Tuesday, May 18, 2010

หลักภาษาไทย

ชนิดของคำไทย

คำในภาษาไทยจำแนกได้ 7 ชนิดคือ คำนาม คำสรรพนาม คำกริยา คำบุรำบท คำสันธาน และคำอุทาน

คำนาม

คือคำที่ใช้เรียนชื่อคน สัตว์ สิ่งของ และสถานที่ เช่น ครู นักปลา ดินสอโต๊ะ บ้าน โรงเรียน แบ่ง 5 ชนิด ได้แก่
1. สามานยนาม ได้แก่นามที่เป็นชื่อทั่ว ๆ ไป เช่นหนู ไก่ โต๊ะ บ้าน คน
2. วิสามานนาม เป็นชื่อเฉพาะ เช่น นายทอง เจ้าดำ ชื่อวัน ชื่อเดือน ชื่อจังหวัด ชื่อประเทศ ชื่อแม่น้ำ ชื่อเกาะ
3. สุหนาม นามที่เป็นหมู่คณะ เช่น ฝูง โขลง กลอง หรือคำที่มีความหมายไปในทางจำนวนมาก เช่น รัฐบาล องค์กร กรม บริษัท
4. ลักษณนาม เป็นคำนามที่บอกลักษณะของนาม มักใช้หลังคำวิเศษที่บอกจำนวนนับ เช่น ภิกษุ 4 รูป นาฬิกา 4 เรือน
5. อาการนาม คือ นามที่เป็นชื่อกริยาอาการในภาษามักใช้คำว่า “การ” และ “ความ” นำหน้า เช่น การนั่งการกิน ความดี ความจน
คำนามที่อยู่ในประโยคจะทำหน้าที่ได้ทั้งเป็นประธานและกริยาของประโยค เช่น
ประโยค ประธาน กริยา กรรม
ม้าวิ่ง ม้า วิ่ง -
นักเรียนไปโรงเรียน นักเรียน ไป โรงเรียน
แมวจับหนู แมว จับ หนู
ครูทำโทษสมชาย ครู ทำโทษ สมชาย

