โวหาร หมายถึง การใช้ถ้อยคาอย่างมีชั้นเชิง เป็นการแสดงข้อความออกมาในทานองต่างๆ เพื่อให้ข้อความได้เนื้อความดี มีความหมายแจ่มแจ้ง เหมาะสมน่าฟัง ในการเขียนเรื่องราวอาจใช้โวหารต่างๆ กัน แล้วแต่ชนิดของข้อความ
( สมถวิล วิเศษสมบัติ. ๒๕๔๔ : ๑๒๙)
สำนวนโวหารในภาษาไทย ที่แบ่งออกเป็น 5 ประการ
1. บรรยายโวหาร
2. พรรณนาโวหาร
3. เทศนาโวหาร
4. สาธกโวหาร
5. อุปมาโวหาร
บรรยายโวหาร คือ โวหารที่ใช้เล่าเรื่อง หรืออธิบายเรื่องราวต่าง ๆ ตามลำดับเหตุการณ์ การเขียนบรรยายโวหาร จะมุ่งความชัดเจน เขียน ตรงไปตรงมา รวบรัด กล่าวถึงแต่สาระสำคัญไม่จำเป็นต้องมีพลความ หรือความปลีกย่อยเสริม
ในการเขียนทั่ว ๆไปมักใช้การบรรยายโวหาร เพราะเหมาะในการติดต่อสื่อสารเนื่องจากสำนวนประเภทนี้มุ่งสาระเขียนอย่างสั้น ๆได้ความชัดเจน งานเขียนที่ควรใช้การเขียนอธิบายประเภทต่าง ๆเช่น เขียนรายงานวิทยานิพนธ์ ตำรา บทความ การเขียนเพื่อเล่าเรื่อง เช่น บันทึก จดหมายเหตุ การเขียนเพื่อแสดงความคิดเห็นประเภทบทความเชิงวิจารณ์ ข่าว เป็นต้น
หลักการเขียนบรรยายโวหาร
1. เรื่องที่เขียนต้องเป็นเรื่องจริง ผู้เขียนควรมีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่จะเขียนเป็นอย่างดี โดยอาจรู้มาจากประสบการณ์ หรือการค้นคว้าก็ได้
2. เลือกเขียนเฉพาะสาระสำคัญ ไม่เน้นรายละเอียด แต่เขียนตรงไปตรงมาไม่อ้อมค้อม
3. ใช้ภาษาให้เข้าใจง่าย หากต้องการจะกล่าวให้ชัดอาจใช้อุปมาโวหารและสาธกโวหารเข้าช่วยได้บ้าง แต่ต้องไม่มากจนส่วน ที่เป็นสาระสำคัญกลายเป็นส่วนด้อยไป
ตัวอย่าง
“ฉันยืนต้นอยู่ในป่าลึก ฉันมีลำต้นสูงใหญ่ กิ่งก้านใบแน่นหนาและแผ่กว้าง แสงอาทิตย์ ไม่อาจส่องลอดได้ เบื้องล่างจึงร่มรื่น ลำธารน้อย ๆ ไหลผ่านใกล้ลำต้นฉันไป น้ำในลำธาร ใสจนเห็นกรวดทราย ท้องธารและปลาว่ายเวียน ทุกวันจะมีสัตว์ป่านานาชนิดมากินน้ำ ที่ลำธารสายนี้ บางตัวจะอาศัยใต้ร่มใบของฉันนอนหลับอย่างเป็นสุข”
(จาก ฉันคือต้นไม้ ของไมตรี ลิมปิชาติ)
พรรณนาโวหาร มีจุดมุ่งหมายในการเขียนต่างจากบรรยายโวหาร คือมุ่งให้ความแจ่มแจ้ง ละเอียดลออ เพื่อให้ผู้อ่านเกิดอารมณ์ซาบซึ้งเพลิดเพลินไปกับข้อความนั้นการเขียนพรรณนาโวหารจึงยาวกว่าบรรยายโวหารมาก แต่มิใช่การเขียนอย่างเยิ่นเย้อ เพราะพรรณนา-โวหารต้องมุ่งให้ภาพ และอารมณ์
ดังนั้น จึงมักใช้การเล่นคำ เล่นเสียง ใช้ภาพพจน์ แม้เนื้อความที่เขียนจะน้อยแต่เต็มด้วยสำนวนโวหารที่ไพเราะ อ่านได้รสชาติ
