Sunday, January 15, 2012

การเขียนบทความ


การเขียนบทความ
 ครูขอให้รายละเอียด ของการเขียนบทความ ที่เราได้ทำไป ในเรื่องของการเขียนเกี่ยวกับวันปิดเทอมของเรา
เพื่อให้นักเรียนได้เห็น ถึงความแตกต่าง ระหว่างบทความ และเรียงความ ซึ่งอาจารย์ได้นำเนื้อหามาจากเว็บไซด์
http://www.trueplookpanya.com/true/knowledge_detail.php?mul_content_id=16808
คิดว่านี้จะให้รายละเอียด แก่นักเรียนได้มากขึ้น
บทความ คือข้อเขียนซึ่งอาจจะเขียนเป็นรายงานหรือการแสดงความคิดเห็น มีลักษณะพิเศษต่างจากความเรียงความธรรมดา

เป็นความเรียงที่เขียนขึ้นจากพื้นฐานข้อเท็จจริง โดยใช้หลักฐานการอ้างอิงประกอบในลักษณะวิเคราะห์ปัญหาขัดแย้งต่างๆ หรือในการเสนอความเห็นทัศนคติของผู้เขียนต่อเรื่องที่กำลังเกิดขึ้นหริอเหตุการณ์ที่กำลังอยู่ในความสนใจของสังคม นิยมใช้ภาษาที่กระชับเป็นทางการเรียบง่าย ชัดเจน มีข้อเสนอแนะเชิงวิจารณ์ หรือเชิงสร้างสรรค์



จุดมุ่งหมายในการเขียนบทความ

1.เพื่ออธิบายหรือให้ความรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง

2.เพื่อพรรณนาทำให้ผู้อ่านนึกถึงภาพของสิ่งของ สถานที่หรือความเป็นอยู่

3.เพื่อเทศนา ชักชวน ให้ผู้อ่า่นคล้อยตามความคิดของผู้เขียน

4.เพื่ออธืบายในข้อปัญหาต่างๆ และชักนำให้ผู้อ่านเห็นด้วยและปฏิบัติตาม



ประเภทของบทความ


ประเภทของบทความแบ่งตามลักษณะของเนื้อหาได้ดังนี้

1.ประเภทปัญหาโตแย้ง

2.ประเภทเสนอคำแนะนำ

3.ประเภทท่องเที่ยวเดินทาง

4.ประเภทกึ่งชีวประวัติ หรือสารคดีความรู้ทั่วไป

5.ประเภทเปรียบเทียบ สมมุติ หรืออุปมาอุปไมย



ลักษณะของบทความที่ดี

1.น่าสนใจ มีเนื้อหาเหตุการณ์ใหม่กำลังเป็นที่น่าสนใจของคนทั่วไป

2.มีสาระแก่นสาร มีหลักฐานอ้างอิง พิสูจน์ได้

3.มีขนาดกะทะรัด สั้นกระชับ ใช้ภาษาง่ายๆ ถูกต้องตามหลักภาษา

4.ผู้เขียนเข้าใจปัญหาที่มาของเรื่องอย่างละเอียดชัดเจนโดยตลอด

5.มีวิธีการเขียนน่าสนใจ น่าติดตาม ไม่หนักเชิงวิชาการหรือเบาจนไร้สาระจนเกินไป




ขั้นตอนการเขียนบทความ มีดังนี้

1.การเลือกเรื่อง เรื่องที่นำมาเขียนต้องอยู่ในความสนใจและความต้องการของผู้อ่าน เป็นเรื่องที่ผู้เขียนรู้จริง หรือมีประสบการณ์อย่างถ่องแท้

2.การวางแผนก่อนการเขียน เป็นขั้นตอนของการวิเคราะห์กลุ่มเป้าหมายว่าผู้อ่านเป็นใครโดยจะต้องคำนึงถึงสิ่งต่อไปนี้ คือ

2.1 กลุ่มผู้อ่าน ผู้เขียนต้องคำนึงถึงอายุ เพศ รายได้ อาชีย ความรู้ ในเรื่องความรู้ต้องคิดด้วยว่าผู้อ่านรู้อะไร รู้เรื่องนั้นๆ ดีพอเพียงใดที่ผู้อ่านต่องการรู้ และผู้อ่านจะได้รับข่าวสารที่ผู้เขียนเขียนได้อย่างไร เพราะ ความสำเร็จของการเขียนขึ้นอยู่กับผู้อ่านยอมรับข้อเขียนของผู้เขียน

2.2 กำหนดวัตถุประสงค์ ในข้อนี้ผู้เขียนต้องคำนึงว่าจะเขียนบทความนี้ไปทำไม เช่น เพื่อให้ข่าวสาร สร้างความคิดที่ดี หรือเพื่อโน้มน้าวใจ โดยวัตถุประสงค์ในการเขียนเพื่อการโน้มน้าวใจต้องให้ผู้อ่านเกิดความต้องการหรือตระหนักในปัญหาก่อน จากนั้นค่อยเสนอทางออก พร้อมกับยกตัวอย่างและหลักฐานที่ผู้อ่านสามารถเห็นภาพพจน์แล้วสรุปอีกครั้งในจุดที่ผู้เขียนต้องการ 2.3 การรวบรวมเนื้อหา การเขียนบทความไม่ว่าจะประเภทใดก็ตาม สิ่งสำคัญที่ผู้เขียนต้อคำนึงคือหลักฐาน ข้อเท็จจริง ดังนั้นก่อนที่จะลงมือเขียนจำเป็นจะต้องสืบเสาะหาเรื่องราวให้มีความรู้เพียงพอ โดยวิธีการรวบรวมเนื้อหาสามารถทำได้ดังนี้

2.3.1 การค้นคว้าข้อมุลด้านวิทยาการจากหนังสือและเอกสารต่างๆ เช่น จากห้องสมุด หน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน จากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร หรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ

2.3.2 การสัมภาษณ์บุคคลที่ต้องการจะเขียนถึง หรือจากบุคคลที่มีความรู้ ความสามารถ ความเชี่ยวชาญในเรื่องที่ต้องการเขียน

2.3.3 การสนทนาหรือพูดคุยกับบุคคลทั่ใไป เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็นซึ่งกันและกัน

2.3.4 การเดินทางท่องเที่ยวตามสถานที่ต่างๆ แล้วจดบันทึกสิ่งที่ได้พบได้เห็น ซึ่งจะเป็นการสร้างสีสันให้งานเขียนมีความน่าสนใจยิ่งขึ้น

2.3.5 การสืบเสาะเรื่องราวต่างๆ ว่าเกิดขึ้นกับใคร ที่ไหน อย่างไร แล้วจึงติดตามไปยังแหล่งที่เกิดเหตุ ติดตามดูสถานที่ การกระทำ เหตุการณ์

3.การจัดเนื้อหา ได้แก่ การวางโครงเรื่องของบทความ ซึ่งเป็นการจัดลำดับเนื้อหา คาวมคิด ของเรื่องราวนั้นๆ เป็นต้น จะลำดับ



No comments:

Post a Comment

Note: Only a member of this blog may post a comment.