คำสรรพนาม
คำสรรพนาม คือคำที่ใช้แทนคำนาม เช่น ผม ฉัน หนู เธอ คุณข้าพเจ้า เขา ท่าน มัน เป็นต้น แบ่งเป็น 6 ชนิดได้แก่
1. บุรุษสรรพนาม คือคำนามที่ใช้แทนชื่อ เวลาพูดกัน
บุรุษที่ 1 ใช้แทนผู้พูด เช่นผมฉัน ข้าพเจ้า
บุรุษที่2 ใช้แทนผู้ฟัง เช่นคุณ เธอ
บุรุษที่ 3 ใช้แทนผู้กล่าวถึง เช่นเขา มัน
2. ประพันธสรรพนาม คือคำสรรพนามที่ใช้แทน(เชื่อม)คำนามที่อยู่ข้างหน้า ได้แก่ คำว่า ที่ ซึ่ง อัน เช่น
คนที่ออกกำลังกายเสมอร่างการมักแข็งแรง
อเมริกาซึ่งเป็นเจ้าภาพแข่งขันชกมวยกำลังมีชื่อเสียงทั่วโลก
มีดอันที่อยู่ในครัวคมมาก
3. นิยมสรรพนาม ได้แก่สรรพนามที่กำหนดความให้รู้แน่นอนได้แก่ นี่ นั่น โน่น หรือ นี้ นั้น โน้น เช่น
นี่เป็นเพื่อนของฉัน
นั่นอะไรน่ะ
โน่นของเธอ
ของเธออยู่ที่นี่
4. อนิยมสรรพนาม ได้แก่สรรพนามที่แทนสิ่งที่ไม่ทราบ คือไม่ชี้เฉพาะลงไปและไม่ได้กล่าวในเชิงถาม หรือสงสัย ได้แก่ ใคร อะไร ไหน ใด เช่น
ใครขยันก็สอบไล่ได้
เขาเป็นคนที่ไม่สนใจอะไร
5. ปฤจฉสรรพนาม ได้แก่สรรพนามใช้เป็นคำถาม ได้แก่คำ อะไร ใคร ที่ไหน แห่งใด ฯลฯ เช่น
ใครอยู่ที่นั่น
อะไรเสียหายบ้าง
ไหนละโรงเรียนของเธอ
6. วิภาคสรรพนาม หมายถึงคำสรรพนามที่ใช้แทนคำนามซึ่งแสดงให้เห็นว่านามนั้น จำแนกออกเป็นหลายส่วน ได้แก่ ต่างบ้าง กัน เช่น
นักเรียนต่างก็อ่านหนังสือ
เขาตีกัน
นักเรียนบ้างเรียนบ้างเล่น
คำกริยา
คำกริยา คือ คำแสดงอาการของนาม สรรพนาม แสดงการกระทำของประโยค เช่น เดิน วิ่ง เรียน อ่าน นั่ง เล่น เป็นต้น แบ่งเป็น 4 ชนิด
1. สกรรมกริยา คือคำกริยาที่ต้องมีกรรมรับ เช่น
ฉันกินข้าว
เขาเห็นนก
2. อกรรกริยา คือคำกริยาที่ไม่ต้องมี่กรรมมารับก็ได้ความสมบูรณ์ เช่น
เขานั่ง
เขายืน
3. วิกตรรถกริยา คือ คำกริยาที่ไม่มีความหมายในตัวเอง ใช้ตามลำพังแล้วไม่ได้ความต้องมีคำอื่นมาประกอบจึงจะได้ความ ได้แก่ เหมือน เป็น คล้าย เท่า คือ เช่น
ผมเป็นนักเรียน
คนสองคนนี้เหมือนกัน
ลูกคนนี้คล้ายพ่อ
ส้ม 3 ผลใหญ่เท่ากัน
เขาคือครูของฉันเอง
4. กริยานุเคราะห์ คือคำกริยามี่ไม่มีความหมายในตัวเอง ทำหน้าที่ช่วยกริยาให้มีความหมายชัดเจนขึ้นได้แก่คำ จง กำลัง จะ ย่อม คง ยัง ถูก นะ เถอะ เทอญ ฯลฯ เช่น
แดงจะไปโรงเรียน
เขาถูกตี
รีบไปเถอะ
คำวิเศษณ์
เป็นคำที่ใช้ประกอบคำนาม สรรพนาม กริยา และคำวิเศษณ์ เพื่อให้ข้อความนั้นชัดเจนยิ่งขึ้น เช่น คนอ้วนต้องเดินช้า คนผอมเดินเร็ว ( ประกอบคำนาม " คน " )
เขาทั้งหมด เป็นเครือญาติกัน ( ประกอบคำสรรพนาม " เขา " )
เขาเป็นคนเดินเร็ว ( ประกอบคำกริยา " เดิน "
คำวิเศษณ์ แบ่งออกเป็น 10 ชนิดคือ
1. ลักษณะวิเศษณ์ บอกลักษณะ เช่น สูง ใหญ่ ดำ อ้วน ผอม แคบ หวาน เค็ม กว้าง
2. กาลวิเศษณ์ บอกเวลา เช่น เช้า สาย บ่าย เย็น ดึก เดี๋ยวนี้ โบราณ
3. สถานวิเศษณ์ บอกสถานที่ เช่น ใกล้ ไกล บน ล่าง
4. ประมาณวิเศษณ์ บอกจำนวน เช่น หนึ่ง สอง น้อย มาก ทั้งหมด ทั้งปวง บรรดา
5. นิยมวิเศษณ์ บอกความแน่นอน เช่น นี่ นี้ โน่น นั้น
6. อนิยมวิเศษณ์ บอกความไม่แน่นอน เช่น กี่ อันใด ทำไม อะไร ใคร
- กี่คนก็ได้
- ใครทำก็ได้
- เป็นอะไรก็เป็นกัน
- คนอื่นไม่รู้ไม่เห็น
7. ปฤจฉาวิเศษณ์ บอกความเป็นคำถาม เช่น
- แม่จะไปไหน
- เธออายุเท่าไร
- แกล้งเขาทำไม
- ไยจึงไม่มา
8. ประติชฌาวิเศษณ์ (บอกการตอบรับ) มีคำว่า คะ ครับ จ้ะ จ๋า ขา ฯลฯ
9. ประติเศษวิเศษณ์ แสดงความปฏิเสธ เช่น ไม่ ไม่ใช่ หามิได้ บ่
10. ประพันธวิเศษณ์ แสดงหน้าที่เชื่อมประโยค เช่น ที่ ซึ่ง อัน
- เขาพูดอย่างที่ใคร ๆ ไม่คาดคิด
- เธอเดินไปหยิบหนังสือซึ่งอยู่บนโต๊ะ
- ของมีจำนวนมากอันมิอาจนับได้
หน้าที่ของคำวิเศษณ์
หน้าที่ของคำวิเศษณ์ใช้เป็นส่วนขยายจะขยายนาม สรรพนาม กริยา หรือ คำวิเศษณ์ และยังทำหน้าที่เป็นตัวแสดงในภาคแสดงของประโยคได้แก่
1. ทำหน้าที่ขยายนาม
คนหนุ่มย่อมใจร้อนเป็นธรรมดา
บ้านใหญ่หลังนั้นเป็นของผม
2. ทำหน้าที่ขยายสรรพนาม
ใครบ้างจะไปทำบุญ
ฉันเองเป็นคนเข้ามาในห้องน้ำ
3. ทำหน้าที่ขยายคำกริยา
เขาพูดมาก กินมาก แต่ทำน้อย
เมื่อคืนนี้ฝนตกหนัก
4. ทำหน้าที่ขยายคำวิเศษณ์
ฝนตกหนักมาก
เธอวิ่งเร็วจริงๆ เธอจึงชนะ