หลักการเขียนพรรณนาโวหาร
1. ต้องใช้คำดี หมายถึง การเลือกสรรถ้อยคำ เพื่อให้สื่อความหมาย สื่อภาพ สื่ออารมณ์เหมาะสมกับเนื้อเรื่องที่ต้องการบรรยาย ควรเลือกคำ ที่ให้ความหมายชัดเจน ทั้งอาจต้องเลือกให้เสียงคำสัมผัสกันเพื่อเกิดเสียงเสนาะอย่างสัมผัสสระ สัมผัสอักษร ในงานร้อยกรอง
2. ต้องมีใจความดี แม้จะพรรณนายืดยาว แต่ใจความต้องมุ่งให้เกิดภาพ และอารมณ์ความรู้สึกสอดคล้องกับเนื้อหาที่กำลังพรรณนา
3. อาจต้องใช้อุปมาโวหาร คือ การเปรียบเทียบเพื่อให้ได้ภาพชัดเจน และมักใช้ศิลปะการใช้คำที่เรียกว่า ภาพพจน์ประเภทต่าง ๆ ทั้งนี้เป็นวิธีการที่จะทำให้พรรณนาโวหารเด่น ทั้งการใช้คำ และการใช้ภาพที่แจ่มแจ้ง อ่านแล้วเกิดจินตนาการและความรู้สึกคล้อยตาม
4. ในบางกรณีอาจต้องใช้สาธกโวหารประกอบด้วย คือ การยกตัวอย่างเพื่อให้เกิดความแจ่มแจ้ง โดยยกตัวอย่างสิ่งที่ละม้ายคล้ายคลึงกัน เพื่อให้เกิดภาพและอารมณ์เด่นชัดพรรณนาโวหารมักใช้กับการชมความงามอื่น ๆ เช่น ชมสถานที่ สรรเสริญบุคคล หรือใช้พรรณนาอารมณ์ ความรู้สึก เช่น รัก เกลียด โกธร แค้น เศร้าสลด เป็นต้น
ผจงจารพิจิตรแย้ม | ประจำยาม |
ประดับประดาดาม | ดอกแก้ว |
ฟื้นผนังคัดนาค์คราม | คัดดอก |
ขนัดขนดม่วงแพร้ว | เพริศพริ้งชมภู |
(จาก ชักม้า ชมเมือง ของ เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์)
เทศนาโวหาร หมายถึง โวหารที่มีจุดหมายแสดงความแจ่มแจ้งเพื่อให้ผู้อ่านคล้อยตามหรืออาจกล่าวได้ว่ามุ่งชักจูงให้ผู้อ่าน คิดเห็นหรือคล้อยตามความคิดเห็นของผู้เขียนเทศนาโวหาร จึงยากกว่าโวหารที่กล่าวมาแล้วทั้ง 2 โวหาร เพราะต้องใช้กลวิธีในการชักจูงใจ
หลักการเขียนเทศนาโวหาร การเขียนเทศนาโวหารต้องใช้โวหารประเภทต่าง ๆ มาประกอบ กล่าวคือทั้งใช้บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร รวมทั้งอุปมาโวหาร และ สาธกโวหารด้วย ทั้งนี้เพื่อให้ใจความชัดเจนแจ่มแจ้ง มีทั้งความหลักและความรองเป็นที่เข้าใจจนเกิดความรู้สึกนึกคิดคล้อยตามผู้เขียน ไปได้หากเป็นการแสดงความคิดเห็นควรอธิบายทั้งด้านที่เป็นประโยชน์และโทษ หรือแสดงเหตุและผลการเขียนเทศนาโวหาร
