Wednesday, June 6, 2012

สรุปเนื้อหา "ชมรมคนรักวรรณคดี"


บทที่ ๑
ชมรมคนรักวรรณคดี
ชาลีคิดถึงผมแกละในโลกของวรรณคดีดอตคอม  เขาจึงเขียนจดหมายหาผมแกละ และเล่าว่าเขาจินตนาการว่าตนเองกำลังท่องอยู่ในสวนแห่งวรรณคดี ได้ยินเสียงอ่านบทกวีเป็นท่วงทำนองเสนาะ  และมีภาพตัวละครผุดขึ้นในความคิด
เมื่อเขาอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่  ๖  ชาลีได้อ่านหนังสือมากขึ้นโดยใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งเรียนรู้  และค้นพบความจริงว่าหนังสือวรรณคดีมีความน่าสนใจ  มีเนื้อหาที่สนุกสนาน  ได้เห็นตัวอย่างของการใช้ภาษาและมีคติข้อคิดที่ดี
ชาลีคิดคิดที่จะก่อตั้งชมชมรมคนรักวรรณคดี  โดยมีมะปรางเป็นคนตั้งชื่อชมรมให้และทำหน้าที่เป็นเลขานุการ  ส่วนชาลีเป็นประธานชมรม  ทั้งสองคนได้ไปเชิญคุณครูจันทร์ฉายให้มาเป็นที่ปรึกษาของชมรมคนรักวรรณคดี 
ชาลีและมะปรางได้ทำประกาศเชิญชวนไปติดไว้ที่โรงเรียน  โดยมีสมาชิกกลุ่มแรกที่มาสมัคร  ๙  คน ทั้งหมดอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖  กิจกรรมแรกที่คิดจะดำเนินการ  คือ  “ช่วยกันอ่าน  วานมาฟัง”

ความรู้เพิ่มเติม

วรรณคดี   มีความหมายว่า   หนังสือที่ได้รับการยกย่องว่าแต่งดีมีวรรณกรรมศิลป์ กล่าวคือ มีลักษณะเด่นในการใช้ถ้อยคำภาษา  และเด่นในการประพันธ์ ให้คุณค่าทางอารมณ์และความรู้สึกแก่ผู้อ่าน สามารถใช้เป็นแบบฉบับอ้างอิงได้
หนังสือที่ยอมรับว่าเป็นวรรณคดี  ได้แก่ หนังสือรุ่นเก่าซึ่งได้พิสูจน์แล้วว่าแม้เวลาจะล่วงเลยไปเป็นร้อยๆ ปี ก็ยังมีคุณค่า สามารถชี้ลักษณะเด่นได้ เช่น บทเสภาเรื่องขุนช้าง-ขุนแผน  ลิลิตพระลอ  บทแห่ชมปลา  เป็นต้น
ข้อสำคัญเป็นหนังสือที่เหมาะแก่คนอ่านทุกวัย ยิ่งคนอ่านมีประสบการณ์มากก็ยิ่งได้รับอรรถรสเพิ่มขึ้น เนื่องจากผู้เขียนแต่งขึ้นอย่างประณีตและกลั่นกรองเรื่องราวมาจากประสบการณ์ของชีวิต

ขอเพิ่มสรุปในสไตล์ของผู้เขียน

1. มีหลายจุดในหนังสือที่เราควรอ่านและคิดวิเคราะห์ให้ออก เช่นในตอนที่ชาลีพูดถึงการให้อาหารปลาที่บ้านของมะปราง จะสะท้อนให้เห็นว่า ชาลีกำลังพูดถึงหรือหมายถึง "บทเห่ชมปลา" ของเจ้าฟ้ากุ้ง
2. การประกาศ หาสมาชิกชมรม ในที่นี้ เราต้องการสื่อถึง กิจกรรมการประกาศ โฆษณา นำหลักการเขียนประกาศ มาศึกษาดู ว่ามีองค์ประกอบอะไร ประกาศมีกี่ชนิด 
ถ้าจะอ่านกันลึกๆ ก็มีกิจกรรมการประกาศ หรือประชาสัมพันธ์ในเรื่องนี้ อยู่ 2 แบบคือ ที่ชาลีไปติดประกาศ และที่ครูจันทร์ฉายประชาสัมพันธ์หน้าแถว อ่านไปเรื่อยๆ จะพบ ในบทที่ 3 เช่นกัน
3. ถ้าอ่านตรงที่เปิดเรื่อง จะพบว่า ชาลี กำลังถูกทิ้ง โดยผมแกละ ในเหตุผลที่ต้องการให้ชาลีเป็นผู้ใหญ่รู้จักช่วยตนเอง (น่าจะไปคล้ายๆ กับเรื่องโดเรเอมอน ตอนที่ต้องทิ้งให้โนบิตะ อยู่คนเดียว) จากนั้นก็จะเริ่มพูดถึงพฤติกรรมของตนเองที่เปลี่ยนไป เรียนมากขึ้น ไป ห้องสมุดอ่านวรรณคดีและเล่นเกมคอมพิวเตอร์ น้อยลง  
บทที่ 1  นี่ ถือว่าเป็นจุดเริ่มต้น ของการสื่อสารเรื่องวรรณคดี กันเลย โดยเล่าผ่านตัวละคร ที่กำหนดไว้ในหนังสือ ที่เป็นสมาชิกในชมรมรักวรรณคดี ที่ให้มาเล่าเรื่องวรรณคดี คนละเรื่อง ในบทต่อ ๆ ไป😅

