Saturday, November 26, 2011

ตัวอย่างชิ้นงานที่ ๓ โวหารจากบทเพลง



อีกหนึ่งตัวอย่าง ทีีสามารถบอก ความแตกต่าง ของโวหารได้ดี จากบทเพลง

Tuesday, November 22, 2011

ภาษาไทยน่ารู้เรื่อง...สำนวนโวหาร...


                       โวหาร หมายถึง การใช้ถ้อยคาอย่างมีชั้นเชิง เป็นการแสดงข้อความออกมาในทานองต่างๆ เพื่อให้ข้อความได้เนื้อความดี มีความหมายแจ่มแจ้ง เหมาะสมน่าฟัง ในการเขียนเรื่องราวอาจใช้โวหารต่างๆ กัน แล้วแต่ชนิดของข้อความ
  ( สมถวิล วิเศษสมบัติ. ๒๕๔๔ : ๑๒๙)
สำนวนโวหารในภาษาไทย ที่แบ่งออกเป็น 5 ประการ
1. บรรยายโวหาร
2. พรรณนาโวหาร
3. เทศนาโวหาร
4. สาธกโวหาร
5. อุปมาโวหาร
บรรยายโวหาร  คือ โวหารที่ใช้เล่าเรื่อง หรืออธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ตามลำดับเหตุการณ์ การเขียนบรรยายโวหาร จะมุ่งความชัดเจน เขียน ตรงไปตรงมา รวบรัด กล่าวถึงแต่สาระสำคัญไม่จำเป็นต้องมีพลความ หรือความปลีกย่อยเสริม
ในการเขียนทั่ว ๆไปมักใช้การบรรยายโวหาร เพราะเหมาะในการติดต่อสื่อสารเนื่องจากสำนวนประเภทนี้มุ่งสาระเขียนอย่างสั้น ๆได้ความชัดเจน งานเขียนที่ควรใช้การเขียนอธิบายประเภทต่าง ๆเช่น เขียนรายงานวิทยานิพนธ์ ตำรา บทความ การเขียนเพื่อเล่าเรื่อง เช่น บันทึก จดหมายเหตุ การเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นประเภทบทความเชิงวิจารณ์ ข่าว เป็นต้น
หลักการเขียนบรรยายโวหาร
1. เรื่องที่เขียนต้องเป็นเรื่องจริง ผู้เขียนควรมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะเขียนเป็นอย่างดี โดยอาจรู้มาจากประสบการณ์ หรือการค้นคว้าก็ได้
2. เลือกเขียนเฉพาะสาระสำคัญ ไม่เน้นรายละเอียด แต่เขียนตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อม
3. ใช้ภาษาให้เข้าใจง่าย หากต้องการจะกล่าวให้ชัดอาจใช้อุปมาโวหารและสาธกโวหารเข้าช่วยได้บ้าง แต่ต้องไม่มากจนส่วน ที่เป็นสาระสำคัญกลายเป็นส่วนด้อยไป
ตัวอย่าง
     “ฉันยืนต้นอยู่ในป่าลึก ฉันมีลำต้นสูงใหญ่ กิ่งก้านใบแน่นหนาและแผ่กว้าง แสงอาทิตย์ ไม่อาจส่องลอดได้ เบื้องล่างจึงร่มรื่น ลำธารน้อย ๆ ไหลผ่านใกล้ลำต้นฉันไป น้ำในลำธาร ใสจนเห็นกรวดทราย ท้องธารและปลาว่ายเวียน ทุกวันจะมีสัตว์ป่านานาชนิดมากินน้ำ ที่ลำธารสายนี้ บางตัวจะอาศัยใต้ร่มใบของฉันนอนหลับอย่างเป็นสุข
                                                  (จาก ฉันคือต้นไม้ ของไมตรี ลิมปิชาติ)
พรรณนาโวหาร  มีจุดมุ่งหมายในการเขียนต่างจากบรรยายโวหาร คือมุ่งให้ความแจ่มแจ้ง ละเอียดลออ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ซาบซึ้งเพลิดเพลินไปกับข้อความนั้นการเขียนพรรณนาโวหารจึงยาวกว่าบรรยายโวหารมาก แต่มิใช่การเขียนอย่างเยิ่นเย้อ เพราะพรรณนา-โวหารต้องมุ่งให้ภาพ และอารมณ์
ดังนั้น จึงมักใช้การเล่นคำ เล่นเสียง ใช้ภาพพจน์ แม้เนื้อความที่เขียนจะน้อยแต่เต็มด้วยสำนวนโวหารที่ไพเราะ อ่านได้รสชาติ
หลักการเขียนพรรณนาโวหาร
1. ต้องใช้คำดี หมายถึง การเลือกสรรถ้อยคำ เพื่อให้สื่อความหมาย สื่อภาพ สื่ออารมณ์เหมาะสมกับเนื้อเรื่องที่ต้องการบรรยาย ควรเลือกคำ ที่ให้ความหมายชัดเจน ทั้งอาจต้องเลือกให้เสียงคำสัมผัสกันเพื่อเกิดเสียงเสนาะอย่างสัมผัสสระ สัมผัสอักษร ในงานร้อยกรอง
