อหนังสือด้วย นักพูดที่ดี ต้องมีอะไรเป็นของตนเองบ้างในการพูด หากจำเป็นต้องจำคำเขามาพูด ก็ให้คิดดัดแปลงบ้าง อย่าให้เหมือนกันแบบลอกเอามาทั้งดุ้น นักพูดต้องอ่านมากและฟังมาก

7. จะต้องฝึกหัดพูดคนเดียวหน้ากระจกหลาย ๆ ครั้ง จะวางท่าทางอย่างไร จะใช้ภาษามือให้เหมาะสม
กลมกลืนอย่างไร จะวางสีหน้าอย่างไรถึงจะดูเป็นธรรมชาติ อย่าพยายามใช้มือประกอบ จนขวักไขว่น่าเวียนหัว จงฝึกซ้อมให้เหมือนกับการขึ้นพูดจริง จับเวลาด้วย เพื่อตัดทอนเพิ่มเติมตามเวลาที่กำหนด ฝึกมากครั้ง ได้ก็ยิ่งดี จะได้มีความคล่องตัว และมั่นใจมากขึ้น พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ กล่าวไว้ในหนังสือ "จิตตานุภาพ" ว่า คนที่มีพลังดึงดูดหัวใจคนให้เข้ามา เชื่อฟัง จะต้องมี

1. สายตาแข็ง มีอำนาจในตัว เวลาพูดกะพริบตาให้น้อยที่สุด หรือไม่กะพริบเลย

2. เสียงชัดเจนแจ่มใส หัดอ่านหนังสืออย่างช้า ๆ ให้ชัดถ้อยชัดคำ ให้ได้ระยะเสมอกัน อักษรกล้ำหรือ ควบ และที่สำคัญ "ร" หรือ "ล" เวลาพูดพยายามพูดให้เป็นจังหวะจะโคน อย่าพูดเร็วจนรัว เมื่อใดควรหยุดต้อง หยุดบ้าง

3. ท่าทางสงบเสงี่ยมและเป็นสง่า ไม่แสดงความโกรธหรือความกลัวให้ใครเห็น "บุคคลที่มีสง่า"
คือคนที่บังคับร่างกายให้อยู่ในอำนาจหัวใจได้ การเคลื่อนไหวทุกอย่าง ต้องทำด้วยความหนักแน่นมั่นคง ไม่รวด เร็วจนดูหลุกหลิก ไม่ผึ่งผายเกินไปจนดูเย่อหยิ่ง หรืออ่อนปวกเปียปจนดูเกียจคร้าน ควรยืนให้น้ำหนักตัว ได้ดุลไม่ ให้ถ่วงหรือเอนเอียงไปทางส่วนใดส่วนหนึ่ง

4. รู้จักวิธีจูงหัวใจคน ให้หันเหเข้ามาในคลองความคิดของเรา หลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดสิ่งที่ชักจูง
ให้เขาละทิ้งข้อเสนอแนะนำของเรา การเตรียมตัวพูด

1. เมื่อเป็นพิธีกร (MC. = MASTER OF CEREMONY) ต้องรู้หน้าที่ให้แน่ชัดว่า เราเป็นผู้ "ดำเนินรายการ" ให้เกิดความราบรื่น และมีบรรยากาศ ไม่ใช่ตัวตลก และไม่ใช่วิทยากร อย่าพูดมาก หรือไปพูด วิพากษ์วิจารณ์ใครในงาน พิธีกรควรจะชำเลืองดูประวัติวิทยากรสักหน่อย ไม่ใช่ปุบปับอ่านคำแนะนำเลย และควรไปเริ่มงานก่อน เริ่มงานประมาณครึ่งชั่วโมง

2. เมื่อต้องเป็นผู้ดำ้เนินรายการ (MODERATOR) ในการอภิปรายหมู่ (PANEL DISCUSSION)

