เนื้อเรื่องย่อ นักสืบทองอิน
นายทองอิน
รัตนะเนตร์ นักสืบที่คอยช่วยตำรวจไขคดีที่ไม่สามารถคลี่คลายได้ ด้วยคุณสมบัติช่างตริตรอง
สุขุมมีความสามารถ ในการปลอมตัว อย่าง ยอดเยี่ยม ของนายทองอิน
และด้วยความช่วยเหลือของนายวัดเพื่อนสนิท จึงทำให้ นายทองอิน สามารถไขคดีได้ทุกคดี
นายทองอิน เป็นนักสืบสายเลือดไทย คนแรกที่ พระบาทสมเด็จ พระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างขึ้น
และ นิทานทองอิน ยังเป็นพระราชนิพนธ์ แนวสืบสวน สอบสวน เล่มแรกของพระองค์ และ ถือว่าเป็น
วรรณคดีเล่มแรกในวง วรรณกรรมไทย อีกด้วยเช่นกัน
วรรณคดีและวรรณกรรม
ความแตกต่างของวรรณคดี
และ วรรณกรรม
วรรณคดี หมายถึง
วรรณกรรมหรืองานเขียนที่ยกย่องกันว่าดี มีสาระ และ
มีคุณค่าทางวรรณศิลป์การใช้คำว่าวรรณคดีเพื่อประเมินค่าของวรรณกรรมเกิดขึ้น
ในพระราชกฤษฎีกาตั้งวรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่๖
วรรณคดีเป็นวรรณกรรม ที่ถูกยกย่องว่าเขียนดี
มีคุณค่าสามารถทำให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์สะเทือนใจ มีความคิดเป็นแบบแผน
ใช้ภาษาที่ไพเราะเหมาะแก่การให้ประชาชนได้รับรู้ เพราะ สามารถ
ยกระดับจิตใจให้สูงขึ้นรู้ว่าอะไรควรหรือไม่ควร
วรรณคดีแบ่งออกเป็น ๒ ประเภท
๑. วรรณคดีมุขปาฐะ คือ
วรรณคดีแบบที่เล่ากันมาปากต่อปาก ไม่ได้บันทึกไว้ เป็นลายลักษณ์ อักษร เช่น
เพลงพื้นบ้าน นิทานชาวบ้าน บทร้องเล่น
๒. วรรณคดีราชสำนัก หรือ วรรรณคดีลายลักษณ์ เช่นไตรภูมิพระร่วง พระอภัยมณี อิเหนา
ลิลิตตะเลงพ่าย
ตัวอย่างวรรณคดี
๑.อิเหนา
เป็นวรรณคดีที่นำไปใช้แสดงละครหรือการแสดงทางนาฏศิลป์ สะท้อนให้เห็นถึงความเป็นอยู่ของความเป็นอยู่สมัยก่อน
และความรัก
๒.รามเกียรติ์
เป็นวรรณคดีที่นำไปใช้แสดงละครหรือการแสดงทางนาฏศิลป์ สะท้อนให้เห็นถึงความแตกต่างของฝั่งยักษ์
มนุษย์ และเทวดา
๓.สังข์ทอง
เป็นวรรณคดีที่นำไปใช้แสดงละครหรือการแสดงทางนาฏศิลป์ สะท้อนให้เห็นถึงการเลือกคู่
และอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์
๔.ไกรทอง
เป็นวรรณคดีที่นำไปใช้แสดงละครหรือการแสดงทางนาฏศิลป์ สะท้อนให้เห็นถึงความรักและการฝึกฝนในการล่าจระเข้
๕.พระอภัยมณี
เป็นวรรณคดีที่นำไปใช้แสดงละครหรือการแสดงทางนาฏศิลป์ สะท้อนให้เห็นถึงความรักที่ต่างกันระหว่างยักษ์และมนุษย์
และความเป็นอยู่ในวัง
วรรณกรรม หมายถึง
วรรณคดีหรือศิลปะที่เป็นผลงานอันเกิดจากการคิด และจินตนาการ
แล้วเรียบเรียงนำมาบอกเล่า บันทึกขับร้อง หรือสื่อออกมาด้วยกลวิธีต่างๆ โดยทั่วไปแล้ว จะแบ่งวรรณกรรมเป็น ๒
ประเภทคือ วรรณกรรมลายลักษณ์ คือ วรรณกรรมที่บันทึกเป็นตัวหนังสือ และ วรรณกรรมมุขปาฐะ
อันได้ แก่ วรรณกรรมที่ เล่าด้วยิปาก
ไม่ได้จดบันทึก ด้วยเหตุนี้
วรรณกรรมจึงมีความหมายครอบคลุมกว้างถึงประวัติ นิทาน ตำนาน เรื่องเล่า ขำขัน
เรื่องสั้น นวนิยาย บทเพลง คำคมเป็นต้น
วรรณกรรมไทย แบ่งออกได้ ๒ ชนิดคือ
๑. ร้อยแก้ว
เป็นข้อความเรียงที่แสดงเนื้อหาเรื่องราวต่าง ๆ
๒. ร้อยกรอง
เป็นข้อความที่มีการใช้คำที่สัมผัสคล้องจอง ทำให้สัมผัสได้ถึงความงามของภาษาไทย
ร้อยกรองมีหลายแบบ คือ โคลง ฉันท์กาพย์ กลอน และร่าย เรื่อง ชมรมคนรักวรรณคดี
ตัวละครที่ชอบในเรื่อง
ชมรมคนรักวรรณคดี
1.
ชาลี
มีลักษณะ นิสัยดี สนใจในการเรียน เมื่อว่างเขาจะไปห้องสมุดที่โรงเรียน
2. มะปราง
มีลักษณะ นิสัยดี ยิ้มแย้มแจ่มใส ชอบดูฝูงปลาฮุบเหยื่อ สนใจในวรรณคดีไทย
3. ผมแกละ มีลักษณะ นิสัยดี ชอบช่วยเหลือผู้อื่น มีความรู้เกี่ยวกับวรรณคดีมาก
No comments:
Post a Comment
Note: Only a member of this blog may post a comment.