2. ต้องมีใจความดี แม้จะพรรณนายืดยาว แต่ใจความต้องมุ่งให้เกิดภาพ และอารมณ์ความรู้สึกสอดคล้องกับเนื้อหาที่กำลังพรรณนา
3. อาจต้องใช้อุปมาโวหาร คือ การเปรียบเทียบเพื่อให้ได้ภาพชัดเจน และมักใช้ศิลปะการใช้คำที่เรียกว่า ภาพพจน์ประเภทต่าง ๆ ทั้งนี้เป็นวิธีการที่จะทำให้พรรณนาโวหารเด่น ทั้งการใช้คำ และการใช้ภาพที่แจ่มแจ้ง อ่านแล้วเกิดจินตนาการและความรู้สึกคล้อยตาม
4. ในบางกรณีอาจต้องใช้สาธกโวหารประกอบด้วย คือ การยกตัวอย่างเพื่อให้เกิดความแจ่มแจ้ง โดยยกตัวอย่างสิ่งที่ละม้ายคล้ายคลึงกัน เพื่อให้เกิดภาพและอารมณ์เด่นชัดพรรณนาโวหารมักใช้กับการชมความงามอื่น ๆ เช่น ชมสถานที่ สรรเสริญบุคคล หรือใช้พรรณนาอารมณ์ ความรู้สึก เช่น รัก เกลียด โกธร แค้น เศร้าสลด เป็นต้น
          ผจงจารพิจิตรแย้ม
ประจำยาม
     ประดับประดาดาม
ดอกแก้ว
     ฟื้นผนังคัดนาค์คราม
คัดดอก
     ขนัดขนดม่วงแพร้ว
เพริศพริ้งชมภู
                              (จาก ชักม้า ชมเมือง ของ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์)
เทศนาโวหาร  หมายถึง โวหารที่มีจุดหมายแสดงความแจ่มแจ้งเพื่อให้ผู้อ่านคล้อยตามหรืออาจกล่าวได้ว่ามุ่งชักจูงให้ผู้อ่าน คิดเห็นหรือคล้อยตามความคิดเห็นของผู้เขียนเทศนาโวหาร จึงยากกว่าโวหารที่กล่าวมาแล้วทั้ง 2 โวหาร เพราะต้องใช้กลวิธีในการชักจูงใจ
หลักการเขียนเทศนาโวหาร  การเขียนเทศนาโวหารต้องใช้โวหารประเภทต่าง ๆ มาประกอบ กล่าวคือทั้งใช้บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร รวมทั้งอุปมาโวหาร และ สาธกโวหารด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ใจความชัดเจนแจ่มแจ้ง มีทั้งความหลักและความรองเป็นที่เข้าใจจนเกิดความรู้สึกนึกคิดคล้อยตามผู้เขียน ไปได้หากเป็นการแสดงความคิดเห็นควรอธิบายทั้งด้านที่เป็นประโยชน์และโทษ หรือแสดงเหตุและผลการเขียนเทศนาโวหาร
ผู้เขียนต้อง มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เขียนเป็นอย่างดี สามารถอธิบายอย่างชัดเจน ทั้งควรพรรณนาให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ต้องรู้จักใช้เหตุผล และหลักฐานสนับสนุนความคิดเห็นที่ตนเสนอด้วย การลำดับความให้สัมพันธ์กันอย่างมีเหตุผลจึงเป็นหลักสำคัญอีกประการหนึ่ง ในการเขียนเทศนาโวหารโดยทั่วไปมักเข้าใจกันว่า เทศนาโวหาร แปลว่า โวหารที่มุ่งสั่งสอน โดยตีความคำว่าเทศนา ว่าสั่งสอน
ความจริงเทศนาในที่นี้ หมายถึง แสดง กล่าวคือ แสดงอย่างแจ่มแจ้งเพื่อให้เห็นคล้อยตาม รูปแบบงานเขียนที่ควรใช้เทศนาโวหารคือ งานเขียนประเภทบทความชักจูงใจ หรือบทความแสดงความคิดเห็น ความเรียง เป็นต้น
          แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์
มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด
     ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด
ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน
     มนุษย์นี้ที่รักอยู่สองสถาน
บิดามารดารักมักเป็นผล
     ที่พึ่งหนึ่งพึ่งได้แต่กายตน
เกิดเป็นคนคิดเห็นจึงเจรจา
     แม้นใครรักรักมังชังชังตอบ
ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา
     รู้อะไรใดไม่สู้รู้วิชา
รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี
                                                           