คำบุพบท
คำบุพบท คือ คำนำหน้านาม สรรพนาม หรือกริยาที่ทำหน้าที่อย่างนาม เพื่อเชื่อมคำนั้นๆ กับคำข้างหน้า เพื่อบอกว่านาม สรรพนาม หรือ กริยา ที่ทำหน้าที่ อย่างนามนั้นมีหน้าที่อะไร ขนิดของคำบุพบทมีดังนี้คำที่ใช้นำหน้าคำอื่นแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ
1. ไม่เชื่อมกับบทอื่น ได้แก่ คำทักทาย หรือร้องเรียน เช่น ดูกร ข้าแต่ อันว่า แน่ะ เฮ้ย
2. เชื่อมกับบทอื่น ได้แก่ โดย ของ บน
- พวกเราเดินทางโดยรถยนต์
- ขนมเหล่านั้นเป็นของคุณแม่
- นกเกาะอยู่บนต้นไม้
- เขาเดินไปตามถนน
- ฉันเขียนหนังสือด้วยปากกา
- เขามาถึงตั้งแต่เช้า
- ในหลวงทรงเป็นประมุขแห่งชาติ
- เขาบ่นถึงเธอ
- นักโทษถูกส่งไปยังเรือนจไ
- ครูชนบทอยู่ไกลปืนเที่ยง
- นักเรียนอ่านหนังสืออยู่ภายในห้องเรียน
- ข้าวในนา ปลาในน้ำ
- ประชาชนทุกคนอยู่ใต้กฎหมายของบ้านเมือง

การใช้คำ กับ แก่ แด่ ต่อ
กับ ใช้กับการกระทำที่ร่วมกันกระทำ
- เขากับเธอมาถึงโรงเรียนพร้อมกัน
- พ่อกับลูกกำลังอ่านหนังสือ
แก่ ใช้นำหน้าผู้รับที่มีอายุน้อยกว่าผู้ให้ หรือเสมอกัน
- คุณครูมอบรางวัลแก่นักเรียน
- เขามอบของขวัญปีใหม่แก่เพื่อน
แด่ ใช้นำหน้านามที่เป็นผู้รับที่มีอายุมากกว่า หรือกับบุคคลที่เคารพ
- นักเรียนมอบของขวัญแด่อาจารย์ใหญ่
- ฉันถวายอาหารแด่พระสงฆ์
ต่อ ให้ในการติดต่อกับผู้รับต่อหน้า
- จำเลยให้การต่อศาล
- ประธานนักเรียนเสนอโครงการต่ออาจารย์ใหญ่
- หาคนหวังดีต่อชาติ
- ผู้แทนราษฎรแถลงนโยบายต่อประชาชาน
ด้วย ใช้นำหน้าคำเเสดงความเป็นเครื่องใช้ หรือมีส่วนร่วม
- ทำด้วยกระดาษ - ตีด้วยไม้คมเเฝก
- ผสมด้วยเกลือ (ส่วนร่วม) - ผสมด้วยน้ำ (ส่วนร่วม)
โดย ใช้นำหน้าคำในความหมาย ตาม
- กล่าวโดยจริง - ทำโดยวิธีลัด
- บริจาคเงินโดยเสร็จพระราชกุศล

การละบุพบท บุพบทบางคำอาจละได้โดยไม่ทำให้ข้อความ เปลี่ยนเเปลง
- ลูกพ่อค้า (ลูกของพ่อค้า)
- วารีฟ้องครูว่าเพื่อนหนีเรียน (วารีฟ้องต่อครูว่าเพื่อนหนีเรียน)