จะต้องเข้าใจว่า เราไม่ใช่ผู้อภิปรายที่จะต้องพูดนาน เราเป็นเพียงผู้ดำเนินรายการ ด้วยการแนะนำผู้ร่วมอภิปราย และสร้างบรรยากาศให้ผู้ฟังสนใจฟัง ดึงดูดใจให้ผู้ฟังติดตาม การรู้จักเกร็ดชีวิตหรือผลงานเด่น ๆ ของผู้อภิปราย ก็จะยิ่งดี หน้าที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ จะต้องกำหนดเวลาให้แต่ละคนผลัดกันพูด คนละกี่นาทีต้องประกาศให้ชัด เพื่อผู้อภิปรายจะได้กะเวลาได้ถูกต้อง คอยช่วยเสรอมหรือประคับประคอง ให้ผู้อภิปรายที่ไม่ค่อยสันทัดเวที ด้วย
การให้กำลังใจในการอภิปราย พูดง่าย ๆ ว่าการอภิปรายจะมีรสชาติหรือไม่ ผู้ดำเนินรายการมีส่วนเป็นอย่างมาก เปิดฉากการพูดอย่างไรจึงจะไปได้สวย หลังจากที่แสดงความกระตือรือร้น และความเต็มใจในการมาพูด ด้วยอากัปกิริยายิ้มแย้มแจ่มใส มี สัมมาคารวะแล้ว ก็มาถึงสาระสำคัญที่สุดคือ

การเปิดฉากการพูด ซึ่งมีหลักการดังนี้

1. อย่าเปิดฉากการพูด ด้วยสีหน้าท่าทางที่จริงจังเกินไป จงพูดอย่างธรรมดา ๆ และเป็นกันเองที่สุดด้วย เสียงที่ไม่ดังจนเหมือนการตะโกน หรือไม่เบาจนเหมือนเสียงกระซิบ กะระยะห่างระหว่างปากกับไมโครโฟนให้ พอดี ที่สำคัญ อย่าเอามือเคาะไมโครโฟนว่าดังหรือไม่ดังเป็นอันขาด ให้สังเกตเครื่องหมาย "ON" หรือ "OFF"

2. การทักทายที่ประชุม วิทยากรหรือผู้พูด จะต้องรู้ว่าใครเป็นประธานหรือเป็นใหญ่ในที่ประชุม ถ้าไม่รู้
ต้องรีบถามก่อนขึ้นพูด ก่อนอื่นต้องทักทายประธานในที่ประชุม ถ้ามีพระสงฆ์ หรือผู้นำทางศาสนาอยู่ด้วย ต้องทัก ทายพระสงฆ์ก่อน เช่น "นมัสการพระคุณเจ้าที่เคารพ" แล้วจึงกล่าวทักทายประธาน โดยการเอ่ยชื่อและตำแหน่ง สุดท้าย หรือตำแหน่งสูงสุดเท่าที่ผ่านมาในอดีตเพียงตำแหน่งเดียว เช่น อาจเคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีมาก่อน แต่ตอนนี้อาจจะไม่ได้เป็นอะไรแล้ว ก็ต้องแนะนำตำแหน่งรัฐมนตรี ควรทักทายคนสำคัญ ๆ เพียง 2-3 คนเท่านั้น เขาไม่นิยมเรียกคำว่า "แขกผู้มีเกียรติ" แต่นิยมใช้คำว่า "ท่านผู้มีเกียรติ"

3. อย่าเปิดฉากด้วยการถ่อมตัวจนเกินไป แน่ละ คนไทยไม่ชอบท่าทางของผู้พูดที่อวดรู้ อวดเก่ง ยกตนข่ม ท่านจงออกตัวพอเป็นพิธีแต่เต็มไปด้วยความมั่นใจ มีนักพูดจำนวนไม่น้อย ที่ติดว่าการออกตัวแล้วจะทำให้ผู้ฟังเห็น ใจ และให้อภัยถ้าพูดพลาด นับว่าเป็นการเข้าใจผิด การถ่อมตัวเสียยกใหญ่กลับเป็นการทำลายความศรัทธา และความสนใจของผู้ฟัง เข้าทำนองไม่พร้อมแล้วมาพูดทำไม

4. ถ้าไม่แน่ใจว่ามือถึง อย่าเปิดฉากการพูดด้วยเรื่องตลก มีนักพูดหน้าใหม่บางคน อยากสร้างบรรยากาศ
การพูด ด้วยการเล่าเรื่องตลก การพูดเรื่องตลก หรือการสร้างอารมณ์ขัน (SENSE OF HUMOUR) เป็น
"ดาบสองคม" ดีไม่ดีจะเสียบรรยากาศ มากกว่าสร้างบรรยากาศ ในการสร้างอารมณ์ขันเรื่องเดียวกันแท้ ๆ บางคน สามารถพูดให้คนหัวเราะ ในขณะที่บางคนเล่าแล้วผู้ฟังนั่งเฉย ๆ ก็มี การเล่าเรื่องตลก ต้องอาศัยกลวิธีหลายอย่าง ประกอบกัน ทั้งท่าทางการเล่า น้ำเสียง ภาษามือ หรือจังหวะในการเล่า และเวลาเล่า ต้องทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ตีหน้าตาย ฉะนั้นต้องให้แน่ใจว่าเรามือถึงจริง ๆ