 (พระอภัยมณี)

สาธกโวหาร  คือ โวหารที่มุ่งให้ความชัดเจน โดยการยกตัวอย่างเพื่ออธิบายให้แจ่มแจ้งหรือสนับสนุนความคิดเห็นที่เสนอให้หนักแน่น น่าเชื่อถือ สาธกโวหารเป็นโวหารเสริม บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร และเทศนาโวหารเช่นการเลือกยกตัวอย่างมีหลักที่ควรเลือกให้เข้ากับเนื้อความ อาจยกตัวอย่างสั้น ๆ ในบรรยายโวหารหรืออาจยกตัวอย่างที่มีรายละเอียดประกอบในพรรณนาโวหาร และเทศนาโวหาร เป็นต้น
ในการเขียนข้อเขียนต่าง ๆควรรู้จักเลือกใช้โวหารให้เหมาะกับจุดมุ่งหมายในการเขียนและเนื้อหาในบางโอกาส อาจต้องใช้โวหารหลายชนิดในงานเขียนชิ้นหนึ่งก็ได้ หลักสำคัญอยู่ที่ว่าต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับโอกาส จุดมุ่งหมายและเขียนได้อย่างถูกต้อง ตามลักษณะโวหารนั้น ๆ
เป็นมนุษย์สุดดีที่ทำชอบ
จงประกอบกรรมดีไว้ไม่สูญหาย
มีเรื่องจะทำดีได้มากมาย
อย่าเหนื่อยหน่ายท้อใจใฝ่ทำดี
วีรชนของไทยใจกล้าหาญ
ได้ต่อสู้ศัตรูพาลสมศักดิ์ศรี
แม่ย่าโมท้าวสุรนารี
ยอดสตรีนามระบือลือทั่วไทย
                                                                                                                                                           (สุจริต เพียรชอบ)