คำสันธาน

คำสันธาน คือคำเชื่อมคำ หรือประโยคเชื่อมประโยคให้ต่อเนื่องกัน มี 2 ลักษณะ คือ
1. เชื่อมคำกับคำ เช่น พี่กับน้อง เขียนกับอ่าน ลูกและหลาน ผักกาดและหัวหอมเป็นพืชสวนครัว
เธอชอบสีแดงหรือสีส้ม
2. เชื่อมข้อความกับข้อความ การส่งเสียงดังในห้องสมุดเป็นการกระทำที่ไม่ดีรบกวนผู้อื่นเพราะฉะนั้นจึงต้องมีกฎห้ามส่งเสียงดังติดประกาศไว้ คนเราต้องการอาหาร เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรคด้วยเหตุนี้เราจึงจำเป็นต้องประกอบอาชีพเพื่อให้ได้เงินมาซื้อสิ่งจำเป็นเหล่านี้
3. เชื่อมประโยคกับประโยค พี่เป็นคนขยันแต่น้องเกียจคร้านมาก เราหวงแหนแผ่นดินไทยอันเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของเรา
4. เชื่อมความให้สละสลวย คนเราก็ต้องมีผิดพลาดกันบ้างเป็นธรรมดา ฉันก็เป็นคนจริงคนหนึ่งเหมือนกัน

คือ คำที่ใช้เชื่อมข้อความติดต่อเป็นเรื่องเดียวกัน ทำให้ประโยคสละสลวยและมีความหมายชัดเจนขึ้น
หน้าที่ของคำสันธาน มีดังนี้้

๖.๑ สันธานใช้เชื่อมคำ

สุดาชอบวิชาวิทยาศาสตร์กับคณิตศาสตร์

แม่ค้าขายผัก ผลไม้และเนื้อสัตว์

๖.๒ สันธานใช้เชื่อมประโยค

ฉันกินข้าว แต่น้องกินก๋วยเตี๋ยว

เขานอน หรือเขาทำงาน

๖.๓ สันธานใช้เชื่อมความ

เขาอยากจะช่วยเหลือเธอ แต่เธอไม่ขอร้อง ฝ่ายเธอก็อยากให้เขาช่วยแต่ก็เกรง ใจไม่กล้าออกปากบอกเขาเสียที
ชาวต่างชาติเข้ามาอยู่เมืองไทย เขาขยันหมั่นเพียรไม่ยอมให้เวลาผ่านไปโดยเปล่าประโยชน์เขาจึงร่ำ รวย จนเกือบจะซื้อแผ่นดินไทยได้ ทั้งหมดแล้ว เพราะฉะนั้นขอให้พี่น้องชาว ไทยทั้งหลายจงตื่นเถิด จงพากันขยันทำงานทุกชนิดเพื่อจะได้รักษาผืนแผ่นดินของไทยไว้
เชื่อมประโยคกับข้อความ หรือข้อความกับประโยค มี 4 ลักษณะคือ

ก. คล้อยตามกัน เช่น พอล้างมือเสร็จก็ไปรับประทานอาหาร
ข. ขัดแย้งกัน เช่น แม้เขาจะขยั้นแต่ก็เรียนไม่สำเร็จ
ค. เลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เธอจะอ่านหนังสือกรหรือจะเล่น
ง. เป็นเหตุเป็นผลกัน เช่น เพราะรถติดเขาจึงมาสาย

ข้อสังเกต

1.คำสันธานบางคำใช้เข้าคู่กัน เช่น ไม่…ก็ , กว่า…ก็ , เพราะ…จึง , ถึง…ก็ , แม้…ก็ เป็นต้น

2.คำสันธานอาจอยู่ในตำแหน่งต่างๆในประโยคก็ได้ เช่น

อยู่ระหว่างคำ : อีฟชอบสีม่วงและสีขาว
อยู่หลังคำ : คนก็ดี สัตว์ก็ดี รักชีวิตด้วยกันทั้งนั้น
อยู่คร่อมคำ : ถึงเป็นเพื่อนก็อย่าวางใจ
อยู่ระหว่างประโยค : ตูนจะดื่มน้ำส้มหรือดื่มนม
อยู่หลังประโยค : เราจะทำบุญก็ตาม บาปก็ตาม ควรคิดถึงผลกรรม
อยู่คร่อมประโยค : แม้เต้จะกินมากแต่เต้ก็ไม่อ้วน

3.ประโยคที่มีคำสันธานนั้นจะแยกออกเป็นประโยคย่อยได้ตั้งแต่ 2 ประโยคขึ้นไป

4.คำบางคำเป็นได้ทั้งคำสันธานและคำบุพบท เช่น คำว่า “เมื่อ” ให้พิจารณาว่าถ้าสามารถแยกเป็น 2 ประโยคได้ก็เป็นคำสันธาน เช่น “เมื่อ 16 นาฬิกา อาร์ทได้ออกจากโรงเรียนไปแล้ว” ( เป็นคำบุพบท ) “เมื่อเราได้ยินเสียงระฆัง หมวยได้ออกจากโรงเรียนไปแล้ว” ( เป็นคำสันธาน ) เป็นต้น

