เฉลย และ ขยายความเข้าใจนักเรียน ในเรื่องของโวหาร และสำนวน เพื่อการสอบในครั้งต่อไปข้อสอบภาษาไทย (ชุดที่ ๑ ) ระดับประถมศึกษาปีที่ 6
1. สำนวนหมายถึงข้อใด
ก. เป็นถ้อยคำเรียบเรียงใช้พูดหรือเขียน
ข. เป็นกลุ่มคำหรือวลี
ค. เป็นประโยคบอกเล่า
ง. เป็นคำกล่าวสุนทรพจน
2. ข้อใดคือความหมายของสำนวนโวหาร
2. ข้อใดคือความหมายของสำนวนโวหาร
ก. ประโยคบอกเล่า
ข. ความเรียง
ค. บทความ
ง. ถ้อยคำที่มีความไพเราะ สละสลวย
3. ข้อใดเป็นสำนวนโวหาร
ก. ดาราชอบร้องเพลง
ข. น้ำพักน้ำแรง
ค. ฝนเดือนหก
ง. นกเอี้ยงเลี้ยงควาย
4. ข้อใดต่างจากพวก
ก. ยิ้มแย้มแจ่มใส
ข. กระเง้ากระงอด
ค. กบกินแมลง
ง. เข้าอกเข้าใจ
5. สำนวนเปรียบเทียบหมายถึงข้อใด
ก. พูดให้ผู้ฟังเข้าใจและเห็นภาพชัดเจน
ข. พูดให้ผู้ฟังคล้อยตาม
ค. พูดเพื่อให้ผู้ฟังหลงเชื่อ
ง. พูดเพื่อปลุกระดมผู้ฟัง
6. คำในข้อใดเป็นสำนวนเปรียบเทียบ
ก. หมาไล่ไก่
ข. ลิงกินกล้วย
ค. ใจดำเหมือนอีกา
ง. กระตุกหนวดเสือ
7. คำในข้อใด ไม่ใช่ สำนวนเปรียบเทียบ
ก. เบาเหมือนนุ่น
ข. เค็มเหมือนเกลือ
ค. ดุเหมือนหมา
ง. ลูกแมงมีตาโต
8. ถ้อยคำที่กล่าวสืบต่อกันมามีความหมายเป็นคติสอนใจ หมายถึงข้อใด
ก. สำนวนโวหาร
ข. สุภาษิต
ค. กาพย์
ง. กลอนสุภาพ
9. ถ้อยคำที่กล่าวกสืบต่อกันมาเพื่อให้ตีความเข้ากับเรื่องได้ หมายถึงข้อใด
ก. สุภาษิต
ข. สำนวนโวหาร
ค. สำนวนเปรียบเทียบ
ง. คำพังเพย
10. คำในข้อใดหมายถึง " สุภาษิต "
ก. น้ำท่วมปาก
ข. คดเคี้ยวเหมือนเขาวงกต
ค. เด็กเลี้ยงแกะ
ง. คนรักเท่าผืนหนัง คนชังเท่าผืนเสื่อ
11. "กำลังของเราน้อย จะไปสู้เขาไหวหรือ มันเข้าทำนอง..... นะเพื่อน"
ก. เกลือจิ้มเกลือ
ข. เอาทองรู่กระเบื้อง
ค. หิ่งห้อยแข่งแสงจันทร์
ง. ไม้ซีกงัดไม้ซุง
12. ข้อใดใช้สำนวนไม่ถูกต้อง
ก. เขาต้องเสียเงินไปทีละเล็กทีละน้อย เบี้ยบ้ายรายทางไปเรื่อยๆ
ข. เขาชอบคุยคนโน้นคนนี้เป็นการเสี้ยมเขาควายให้ชนกันแท้ๆ
ค. ถามอะไรก็ไม่ตอบ กลัวดอกพิกุลจะร่วงหรืออย่างไร
ง. เขาเป็นคนตระหนี่ถี่เหนียว เก็บเบี้ยใต้ถุนร้านอยู่เสมอ
13. สำนวนใดเหมาะสมที่สุดสำหรับเติมในช่องว่าง
"เขาเป็นคนฉลาด บอกเขาสั้นๆเขาก็ทำตามได้ไม่ต้อง..... "
ก. แจงสี่เบี้ย ข. จ้ำจี้จ้ำไช
ค. ปากเปียกปากแฉะ ง. ชักแม่น้ำทั้งห้า
14. ข้อความต่อไปนี้ตรงกับสำนวนไทยข้อใด
"ทั้งสองประเภทต่างประสบปัญหาเรื่องเดียวกัน การเข้ามาช่วยเหลือกันก็เท่ากับกำลังจะจมน้ำตายช่วยคนที่กำลังจะจมน้ำตายด้วยกัน"