อุปมาโวหาร  หมายถึง โวหารเปรียบเทียบ โดยกตัวอย่าง สิ่งที่คล้ายคลึงกันมาเปรียบเพื่อให้เกิดความชัดเจนด้านความหมาย ด้านภาพ และเกิดอารมณ์ ความรู้สึกมากยิ่งขึ้น กล่าวได้ว่าอุปมาโวหาร คือ ภาพพจน์ประเภทอุปมานั่นเอง อุปมาโวหารใช้เป็นโวหารเสริม บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร และเทศนาโวหาร เพื่อให้ชัดเจนน่าอ่าน โดยอาจเปรียบเทียบอย่างสั้น ๆ หรือเปรียบเทียบอย่างละเอียดก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปมา โวหารนั้นจะนำไปเสริมโวหารประเภทใด
          ความรักเหมือนโรคา
บันดาลตาให้มืดมน
          ไม่ยินและไม่ยล
อุปสรรคคะใดใด
          ความรักเหมือนโคถึก
กำลังคึกผิขังไว้
          ก็โลดจากคอกไป
บ่ย่อมอยู่ ณ ที่ขัง
                                                                (พระนลคำหลวง)

          ประโยชน์ในการศึกษาสำนวนโวหาร

1. ทำให้ใช้ภาษาในการเขียน ความเรียงต่างๆ ได้ดีขึ้น เป็นการช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับความ เรียงที่เขียนขึ้น

2. ทำให้ได้คติสอนใจ ในด้านต่างๆ เช่น
                - ด้านการเรียน ตัวอย่างๆ “รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม” “ฝนทั่งให้เป็นเข็ม” “ความรู้ท่วม หัวเอาตัวไม่รอด”

               - ด้านการคบค้าสมาคม ตัวอย่าง “คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ” “คบเด็กสร้างบ้าน คบหัวล้านสร้างเมือง”
              - ด้านการครองเรือน ตัวอย่าง “ความในอย่านำออก ความนอกอย่านำเข้า” “ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ปลูกอู่ตามใจผู้นอน”
              - ด้านความรัก ตัวอย่าง “ยามรักน้ำต้มผักก็ว่าหวาน” “รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ” “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี”
3. ทำให้ทราบความเป็นอยู่ของคนในสังคม ในสมัยที่เกิดสำนวนโวหารนั้น ว่ามีความเป็นอยู่ อย่างไร เช่น “อัฐยายซื้อขนมยาย” “แบ่งสันปันส่วน” “หมูไปไก่มา"
4.เป็นการรักษาวัฒนธรรมทางภาษาอันเป็นมรดกที่ล้ำค่าของไทยไว้ให้ลูกหลานภาคภูมิใจ






Saturday, November 19, 2011

ตัวอย่างงาน สำนวนไทย

นี่เป็นอึกหนึ่งตัวอย่างที่น่าสนใจ สำหรับงาน เรื่องสำนวน


และตัวอย่างที่น่าสนใจ อีกหนึ่งตัวอย่าง





 

Thursday, November 17, 2011

งาน สำนวน ชิ้นที่ 2/2554

สำนวนไทย
ตัวอย่าง สำนวน และที่มาของสำนวน

ลูกทรพี และ วัดรอยเท้า
มาจากวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ คือ ชื่อควายตัวนึง
มี เทวดาหนึ่งถูกพระศิวะสาปให้เป็นควายและถูกลูกตัวเองฆ่าตาย ควายที่ถูกสาปชื่อทรพาลูกเกิดมากี่ตัวทรพาฆ่าตายหมด ควายตัวเองแอบคลอดที่อื่น รุกขเทวดาเลี้ยงควายตัวนี้ และรู้ว่าพ่อคิดฆ่าตัวเอง และก็เกิดสำนวนไทยอีกสำนวนคือ"วัดรอยเท้า"มันคอยเอารอยเท้าตัวเองวัดกับรอย เท้าพ่อ เพื่อคิดบัญชีที่คิดฆ่าตัวเอง แล้วมาเจอพ่อชื่อทรพา เลยสู้กัน ทรพีฆ่าพ่อตัวเองตาย

วิลิศมาหรา
มาจากวรรณคดีเรื่อง อิเหนา ตอน บุษบาเสี่ยงเทียน วิลิศมาหรา เป็นชื่อภูเขามีความสวยงามอลังการ
หรูหรา หรา น่าจะมาจาก วิลิศมาหรา หมายถึง อลังการ เลิศเลอ