5. คำว่า “ให้” เมื่อนำมาใช้เชื่อมประโยคก็จัดเป็นคำสันธาน เช่น “เขาทำท่าตลกให้เด็กหยุดร้องไห้” เป็นต้น

6. คำว่า “ว่า” เมื่อนำมาใช้เชื่อมระหว่างประโยคก็จัดเป็นคำสันธาน เช่น “หนังสือพิมพ์ลงข่าวว่ามีการกวาดล้างพวกมิจฉาชีพครั้งใหญ่” เป็นต้น

7. คำประพันธสรรพนามหรือคำสรรพนามเชื่อมประโยค คือ คำว่า “ผู้ ที่ ซึ่ง อัน” จัดเป็นคำสันธานด้วย

สตรีผู้มีความงามย่อมเป็นที่สนใจของคนทั่วไป
คนที่กำลังเล่นกีตาร์นั่นเป็นพี่ชายของวี
ฝ้ายอยู่ในตลาดซึ่งมีคนพลุกพล่าน

คำอุทาน
คำอุทาน คือคำที่เปล่งออกมาบอกอาการ หรือความรู้สึกของผู้พูดแบ่งออกเป็น 2 พวก คือ
1. อุทานบอกอาการ หรือบอกความรู้สึก จะใช้เครื่องหมาย อัศเจรีย์ ( ! )
กำกับข้างหลัง เช่น
อุ๊ย ! พุทโธ่ ! ว๊าย! โอ้โฮ! อนิจจา!
2. อุทานเสริมบท เป็นคำพูดเสริมเพื่อให้เกิดเป็นคำที่สละสลวยขึ้น เช่น
- รถรา
- กระดูกกระเดี้ยว
- วัดวาอาราม
- หนังสือหนังหา
- อาบน้ำอาบท่า
- กับข้าวกับปลา
หน้าที่ของคำอุทาน มีดังนี้คือ


อุทานบอกอาการคือ คำอุทานที่ผู้พูดเปล่งออกมา เพื่อให้รู้จักอาการและความรู้สึกต่างๆ ของผู้พูด เวลาเขียนมักนิยมใช้เครื่องหมาย !(อัศเจรีย์) กำกับไว้หลังคำนั้น เช่น
ตัวอย่าง

๑. แสดงอาการร้องเรียกหรือบอกให้รู้ตัว ได้แก่ แน่ะ!,นี่แน่ะ!,เฮ้!,เฮ้อ!
๒. แสดงอาการโกรธเคือง ได้แก่ เหม่ !,อุเหม่!,ฮึ่ม!,ชิชะ!,ดูดู๋!
๓.แสดงอาการตกใจ ได้แก่ ว้าย!,ตาย !,ช่วยด้วย !,คุณพระช่วย!
๔.แสดงอาการประหลาดใจ ได้แก่ ฮ้า !,แหม!,โอ้โฮ!,แม่เจ้าโว้ย!
๕.แสดงอาการสงสารหรือปลอบโยน ได้แก่ โถ!,โธ่!,อนิจจัง!,พุทโธ่!
๖.แสดงอาการเข้าใจหรือรับรู้ เช่น อือ!,อ้อ!,เออ!,เออน่ะ!
๗.แสดงอาการเจ็บปวด เช่น อุ๊ย!,โอย!,โอ๊ย!
๘.แสดงอาการดีใจ เช่น ไชโย!


คำอุทานเสริมบท

ตัวอย่าง

แบ่งเป็น ๒ ประเภท คือ

๑.คำที่กล่าวเสริมขึ้นเพื่อให้คล้องจอง หรือมีความหมายในการพูดดีขึ้น เช่น หนังสือ,หนังหา,ส้มสุกลูกไม้,กางกุ้งกางเกง ฯลฯ

๒.คำที่แทรกลงในระหว่างคำประพันธ์ เพื่อให้เกิดความสละสลวยและให้มีคำครบถ้วนตามต้องการในคำประพันธ์นั้นๆ คำอุทานชนิดนี้ใช้ เฉพาะในคำประพันธ์ ไม่นำมาใช้ในการพูดสนทนา เช่น อ้า ,โอ้ ,โอ้ว่า,แล,นา ,ฤา , แฮ, เอย ,เฮย ฯลฯ