5. หลังจากการทักทายผู้ฟัง ด้วยท่าทีที่เป็นมิตรและมีสัมมาคารวะแล้ว คำนำในการเปิดฉากพูด จะต้องมี
พลังเรียกร้องความสนใจจากผู้ฟังได้ทันทีด้วยการ

- นำคำกลอน หรือคำประพันธ์ของกวี ที่ผู้ฟังรู้จักทั่วไปมาเบิกโรง

- นำเอาพระพุทธวจนะ หรือคำสอนของศาสนาอื่น ๆ มากล่าวนำ

- นำความจริงที่ผู้ฟังไม่ค่อยอยากเชื่อมาเล่า

- นำเหตุการณ์ที่น่าตื่นเต้นระหว่างเดินทางมาบรรยาย

- นำความเปิ่น ความเชยของผู้พูดมาเล่าก็ได้ แต่ต้องไม่เฉิ่มเบ๊อะจนทำให้เสียภาพลักษณ์ของผู้เล่า อาจจะ เป็นความเปิ่นเล็ก ๆ

6. นักพูดและวิทยากรผู้บรรยาย ควรจะมองหน้าผู้ฟังที่เรากำลังพูดด้วย หรือเวลาบรรยาย จะต้องมองผู้ฟัง ให้ทั่วห้อง ไม่ใช่มองผู้ฟังคนใดคนหนึ่ง หรือด้านใดด้านหนึ่ง การที่ผู้พูดมองหน้าหรือประสานตากับผู้ฟัง ที่เรียก ว่ามี EYE CONTACT นั้น ผู้ฟังจะมีความรู้สึกว่า ผู้พูด ผู้บรรยายกำลังพูดกับเขาด้วย

7. ไม่ควรพูดเล่นหัวกับผู้ฟังมากเกินไป บางทีวิทยากรอาจจะรู้จักผู้ฟังบางคนเป็นอย่างดี อาจเป็นเพื่อนเก่า แต่ก็ไม่ควรพูดถึงเขาเลย เพราะเรากำลังพูดคุยกับทุกคน ไม่ควรแสดงความสนิทสนมกับผู้ฟังคนไหนเป็นพิเศษ


เค้าโครง โครงงานที่ควรจะรู้

1. ชื่อโครงงาน

2. ชื่อผู้ทำโครงงาน

3. ชื่อที่ปรึกษาโครงงาน

4. ที่มาและความสำคัญของโครงงาน

5. วัตถุประสงค์ของการศึกษาค้นคว้า

6. สมมติฐานของการศึกษาค้นคว้า (ถ้ามี)

7. วิธีดำเนินงาน

8. แผนปฏิบัติงาน

9. ผลที่คาดว่าจะได้รับ

10. เอกสารอ้างอิง

Tuesday, January 18, 2011

ใบงานไมยราพ เทอม 2/2554

                                           ใบงานที่ ๕

                                  ศึกสายเลือด (ศึกไมยราพ)

ชื่อ.......................................................................................................ชั้น...................เลขที่ ..............

คำชี้แจง ให้นักเรียนฝึกตั้งคำถามและตอบคำถามเกี่ยวกับลักษณะนิสัยของตัวละครที่ปรากฏในเรื่องรามเกียรติ์ ตอนศึกไมยราพ คนละ ๕ ข้อ


ฝึกตั้งคำถามและตอบคำถาม

....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................
..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................



คำชี้แจง ให้นักเรียนสรุปบุคลิกลักษณะนิสัย ลักษณะเด่น ลักษณะด้อยของตัวละครที่ปรากฏในเรื่อง ดังนี้

ไมยราพ

..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

..................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

.........................................................................................................................................................................


หนุมาน

...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

 ....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

พิรากวน

....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

..........................................................................................................................................................................

มัจฉานุ

...................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................

....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................


                                                             ใบงานที่ ๖
                                               ศึกสายเลือด (ศึกไมยราพ)


ชื่อ.......................................................................................................ชั้น...................เลขที่ ..............