ลักษณะเด่นของวรรณคดีไทย จำแนกเป็นข้อๆ ได้ ดังนี้
.  นิยมด้วยคำประพันธ์ร้อยกรองมากกว่าร้อยแก้ว 
. เน้นความประณีตของคำและสำนวนโวหาร ภาษาที่ใช้ในวรรณคดีไม่เหมือนภาษาพูดทั่วไป คือ เป็นภาษาที่มีการเลือกใช้ถ้อยคำตกแต่งถ้อยคำให้หรูหรา มีการสร้างคำที่มีความหมายอย่างเดียวกันที่เรียกว่า คำไวพจน์ โดยใช้รูปศัพท์ต่างๆ กัน เพื่อมิให้เกิดความเบื่อหน่ายจำเจ เช่น
ใช้คำว่า ปักษา ปักษี สกุณา สกุณี แทนคำว่า นก
          ๓.  เน้นการแสดงความรู้สึกที่สะเทือนอารมณ์จาการรำพันความรู้สึก ตัวละครในเรื่องจะรำพันความรู้สึกต่างๆ เช่น รัก เศร้า โกรธ ฯลฯ 
          ๔. วรรณคดีไทยมีเนื้อหาเกี่ยวเนื่องกับชนชั้นสูงมากกว่าคนสามัญ ตัวละครเอกมักเป็นกษัตริย์และชนชั้นสูง คุณสมบัติสำคัญของตัวเอกจะเน้นที่บุญญาธิการซึ่งเป็นผลมาจาก "บารมี" ที่ได้ทำไว้ทั้งในชาตินี้และชาติก่อน (อดีตชาติ) การที่เป็นดังนี้เนื่องจากในอดีตสถาบันกษัตริย์เป็นศูนย์รวมแห่งอำนาจวัฒนธรรมและความอยู่รอดของชาติบ้านเมืองจะดีหรือไม่ดีขึ้นอยู่กับกษัตริย์เป็นสำคัญ
          ๕. แนวคิดสำคัญที่พบในวรรณคดีไทยโดยทั่วไปเป็นแนวคิดแบบพุทธปรัชญาง่ายๆ เช่น แนวคิดเรื่องทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว แนวคิดเรื่องความไม่เที่ยงของสรรพสิ่ง (อนิจจัง) แนวคิดเรื่อง ความกตัญญู แนวคิดเรื่องความจงรักภักดี แนวคิดเรื่องความรักและการพลัดพราก เป็นต้น
ตัวละครเด่น  คือ  ตัวละครที่มีการกล่าวถึงเป็นตัวหลักสำคัญ   หรือทำหน้าที่เป็นตัวดำเนินเรื่องตัวหลักๆ 
ตัวละครประกอบ  คือ  ตัวละครที่เข้ามามีส่วนประกอบที่ช่วยเสริมบทบาทของตัวละครหลัก  ที่ทำให้เรื่องดำเนินไปได้  และสร้างความสมบูรณ์ที่สมจริงมากขึ้น

12 comments:

  1. ขอบคณ
    สำหรับความรู้น่ะค่ะ

    ReplyDelete
    Replies
    1. This comment has been removed by a blog administrator.

      Delete
  2. มีขอบทที่2ให้อ่านมั้ยค่ะ

    ReplyDelete
  3. หนูอยากรู้ข้อคิดค่ะ ครูให้ทำแล้วมันงงมากเลยเพราะมันไม่ใช่วรรณคดีค่ะ

    ReplyDelete
  4. ขอบคุณครับ

    ReplyDelete
  5. ขอบคุณมากค่ะ

    ReplyDelete