หน้าที่ของคำอุทาน มีดังนี้คือ

๑. ทำหน้าที่แสดงความรู้สึกของผู้พูด

ตัวอย่าง


ตายจริง! ฉันลืมเอากระเป๋าสตางค์มา


โธ่! เธอคงจะหนาวมากละซิ


เอ๊ะ! ใครกันที่นำดอกไม้มาวางไว้ที่โต๊ะของฉัน

๒. ทำหน้าที่เพิ่มน้ำหนักของคำ ซึ่งได้แก่คำอุทานเสริมบท

ตัวอย่าง
ทำเสร็จเสียทีจะได้หมดเรื่องหมดราวกันไป

เมื่อไรเธอจะหางหา งานทำเสียที

เธอเห็นฉันเป็นหัวหลักหัวตอหรืออย่างไร

๓. ทำหน้าที่ประกอบข้อความในคำประพันธ์ตัวอย่าง
แมวเอ๋ยแมว เหมียว


มดเอ๋ยมด แดง
กอ เอ๋ย กอไก่

แบบฝึกหัดท้ายบทเรียน

แบบฝึกหัดที่ 1
คำชี้แจงให้ขีดเส้นใต้ คำนาม แล้วนำไปเขียนลงในช่องว่างให้ถูกต้อง
1. หาญเรียนหนังสือ
2. หมากัดแมวลุงขายอาหาร
3. รถจักรยนต์ชนกำแพง
4. วิชัยอ่านบทดอกสร้อย
5. ผีเสื้อตอมดอกไม้
6. นายพรานยิ่งวัวกระทิง
7. ตำรวจต่อสู้กับโจร
8. ครูสอนนักเรียน
คำนามทำหน้าที่ประธาน คำนามทำหน้าที่กรรม
1 .........................................................................................................................................
2 .........................................................................................................................................
3..........................................................................................................................................
4..........................................................................................................................................
5..........................................................................................................................................
6..........................................................................................................................................
7........................................................................................................................................
8 ........................................................................................................................................

แบบฝึกหัดที่ 2

คำชี้แจง ให้เต็มคำสรรพนามที่กำหนดให้ลงในช่องว่างให้ได้ใจความถูกต้อง
1. แดงเป็นนักเรียน……….จึงต้องเรียน
2. เธอจะอยู่กับแม่หรือ…………….จะอยู่กับยาย
3. แม่ของ…………….ทำงานอะไรคุณจึงต้องไปรับทุกวัน
4. แมวของฉันน่ารักมาก……………..ชอบจับหนู
5. คุณครูครับ………ขออนุญาตเข้าห้องเรียน
6. ผมพร้อมแล้ว………….ไปโรงเรียนกันเถอะ
7. หนังสือของเขาหาย เขาจึงต้องซื้อ……….ใหม่
8. สุชาติเล่นฟุตบอลตากแดด ………….เลยป่วยมาโรงเรียนไม่ได้

แบบฝึกหัดที่ 3
คำชี้แจง ให้เติมคำกริยาลงในช่องว่าง ให้ประโยคได้ใจความสมบูรณ์ถูกต้อง
1. นักเรียน…………….หนังสือ
2. นกน้อย………อยู่บนท้องฟ้าไปในที่ต่าง ๆ
3. ม้าแข่ง………..เร็วมากจนได้อันดับที่ หนึ่ง
4. ไก่…………….ในตอนเช้า ปลุกให้เราตื่น
5. หมา……………ไก่ในเล้าจนตาย
6. ผีเสื้อ………..น้ำหวานดอกไม้
7. ผึ้ง……….เจ็บปวดมาก
8. เขาเดินข้ามถนนตรงทางม้าลายรถไม่………
9. สำราญ………ขี่จักรยานไปโรงเรียน
10. เขา…………ชุดนักเรียนจนสะอาด
11. ครู………….นักเรียนให้อ่านได้
12. ฝน…………หนักมากจนน้ำท่วมไร่นา
13. ลม……….แรงจนต้นไม้หัก
14. ตำรวจ………….คนร้ายจนตาย

แบบฝึกหัดที่4
ให้เลือกคำวิเศษณ์ที่กำหนดให้เติมลงในช่องว่างให้ถูกต้อง
นั้น บน ใคร ทั้งหมด ที่ เช้า ครับ อ้วน เท่าไร ไม่ใช่
1. หมูกินอาหารมากจึง…………
2. ในตอน…………..เราต้องรีบตื่นนอนไปโรงเรียน
3. อยู่……….โต๊ะมีหนังสือวางอยู่หลายเล่ม
4. เสื้อผ้า………..ที่จะใช้อยู่ในกระเป๋าแล้ว
5. เรือลำ………..วิ่งเร็วมาก
6. เลขง่ายอย่างนี้…….ก็ทำได้
7. แม่อายุ…………….
8. ………..แม่ ผมจะไปเดี๋ยวนี้
9. เขา…………คนขโมยดินสอของเพื่อน
10. เขาพูดอย่าง……….ใคร ๆ ไม่คาดคิด