คำชี้แจง ให้นักเรียนลองพิจารณาถึงการกระทำของมัจฉานุต่อไมยราพและต่อหนุมานว่าเหมาะสมหรือไม่ หากนักเรียนเป็นมัจฉานุนักเรียนจะหาทางออกที่ดีที่สุดในเรื่องนี้ได้อย่างไร


………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

คำชี้แจง การต่อสู้ระหว่างหนุมานกับไมยราพที่จบลงด้วยการตายของไมยราพ ทั้งที่สามารถถิดหัวใจไปซ่อนไว้ สะท้อนให้เห็นความจริงเกี่ยวกับชีวิตมนุษย์อย่างไรบ้าง

………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

…………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………………

                                                               ใบงานที่ ๘
                                                    ศึกสายเลือด (ศึกไมยราพ)


ชื่อ.......................................................................................................ชั้น...................เลขที่ ..............

คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้


๑.หนุมานรู้ที่ซ่อนของไมยราพจากใคร

............................................................................................................................................................


๒.พิรากวนเป็นใคร มีความสำคัญในเรื่องอย่างไร

.............................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................

๓.นักเรียนคิดว่ามัจฉานุเป็นตัวละครที่มีลักษณะอย่างไร หากนักเรียนเป็นมัจฉานุจะมีความรู้สึกอย่างไรและจะทำอย่างไรเมื่อรู้หนุมานเป็นพ่อของตน

.............................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................

๔. ไวยวิกคือใคร มีความสำคัญในเรื่องนี้อย่างไร

.............................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................

๕.หนุมานแปลงกายเป็นอะไรเพื่อเข้าไปถึงที่อยู่ของไมยราพ การกระทำประสบความสำเร็จหรือไม่ อย่างไร

.............................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................

๖.ยักษ์ใช้เครื่องอะไรเพื่อตรวจตราการเข้าออกของพิรากวน

.............................................................................................................................................................

.............................................................................................................................................................

๗.เมื่อตราชั่งหักลง พิรากวนใช้คำให้การว่าอย่างไร คำให้การนั้นมีผลอย่างไร

..........................................................................................................................................................
.............................................................................................................................................................

๘. ไมยราพขังพระรามไว้ที่ใด ใครเป็นผู้บอกหนุมานว่าขังอยู่ที่นั่น

.............................................................................................................................................................

๙. คำว่า “พระนารายณ์” ในเรื่องนี้หมายถึงใคร

.............................................................................................................................................................

๑๐. คำว่า “ขุนกระบี่ผู้มีฤทธิรอน” หมายถึงอะไร

............................................................................................................................................................

Sunday, January 9, 2011

ขอแสดงความยินดีกับคนเก่งของเรา พี่นก (ทศชภรณ์ สงวนรัตน์



จากกิจกรรมการประกวดแข่งขันทักษะทางภาษาอังกฤษ และการเขียนเรียงความ ในงานศิลปหัตกรรมภาคตะวันออก ของ

สำนักเขตการศึกษาจังหวัดชลบุรี ทำให้เราได้นักเรียนที่เก่ง 2 คน คือ พี่แซม (ชั้น ป.6/4) และ พี่นก (ทศชภรณ์ สงวนรัตน์ ชั้นป6/5)

ชนะการประกวด แข่งขัน และจะได้เป็นตัวแทนจังหวัดไปแข่งขันในระดับภาค ที่จังหวัดอยุธยา .....

วันนี้ ครูเลยมีตัวอย่างงานเขียนที่ เขียนได้ดี จากพี่นกของเรา มาให้ได้ศึกษา และในโอกาสต่อไปจะนำเรียงความที่ได้รับรางวัล มาแบ่งปันให้ชม


งานภาษาไทยเทอม 2/2554


ตาราง ชิ้นงาน
ลำดับ ชื่อชิ้นงาน ลักษณะงาน วีนที่ส่ง

1. บทความ ปิดเทอม บทความ 21/12/53

2. การละเล่นไทย ออกแบบ ใส่ A4 10/11/53

3. อย่าชิงสุกก่อนห่ามไม่งามดี ใบกิจกรรม 12/11/53

4. นิทานคติธรรม ใบกิจกรรม 15/11/53

5. ศึกไมยราพ ใบกิจกรรม 26/11/53

6. วิเคราะห์ ศึกไมยราพ (ครั้งที่๑) ใบกิจกรรม 30/11/53

7. สำนวนไทย ออกแบบ ใส่ A4 19/12/53

8. วิเคราะห์ ศึกไมยราพ (ครั้งที่๒) ใบกิจกรรม 21/12/53

9. บทความสิ่งแวดล้อม บทความ 21/12/53

10. บันทึกเลือกหนังสือ ออกแบบ ใส่ A4 21/12/53

11. รายงานบันทึกการอ่าน รายงานบันทึกการอ่าน 19/12/53