ก. เตี้ยอุ้มค่อม ข. กอดคอกันตาย
ค. เคียงบ่าเคียงไหล่ ง. ร่วมทุกข์ร่วมสุข
15. ข้อใดเหมาะสมที่จะเติมในช่องว่าง
"นกนี่แย่จริงๆ ชอบจับผิดคนอื่นเขา เรื่องเล็กก็ทำเป็นเรื่องใหญ่ ที่ตัวเองผิดล่ะก็ไม่ค่อยจะรู้ตัวบางทีก็ปิดเสียเงียบเชียว"
ก. ช้างตายทั้งตัวเอาใบบัวมาปิด ข. ว่าแต่เขาอีเหนาเป็นเอง
ค. ไม่รู้ไม่ชี้ ง. โทษคนอื่นมองเห็นเป็นภูเขา โทษของเราแลเห็นเท่าเส้นผม
16. ข้อใดใช้สำนวนถูกต้องมากที่สุด
ก. เด็กๆพวกนี้คึกคักยังกับจับปุใส่กระด้งเชียวนะ
ข. เขามีตาเป็นสับปะรดเชียวนะ เพราะฉะนั้นเราจะพูดจะทำอะไรต้องระมัดระวังเอาไว้บ้าง
ค. คนสมัยใหม่ไม่ค่อยจะเชื่อกฎแห่งกรรม แต่สำหรับฉันเชื่อว่ากรรมติดตามเราเหมือนกงจักรกับดอกบัว
ง. เราอย่าไปเอาอย่างงานศพของครอบครัวนั้นเลย ทำแต่พอสมฐานะดีกว่า เดี๋ยวจะได้เชื่อว่า
นอนตายตาไม่หลับ
17. "สองคนนี้เขารู้จุดอ่อนและเล่ห์เหลี่ยมของกันและกันเหมือน..... นั่นแหละ"
ก. เพรชตัดเพรช ข. คอหอยกับลูกกระเดือก
ค. ขนมพอสมน้ำยา ง. ไก่เห็นตีนงู งูเห็นนมไก่
18. "ฉันอยากจะเลือกเขาเป็นหัวหน้าเหมือนกัน แต่ได้ยินว่าเขาเป็นคนโกงมิหนำซ้ำยังเคย
เป็นนักเลงฆ่าคนมามาก ฉันเลยรู้สึกเหมือน..... อย่างนั้นแหละ"
ก. น้ำท่วมปาก ข. กินน้ำเห็นปลิง
ค. แกว่งเท้าหาเสี้ยน ง. ชักใบให้เรือเสีย
19. สำนวนในข้อใดเติมลงในช่องว่างได้เหมาะสม
"คุณจันจิรา งานชิ้นนี้ผมลงทุนไปหลายล้านนะครับ คุณจะทำแบบ..... อย่างที่ผ่านมาไม่ได้นะ"
ก. หมายน้ำบ่อหน้า ข. สุกเอาเผากิน
ค. ผักชีโรยหน้า ง. เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ
20. สำนวนใดเหมาะสมที่จะเติมลงในช่องว่าง
"คุณอุตส่าห์ทำขนมจ่ามงกุฎให้คุณหญิง แต่เพิ่งรู้ว่าท่านทำขนมนี้เก่งมาก ฉัน..... แท้ๆ"
ก. จุดไต้ตำตอ ข. อัฐยายซื้อขนมยาย
ค. เอามะพร้าวห้าวไปขายสวน ง. เนื้อเต่ายำเต่า
21. สำนวนในข้อใดจะเติมลงในช่องว่างได้อย่างเหมาะสม
"ข้อสอบนี้ดูดีๆแล้วไม่ยากหรอก ตัวเลือกมันลวงอยู่นิดเดียว เฉลยแล้วต้องร้อง อ๋อนี่มัน..... แท้ๆ"
ก. ผีบังตา ข. หญ้าปากคอก
ค. ใกล้เกลือกินด่าง ง. เส้นผมบังภูเขา
22. "คุณคิดอย่างไรนะ อยากปรับปรุงทุกอย่างให้ดี มีโครงการเสียใหญ่โต แต่กลัวจะต้องใช้
เงินมากไม่กล้าลงทุน อย่างนี้เขาเรียกว่า..... "
ก. คิดเล็กคิดน้อย ข. ฆ่าควายเสียดายพริก
ค. กินข้าวต้มกระโจมกลาง ง. ขี่ช้างจับตั๊กแตน
23. สำนวนใดเหมาะสมที่จะเติมลงในช่องว่าง