แบบฝึกหัดที่5
ให้เลือกคำ กับ แก่ แก่ ต่อ เติมลงในช่องว่างให้ได้ใจความถูกต้อง
1. ฉัน………เธอไปซื้อหนังสือด้วย
2. เขาสารภาพ…………..หน้าครูว่าเขาทำผิดจริง
3. แม่ให้ขนม…………..ลูก ๆ ในวันเกิด
4. เขาส่งบัตร ส.ค.ส ให้………เพื่อนในวันปีใหม่
5. แม่ถวายเครื่องไทยทาน………..พระสงฆ์
6. พี่………..น้องช่วยกันทำอาหารเช้า
7. ลูกเสือปฏิญาณตน………..หน้าผู้กำกับหมู่ลูกเสือ
8. ครูแจกเสื้อผ้าให้ …………นักเรียนขาดแคลน
9. เด็กต้องแสดงความเคารพ……………ผู้ใหญ่
10. นักเรียนมอบของขวัญ……….ครูใหญ่

แบบฝึกหัดที่ 6

ให้เลือกคำสันธานที่กำหนดให้เติมลงในช่องว่างให้ประโยคมีใจความสมบูรณ์ถูกต้อง
ก็ หรือ แต่ก็ เพราะ และ แต่
1. พอเขากับถึงบ้าง………..รีบอาบน้ำกินข้าว
2. เธอจะเอาสมุด…………ดินสอเลือกเอาเอง
3. แม้พ่อแม่จะขยันทำงาน…….ไม่ร่ำรวย
4. เขาสอบได้คะแนนดี………เขาตั้งใจเรียน
5. สุดา………มานีทำการบ้านด้วยกัน
6. เพื่อน ๆ ไม่ชอบเขา……….เขาชอบเอาเปรียบผู้อื่น
7. คุณแม่ทำอาหาร………..คุณพ่อไปวิ่งออกกำลัง
8. เธอจะไปห้องสมุดอ่านหนังสือกับฉัน………..ไม่
9. กว่าแพทย์จะมาคนป่วย……….สลบไปเสียแล้ว
10. นกน้อยทำรัง……….พอตัว

แบบฝึกหัดที่ 7
ให้เขียนเครื่องหมาย ทับตัวอักษรหน้าข้อของคำตอบที่ถูกต้อง
1. คำนาม หมายถึงข้อใด
ก. คำเรียกชื่อทั่วไป
ข. คำเรียกชื่อเฉพาะ
ค. คำเรียกสิ่งที่มีตัวตน
ง. คำเรียกชื่อ คน สัตว์ สิ่งของ สถานที่
2. คำเรียกชื่อเฉพาะเจาะจง ตรงกับข้อใด
ก. สมุหนาม ข. อาการนาม
ค. สามานยนาม ง. วิสามานยนาม
3. คำนามใช้เป็นสวนใดของประโยค
ก. ประธาน ข. กรรม
ค. บทเชื่อม บทขยาย ง. ประธาน กรรม
4. “สาธิตและดวงแก้ว ไปซื้อกับข้าวที่ตลาดลางลำพู”มีวิสามานยนามกี่คำ
ก. 2 คำ ข. 3 คำ
ค. 4 คำ ง. 5 คำ
5. สรรพนาม คืออะไร
ก. คำเรียกชื่อ ข. คำบอกชื่อ
ค. คำแทนชื่อ ง. คำและชื่อ
6. ข้อใดเป็นสรรพนามบุรุษที่ 1
ก. เขา
ข. ท่าน
ค. ฉัน
ง. เธอ
7. ข้อใดเป็นอกรรมกริยา
ก. ตัด
ข. ยืน
ค. ยิง
ง. จับ
8. ข้อใดเป็นสกรรมกริยา
ก. นอน
ข. ขาย
ค. ร้องไห้
ง. วิ่ง
9. ข้อใดมีคำสันธาน
ก. ฝนตกแต่แดดออก
ข. ของหายเมื่อวันวาน
ค. ของหายตะพายบาป
ง. เธอซื้อเสื้อจากที่ไหน
10. ชาวนาดำนา คำว่า ดำ เป็นคำชนิดใด
ก. อกรรมกริยา
ข. สกรรมกริยา
ค. สามานยนาม
ง. วิสามานยนาม
11. ผู้ชายชอบผู้หญิงสวย สวยเป็นคำชนิดใด
ก. อกรรมกริยา
ข. สกรรมกริยา
ค. สันธาน
ง. วิเศษณ์
12. สันธาน คืออะไร
ก. คำขยาย
ข. คำเชื่อม
ค. คำบอกอาการ
ง. คำแทนผู้พูด ผู้ฟัง
13. ข้อใดเป็นคำวิเศษณ์บอกสถานที่
ก. สำหรับ
ข. อ้วน
ค. ต่าง
ง. ชิด
14. คำใดใช้ลักษณะนามเหมือนกัน
ก. ธนู รถยนต์
ข. บ้าน ปากกา
ค. แคน แห
ง. นาฬิกา หนังสือ
15. “แห…..นี้ชำรุดมากแล้ว”ลักษณนามข้อใดถูกต้อง
ก. ซี่
ข. หลัง
ค. ปาก
ง. ปื้น
16. ข้อใดเป็นอุทานแสดงความสงสัย
ก. อ้อ! รู้แล้ว
ข. โอ๊ย! เจ็บจริง
ค. โอ้โฮ! สวยจัง
ง. เอ๊ะ! ทำไมไม่เห็น
17. “นิดไปตลาดซื้อตำลึงให้คุณแม่สัก 3 …….. นะจ๊ะ”
ก. ต้น
ข. กอ
ค. กำ
ง. ใบ
18. “บุหรี่ 1 ….มี 20….ต้องใช้ลักษณนามตามข้อใด
ก. กล่อง หีบ
ข. ซอง มวน
ค. ซอง จีบ
ง. หีบ มวน
19. ข้อใดใช้บุพบทผิด
ก. ปลาในน้ำ
ข. เขาเห็นด้วยตา
ค. ไปกับเพื่อน
ง. ถวายอาหารแด่พระสงฆ์
20. คำกริยาในข้อใดเป็นอกรรมกริยา
ก. น้องดื่มนมทุกวัน
ข. พี่กวาดบ้านจนสะอาด
ค. คุณแม่เดินเล่นกลางสนาม
ง. น้ากวาดบ้านจนสะอาด