เขาวงกต
มาจากชาดกเรื่อง พระเวสสันดร เป็นชื่อภูเขาในป่าหิมพานต์
พระเวสสันดรพาเมียและลูก2คนไปอยู่เขาวงกต และเขาวงกตมันกว้าง หาทางออกไม่ได้ เขาเลยเปรียบกับเขาวงกต

ชักแม่น้ำทั้งห้า
มาจากชาดกเรื่องพระเวสสันดร กัณฑ์กุมาร
ตอน ที่ชูชกพบพระเวสสันดร ก็พูดจาหว่านล้อม บอกว่าพระเวสสันดรมีน้ำพระทัยเหมือนปัญจมหานที คือแม่น้ำใหญ่5สาย คือ แม่น้ำคงคา แม่น้ำ มหิ แม่น้ำยมุนา แม่น้ำอจิรวดี แม่น้ำสรภู

กลิ้งทูต
มาจากวรรณคดีเรื่องรามเกียรติ์ แปลว่า กลิ้งไม่เป็นท่า
ทูต คือชื่อยักษ์ รามายณะเขียนว่า ทูษณ์ พี่ชายนางสำมะนักขา รามายณะเขียนว่า ศูรปนขา ว่าพระรามพระลักษมณ์รังแก เลยไปฟ้องพี่ชายชื่อ ทูต(ทูษณ์) เลยออกไปแก้แค้น และถูกพระรามยิงจนกลิ้งแล้วก็ตาย

กิ้งก่าได้ทอง
มาจากชาดกเรื่อง มโหสถ
แคว้น วิเทหะ เมืองมิถิลา ทุกครั้งที่กษัตริย์กรุงมิถิลาออกจากวัง กิ้งก่าจะออกมาทำความเคารพ เลยให้รางวัลโดยให้ทองไปซื้อเนื้อให้กิ้งก่ากิน และทำแบบนี้ทุกวัน พอวันนึงคนที่ได้รับคำสั่งให้ซื้อเนื้อ แต่หาซื้อไม่ได้ เลยเอาทองไว้กับกิ้งก่าตัวนี้(น่าจะเป็นเหรียญทองมีรูตรงกลางเอาแขวนที่คอ กิ้งก่า) มันคิดว่าได้ของที่มีค่ามากกว่าชิ้นเนื้อ แล้วมันไปเกาะชูคอที่ขอบประตู และไม่ลงมาทำความเคารพกษัตริย์กรุงมิถิลา พระมโหสถเลยแนะนำว่าไม่ต้องให้อะไรกิ้งก่าตัวนี้อีก

กลัวดอกพิกุลร่วง
มาจากวรรณคดีไทยเรื่อง พิกุลทอง
ผู้หญิงคนนึงเวลาพูดมีดอกพิกุลทองออกมาจากปาก เลยเปรียบกับคนที่พูดน้อย ว่ากลัวดอกพิกุลร่วง

ฤๅษีแปลงสาร
มาจากวรรณคดีไทยเรื่อง นางสิบสอง
พระ รถเสนกำลังเดินทางเอาสารไปให้นางเมรีลูกนางยักษ์ แล้วเจอฤๅษีกลางทาง สารฉบับนั้นบอกว่า ถึงกลางวันกินกลางวัน ถึงกลางคืนกินกลางคืน ฤๅษีใช้เวทมนต์แปลงข้อความเป็น ถึงกลางวันแต่งกลางวัน ถึงกลางคืนแต่งกลางคืน

ว่าแต่เขาอิเหนาเป็นเอง
อิเหนาบุษบาหมั้น กันแต่เด็ก วันนึงได้จินตหราเป็นเมีย ท้าวดาหาพ่อบุษบาทวงสัญญา บอกว่าไม่ต้องการบุษบา จะยกให้ใครก็ได้ แต่วันนึงอิเหนาก็ลักพาตัวบุษบาไป