"ถ้าเธอทำขนมเป็นจริงๆฉันคงไม่ต้อง..... บอกวิธีทำโดยละเอียดอย่างนี้"
ก. แจงสี่เบี้ย ข. ชักแม่น้ำทั้งห้า
ค. สอนหนังสือสังฆราช ง. สีซอให้ควายฟัง
24. ข้อใดใช้สำนวนการเปรียบเทียบไม่ถูกต้อง
ก. เหตุการณ์ยังไม่เกิดขึ้นอย่าทำเป็นกระต่ายตื่นตูมไปเลย
ข. เขาเป็นลูกชาวนามาก่อนแต่กลับดูถูกชาวนาเข้าทำนองวัวลืมตีน
ค. เด็กคนนี้ปัญญาไม่ดีสอนเท่าไรไม่รู้จักจำเหมือนตักน้ำรดหัวตอ
ง. เหมือนคุณบูชาโทษ ผมเป็นคนช่วยเขาแท้ๆ ยังถูกกล่าวหาว่าทำร้ายเขา
25. ผู้มีอาชีพที่คนทั่วไปนับถือ คอยแนะนำสั่งสอนคนให้เป็นคนดี แต่กลับปฏิบัติตนเอง
ในทางตรงกันข้าม คนลักษณะนี้ตรงกับสำนวนข้อใด
ก. หน้าเนื้อใจเสือ ข. มือถือสาก ปากถือศีล
ค. ปากหวานก้นเปรี้ยว ง. ปากปราศรัยน้ำใจเชือดคอ
26. บุคคลลักษณะใดที่จะทำให้ผู้เกี่ยวข้องด้วยเสียหายมากที่สุด
ก. ปากอย่างใจอย่าง ข. ปากหวานก้นเปรี้ยว
ค. มือถือสากปากถือศีล ง. ปากปราศรัยน้ำใจเชือดคอ
27. "คนที่รู้อะไรด้านเดียว แล้วเข้าใจว่าสิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น" ตรงกับสำนวนในข้อใด
ก. ตาบอดได้แว่น ข. ตาบอดคลำช้าง
ค. ตาบอดสอดตาเห็น ง. ตาบอดตาใส
28. ข้อใดเป็นสำนวนทุกตัว
ก. แก้เผ็ด แก้มือ แก้ไข แก้เกี้ยว แก้ลำ ข. คู่ปรับ คู่หู คู่มือ คู่ควร คู่ใจ
ค. มือปืน มือมืด มือขวา มืออ่อน มือรอง ง. หน้าม้า หน้าแดง หน้าปั้น หน้าเลือด หน้าบาง
29. ข้อใดมีความหมายใกล้เคียงกับสำนวน "นกสองหัว" มากที่สุด
ก. ตีสองหน้า ข. จับปลาสองมือ
ค. สองฝักสองฝ่าย ง. เหยียบเรือสองแคม
30. "นางเห็นรูปสุวรรณอยู่ชั้นใน เอารูปเงาะสวมไว้ให้คนหลง" ความหมายแฝงข้อความข้างบนนี้ตรงกับสำนวนไทยในข้อใด
ก. น้ำขุ่นอยู่ใน น้ำใสอยู่นอก ข ข้างนอกสุกใส ข้างในเป็นโพรง
ค. ช้างตายทั้งตัว เอาใบบัวมาปิด ง. ข้างนอกขรุขระ ข้างในต๊ะติ๊งโหน่ง
เลือกข้อที่ถูกต้องที่สุด
31 คำถาม : โวหารในภาษาไทยมีกี่ชนิด
ก. 3 ชนิด
ข. 4 ชนิด
ค. 5 ชนิด
ค. 6 ชนิด
32. คำถาม : "พ่อแม่ของธนามีอาชีพเลี้ยงเป็ดพันธุ์ไข่คราวละหลายร้อยตัว เป็ดเหล่านี้กำลังออกไข่ทุกวัน ธนาจึงตื่นแต่เช้าเก็บไข่เป็ดในเล้า ให้แม่นำไปขายที่ตลาด" เป็นโวหารชนิดใด
ก. พรรณนาโวหาร
ข. บรรยายโวหาร
ค. สาธกโวหาร
ง. อุปมาโวหาร
33. คำถาม : ผิวน้ำสีขุ่นที่ถูกสายลมเย็นปลายเดือนกุมภาพันธุ์โชยพัดผ่าน ทำให้น้ำเป็นระลอกทยอยเข้ากระทบฝั่งครั้งแล้วครั้งเล่า ดงดอกหญ้าริมฝั่งที่เหี่ยวแห้งจนกลายเป็นสีน้ำตาลปะทะลมดังหวีดหวิว เป็นโวหารชนิดใด
