Tuesday, September 11, 2012

คำบุพบท


คำบุพบท และความเข้าใจ

ความหมายของคำบุพบท

คำบุพบท หมายถึง คำที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำหรือประโยค เพื่อให้ทราบว่าคำหรือกลุ่มคำที่ตามหลังคำบุพบทนั้นเกี่ยวข้องกับกลุ่มคำข้างหน้าในประโยคในลักษณะใด เช่น กับ แก่ แต่ ต่อ ด้วย โดย ตาม ข้าง ถึง จาก ใน บน ใต้ สิ้น สำหรับ นอก เพื่อ ของ เกือบ ตั้งแต่ แห่ง ที่ เป็นต้น เช่น

เขามาแต่เช้า       บ้านของคุณน่าอยู่จริง
คุณครูให้รางวัลแก่ฉัน     เขาให้รางวัลเฉพาะคนที่สอบได้ที่หนึ่ง

ชนิดของคำของคำบุพบท
คำบุพบทแบ่งออกเป็น ๒ ชนิด

๑. คำบุพบทที่แสดงความสัมพันธ์ระหว่างคำต่อคำ คือ ความสัมพันธ์ระหว่างคำนามกับคำนาม คำสรรพนามกับคำนาม คำนามกับคำกริยา คำสรรพนามกับคำสรรพนาม คำสรรพนามกับคำกริยา คำกริยากับคำนาม คำกริยากับคำสรรพนาม คำกริยากับคำกริยา เพื่อบอกสถานการให้ชัดเจน เช่น

๑.๑ บอกสถานภาพความเป็นเจ้าของ เช่น

- พ่อซื้อสวนของนายทองคำ (นามกับนาม)

๑.๒ บอกความเกี่ยวข้อง เช่น

- เขาเห็นแก่กิน (กริยากับกริยา)

๑.๓ บอกการให้และบอกความประสงค์ เช่น

- คุณครูให้รางวัลแก่ฉัน (นามกับสรรพนาม)

๑.๔ บอกเวลา เช่น

- เขามาตั้งแต่เช้า (กริยากับนาม)

๑.๕ บอกสถานที่ เช่น

- เขามาจากต่างจังหวัด (กริยากับนาม)

๑.๖ บอกความเปรียบเทียบ เช่น

- พี่หนักกว่าฉัน (กริยากับสรรพนาม)


๒. คำบุพบทที่ไม่มีความสัมพันธ์กับคำอื่น ส่วนมากจะอยู่ต้นประโยค ใช้เป็นการทักทาย มักใช้ในคำประพันธ์ เช่นคำว่า ดูก่อน ข้าแต่ ดูกร คำเหล่านี้ใช้นำหน้าคำสรรพนามหรือคำนาม เช่น

- ดูก่อน ภิกษุทั้งหลาย       - ข้าแต่ท่านทั้งหลายโปรดฟังข้าพเจ้า

หน้าที่ของคำบุพบท มีดังนี้คือ
๑. ทำหน้าที่นำหน้านาม เช่น

- หนังสือของพ่อหาย - เขาไปกับเพื่อน

๒. ทำหน้าที่นำหน้าสรรพนาม เช่น

- ปากกาของฉันอยู่ที่เขา - ฉันชอบอยู่ใกล้เธอ
๓. ทำหน้าที่นำหน้ากริยา เช่น

- เขากินเพื่ออยู่ - เขาทำงานกระทั่งตาย
๔. ทำหน้าที่นำหน้าประโยค เช่น

- เขามาตั้งแต่ฉันตื่นนอน - เขาพูดเสียงดังกับคนไข้
๕. ทำหน้าที่นำหน้าคำวิเศษณ์ เช่น
- เขาต้องมาหาฉันโดยเร็ว - เขาเลวสิ้นดี

















No comments:

Post a Comment

Note: Only a member of this blog may post a comment.