แบบฝึกหัดที่ 8
1. เด็ก, ช้าง, เป็นคำชนิดใด ?
คำสรรพนาม
คำนาม
คำบุพบท
คำวิเศษณ์
2. คำนามแบ่งเป็นกี่จำพวก ?
๒ จำพวก
๓ จำพวก
๔ จำพวก
๕ จำพวก 3. คำกริยาแบ่งเป็นกี่จำพวก ?
๕ จำพวก
๒ จำพวก
๔ จำพวก
๑ จำพวก 4. หล่อน เป็นคำชนิดใด ?
คำ สรรพนาม
คำ สันธาน
คำ อุทาน
คำ บุพบท
5. เมื่อ ตั้งแต่ กระทั้ง จน เป็นคำชนิดใด ?
คำนาม
คำอุทาน
คำสรรพนาม
คำบุพบท
6. คำนามใช้บอกลักษณะของนามหรือกริยา คือคำนามชนิดใด ?
บุพบท
อกรรมกริยา
ลักษณะนาม
วิเศษณ์
7. คำที่ใช้เรียกชื่อสิ่งต่างๆ คือคำชนิดใด ?
คำนาม
คำอุทาน
คำสรรพนาม
คำกริยา
8. คำที่ใช้แทนคำนาม คือคำชนิดใด ?
คำนาม
คำสรรพนาม
คำอุทาน
คำบุพบท
9. คำกริยาที่ต้องมีกรรมมารับจึงจะได้ใจความสมบูรณ์ คือคำกริยาชนิดใด ?
อกรรมกริยา
คำนาม
บุพบท
คำวิเศษณ์
10. คำที่แสดงอาการของนามหรือสรรพนามคือคำชนิดใด ?
คำบุพบท
คำอุทาน
คำนาม
คำกริยา

ช้ินงานประจำบทเรียน
ให้นักเรียนหา คำไทยทั้ง ๗ ชนิด จากเอกสาร สื่งพิมพ์ วารสาร แผ่นพับ ต่างๆ
โดยให้มีคำทั้งหมด ชนิดละไม่ตำกว่า ๓ คำ ให้ทำลง กระดาษเอ ๔ อย่าลืมบอกแหล่งที่มา
ของเอกสารที่นำมาใช้ ด้วย เช่น ว่าเป็นหนังสืออะไร ใครเขียน เมื่อไร


เฉลยแบบฝึกหัด
1. ง 2. ง 3. ง 4. ข 5. ค 6. ค 7. ข 8. ข 9. ก 10. ข 11. ง 12. ข 13. ง
14. ก 15. ค 16. ง 17. ค 18. ข 19. ข 20. ค

No comments:

Post a Comment