ก. พรรณนาโวหาร
ข. บรรยายโวหาร
ค. อุปมาโวหาร
ง. สาธกโวหาร
34 คำถาม : ความพยายามและความตั้งใจที่จะก้าวหน้า เป็นพลังสำคัญสำหรับต่อสู้อุปสรรค และส่งเสริมบุคคลให้ทำการต่างๆได้สำเร็จ ยิ่งผู้นั้นมีความรู้สูง มีจิตใจดีเป็นพื้นฐาน ผลงานที่ทำยิ่งมีผลกว้างขวาง ปราศจากโทษและอำนวยประโยชน์แก่ตนและส่วนรวมเป็นอย่างยิ่ง เป็นโวหารชนิดใด
ก. เทศนาโวหาร
ข. บรรยายโวหาร
ค. พรรณนาโวหาร
ง. สาธกโวหาร
35 คำถาม : เขารักษาความดีประดุจเกลือรักษาความเค็ม ทำให้มีแต่คนนับถือ
ก. บรรยายโวหาร
ข. อุปมาโวหาร
ค. เทศนาโวหาร
ง. สาธกโวหาร
36. ข้อใดที่ไม่ใช้โวหารภาพพจน์
ก. ฉันไม่ใช่พระอิฐพระปูนนะ
ข. เขามีเพชรอยู่ในมือแต่ปล่อยให้หลุดมือไปได้
ค. ธรรมชาติรอบข้างต่างสลดหมดความคะนองทุกสิ่งทุกอย่าง
ง. บนเนินเขาเตี้ยๆ มีน้ำพุที่ให้น้ำตลอดฤดู ทั้งฤดูร้อนและฤดูหนาว
37. "บุหลันเลื่อนลอยฟ้าไม่ราคี รัศมีส่องสว่างดั่งกลางวัน
ข้อความนี้เป็นโวหารภาพพจน์ชนิดใด ?
ก. อุปมา
ข. อติพจน์
ค. อุปลักษณ์
ง. บุคลาธิษฐาน
38. ข้อใดมีโวหารภาพพจน์เหมือนข้อความที่ว่า " เธอเป็นทาสผู้ซื่อสัตย์ของฉัน "
ก. เธอคือสายน้ำฉ่ำใจ
ข. เมื่อลมพัดใบไม้สะบัดโบกมือเรียกเธอ
ค. เรือชัยไวว่องวิ่งรวดเร็วจริงยิ่งอย่างลม
ง. รอบข้างไม่มีที่นาที่ไหนว่าง แต่ชาวนายังอดตาย
39. ข้อใดเป็นโวหารภาพพจน์ ?
ก. พลพายกรายพายทอง ร้องโห่เห่โอ้เห่มา
ข. นกแก้วแจ้วแจ่มเสียง จับไม้เรียงเคียงคู่สอง
ค. ไก่ฟ้ามาตัวเดียว เดินท่องเที่ยวเลี้ยวเหลี่ยมเขา
ง. เพียนทองงามดั่งทอง ไม่เหมือนน้องห่มตาดพราย
40. ข้อใดเป็นโวหารภาพพจน์ชนิด " อวพจน์ "
ก. ร้อนตับจะแตก
ข. รอมาสักร้อยชาติแล้ว
ค. เหนื่อยสายตัวแทบขาด
ง. คอยสักอึดใจเดียวเท่านั้น
โวหารภาพพจน์
การใช้โวหารเป็นการพลิกแพลงใช้ภาษาให้แปลกออกไปจากปกติ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพ อารมณ์ ความรู้สึก การใช้โวหารนั้นมีหลายลักษณะ ลักษณะต่าง ๆ เหล่านี้ เรียกกันว่า ภาพพจน์ การสร้างภาพพจน์เป็นศิลปทางภาษาขั้นสูงของการแต่งคำประพันธ์ โดยผู้แต่งใช้กลวิธีการเปรียบเทียบที่คมคายในลักษณะต่างๆ ภาพพจน์มีหลายประเภท แต่ที่สำคัญๆ คือได้แก่๑. อุปมา เป็นการเปรียบเทียบว่าสิ่งหนึ่งเหมือนกับอีกสิ่งหนึ่ง การปรียบเทียบแบบนี้จะมีคำว่า เหมือน เสมือน ดุจ ดั่ง เพียง ราว เล่ห์ เฉก พ่าง แม้น ปาน เช่น ปรากฏอยู่ เช่น