สิบแปดมงกุฎ
มาจากเรื่องรามเกียรติ์
เป็นชื่อลิงฉลาดแกมโกงสวมมงกุฎ18ตัว สำนวนนี้แปลว่า คนที่มีเล่ห์เหลี่ยม

หลังจากนักเรียนได้เรียนรู้เกี่ยวกับสำนวน และที่มาของสำนวนในชั้นเรียนแล้ว นักเรียนทุกคนต้องทำงาน
ส่งดังนี้


1. หาเอกสาร สิ่งพิมพ์ ข่าว หรือ เหตุการณ์ ที่นำเสนอ เรื่องราว
ตรงกับพฤติกรรม ในสำนวนใด สำนวนหนึ่ง มาส่ง อย่างน้อย คนละ 2 สำนวน
หมายเหตุ  เนื้อหาที่ต้องนำมาควร ไม่น้อยกว่า 1 หน้ากระดาษ
2. สรุปให้ได้ ว่าตรงกับสำนวนไทย สำนวนอะไร เช่น ในละคร เรื่องรอยไหม
ตรงกับสำนวน สุภาษิต เรื่องทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว    หรือให้ทุกข์แก่ท่าน ทุกข์นั้นถึงตัว(ได้จากพฤติกรรมการกระทำของ อีเม้ย และหม่อมบัวเงิน  ) 
นักเรียนสามารถ นำเสนอเรื่องราว ได้มากกว่า 1 เรื่องในกรณี ที่เรื่องที่นำเสนอมีข้อจำกัดเพียง 1 สำนวน

ตัวอย่างชิ้นงาน


Friday, November 11, 2011

ตัวอย่าง งานเขียนเรียงความ 54

               นักเรียนที่กำลังทำงานการเขียนในวิชาภาษาไทย เรื่องวันหยุดตอนปิดภาคเรียน   สามารถดูตัวอย่างการเขียนที่ดี และนำมาใข้ในงานเขียนของตนเองได้
หลักง่ายๆ ที่ต้องทำ คือ   อย่าลืมในส่วนของ คำนำ คือการเปิดเรื่องแบบกว้างๆ และตามด้วยเนื้อหา อาจมีหลายย่อหน้า ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับจำนวนเนื้อหาที่เราแบ่งไว้ ว่าในแต่ละย่อหน้านั้นจะกล่าวถึงอะไร  เรียงความที่ดี ควรมีหลายย่อหน้าได้ (ไม่จำเป็นต้องมี 3 ย่อหน้าเท่านั้น) 
สรุป คือการบอกผู้อ่านว่า เราต้องการให้เขารู้อะไร และเขียนมาเพื่ออะไร เช่นเป็นข้อคิด เตือนใจ หรือให้ความสนุกสนาน หรือต้องการนำเสนอ สิ่งใด    สรุปจึงเป็นส่วนสำคัญของงานเขียน ที่เราจะขาดไม่ได้ จำเป็นต้องมีทุกครั้ง งานเขียนเรียงความ หรือ บทความที่ดี ควรใช้ เครื่่องหมายวรรคตอนประกอบ การเขียน จะช่วยในเรื่องของการแสดงความรู้สีก  การใช้คำถาม ในงานเขียน ก็ช่วยดึงความสนใจของผู้อ่านได้ ดีเช่นกัน








อีกแบบที่น่าสนใจ และถ้าปรับคำนำอีกหน่อยจะดี ให้เป็นลักษณะ กว้างๆ ไม่เจาะจงลงไปว่ากำลังจะพูดถึงปิดภาคเรียน และนำส่วนนี้ไปไว้ในเน้ือหาได้ ว่าเราทำอะไร อย่างไร   รวมทั้งสรุป อาจเพิ่มความคิดเห็นลงไปก้จะทำให้น่าสนใจขึ้น










นี่เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่สรุปได้ดี และดำเนินเรื่องได้น่าสนใจ
คำนำ ก็เป็นแบบกว้างๆ แต่มีเนื้อหาสอดคล้องกับเรื่องที่เขียน โดยไม่ใช่ภาษาซ้ำ กับชื่อเรื่อง