* ความรักเหมือนโคถึก กำลังคึกผิขังไว้ ก็โลดจากคอกไป บ่ยอมอยู่ณที่ขัง
* ทนต์แดงดั่งแสงทับทิม เพริศพริ้มเพรารับกับขนง (อิเหนา)
* ปางเมื่อท้าวเธอจะยกสองดรุณเรศผู้ลูกรัก ราวกะจะแขวะควักซึ่งดวงเนตรทั้งสองข้างวางไว้ในมือพราหมณ์
๒. อุปลักษณ์ เป็นการเปรียบสิ่งหนึ่ง เป็น หรือ คือ อีกสิ่งหนึ่ง ซึ่งอาจจะละคำว่า เป็น และ คือ ก็ได้ เช่น
* ถึงห้วยโป่งเห็นธารละหานไหล คงคาใสปลาว่ายคล้ายคล้ายเห็น
มีกรวดแก้วแพรวพรายรายกระเด็น บ้างแลเห็นเป็นสีบุษราคัม
(นิราศเมืองแกลง) บางครั้งภาพพจน์แบบอุปลักษณ์ไม่มีคำกริยา "คือ" และ "เป็น" ให้สังเกต เราจะต้องตีความเอาเอง เช่น
* ก้มเกล้าเคารพอภิวาท พระปิ่นภพภูวนาถนาถา
ยับยั้งคอยฟังพระวาจา จะบัญชาให้ยกโยธี
(อิเหนา)
*เมื่อแรกเชื่อว่าเนื้อทับทิมแท้ มาแปรเป็นพลอยหุงไปเสียได้
*ทั้งแปดทิศก็มืดมนมัวทุกหนแห่ง ทั้งขอบฟ้าก็ดาษแดงเป็นสายเลือด ไม่เว้นวายหายเหือดเป็นลางร้ายไปรอบข้าง
ภาษาอุปลักษณ์ นอกจากจะปรากฎในงานประพันธ์แล้ว ยังปรากฎใช้ในภาษาชีวิตประจำวัน เช่น ศึกฟุตบอลโลก ไฟสงคราม ตะเข็บชายแดน ในที่นี้ กวีเปรียบน้ำค้างมีประกายวาวเหมือนประกายของเพชรน้ำงาม และเปรียบหญ้าเป็นผืนพรม เพื่อทำให้ผู้อ่านเกิดจินตภาพชัดเจน "น้ำตาหลั่งเป็นสายเลือด" ข้อความนี้มิได้มุ่งหมายจะเปรียบลักษณะของน้ำตาว่าเหมือนสายเลือด แต่เน้นย้ำเชิงปริมาณว่าร้องไห้ใจจะขาด ดังนั้น "น้ำตาหลั่งเป็นสายเลือด" ประโยคนี้จึงเป็นอติพจน์
๓. บุคคลวัต บุคคลสมมุติ หรือ บุคลาธิษฐาน เป็นการสมมุติสิ่งต่าง ๆ ให้มีกริยา อาการ ความรู้สึกต่าง ๆ เหมือนมนุษย์ เช่น ดวงตะวัน แย้มยิ้ม, สายลมโลมไล้เอาอกเอาใจ
* เสียงซากอิฐปูนสะอื้น สะเทือนพื้นสุธาไหว
* พฤกษาลดามาลย์ต้นไม้แต่งตัว อยู่ในม่านมัวของหมอกคราม
* น้ำเซาะหินรินรินหลากไหล ไม่หลับเลยชั่วฟ้าดินสลาย
๔. อติพจน์ อธิพจน์ หรือ อวพจน์ เป็นการกล่าวที่เกินจริงหรือน้อยกว่าจริง เพื่อเน้นอารมณ์ความรู้สึก เช่น
*จะว่าโศกโศกอะไรที่ในโลก ไม่เท่าโศกใจหนักเหมือนรักสมร
*จะว่าหนักหนักอะไรในดินดอน ถึงสิงขรก็ไม่หนักเหมือนรักกัน
สัญลักษณ์ เป็นการใช้สิ่งหนึ่งแทนอีกสิ่งหนึ่งที่มีคุณสมบัติบางอย่างร่วมกัน ทุกคนในสังคมรู้จักสิ่งที่เอามาเปรียบ เช่น
หงส์ - คนชั้นสูง กา - คนชั้นต่ำ
ภุมรา - ผู้ชาย ดอกไม้ - ผู้หญิง
No comments:
Post a Comment
Note: Only a member of this blog may post a comment.