ผู้เขียนต้อง มีความรู้เกี่ยวกับเรื่องที่เขียนเป็นอย่างดี สามารถอธิบายอย่างชัดเจน ทั้งควรพรรณนาให้เกิดความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง ต้องรู้จักใช้เหตุผล และหลักฐานสนับสนุนความคิดเห็นที่ตนเสนอด้วย การลำดับความให้สัมพันธ์กันอย่างมีเหตุผลจึงเป็นหลักสำคัญอีกประการหนึ่ง ในการเขียนเทศนาโวหารโดยทั่วไปมักเข้าใจกันว่า เทศนาโวหาร แปลว่า โวหารที่มุ่งสั่งสอน โดยตีความคำว่าเทศนา ว่าสั่งสอน
ความจริงเทศนาในที่นี้ หมายถึง แสดง กล่าวคือ แสดงอย่างแจ่มแจ้งเพื่อให้เห็นคล้อยตาม รูปแบบงานเขียนที่ควรใช้เทศนาโวหารคือ งานเขียนประเภทบทความชักจูงใจ หรือบทความแสดงความคิดเห็น ความเรียง เป็นต้น
แล้วสอนว่าอย่าไว้ใจมนุษย์ | มันแสนสุดลึกล้ำเหลือกำหนด |
ถึงเถาวัลย์พันเกี่ยวที่เลี้ยวลด | ก็ไม่คดเหมือนหนึ่งในน้ำใจคน |
มนุษย์นี้ที่รักอยู่สองสถาน | บิดามารดารักมักเป็นผล |
ที่พึ่งหนึ่งพึ่งได้แต่กายตน | เกิดเป็นคนคิดเห็นจึงเจรจา |
แม้นใครรักรักมังชังชังตอบ | ให้รอบคอบคิดอ่านนะหลานหนา |
รู้อะไรใดไม่สู้รู้วิชา | รู้รักษาตัวรอดเป็นยอดดี |
(พระอภัยมณี)
สาธกโวหาร คือ โวหารที่มุ่งให้ความชัดเจน โดยการยกตัวอย่างเพื่ออธิบายให้แจ่มแจ้งหรือสนับสนุนความคิดเห็นที่เสนอให้หนักแน่น น่าเชื่อถือ สาธกโวหารเป็นโวหารเสริม บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร และเทศนาโวหารเช่นการเลือกยกตัวอย่างมีหลักที่ควรเลือกให้เข้ากับเนื้อความ อาจยกตัวอย่างสั้น ๆ ในบรรยายโวหารหรืออาจยกตัวอย่างที่มีรายละเอียดประกอบในพรรณนาโวหาร และเทศนาโวหาร เป็นต้น
ในการเขียนข้อเขียนต่าง ๆควรรู้จักเลือกใช้โวหารให้เหมาะกับจุดมุ่งหมายในการเขียนและเนื้อหาในบางโอกาส อาจต้องใช้โวหารหลายชนิดในงานเขียนชิ้นหนึ่งก็ได้ หลักสำคัญอยู่ที่ว่าต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับโอกาส จุดมุ่งหมายและเขียนได้อย่างถูกต้อง ตามลักษณะโวหารนั้น ๆ
เป็นมนุษย์สุดดีที่ทำชอบ | จงประกอบกรรมดีไว้ไม่สูญหาย |
มีเรื่องจะทำดีได้มากมาย | อย่าเหนื่อยหน่ายท้อใจใฝ่ทำดี |
วีรชนของไทยใจกล้าหาญ | ได้ต่อสู้ศัตรูพาลสมศักดิ์ศรี |
แม่ย่าโมท้าวสุรนารี | ยอดสตรีนามระบือลือทั่วไทย |
อุปมาโวหาร หมายถึง โวหารเปรียบเทียบ โดยกตัวอย่าง สิ่งที่คล้ายคลึงกันมาเปรียบเพื่อให้เกิดความชัดเจนด้านความหมาย ด้านภาพ และเกิดอารมณ์ ความรู้สึกมากยิ่งขึ้น กล่าวได้ว่าอุปมาโวหาร คือ ภาพพจน์ประเภทอุปมานั่นเอง อุปมาโวหารใช้เป็นโวหารเสริม บรรยายโวหาร พรรณนาโวหาร และเทศนาโวหาร เพื่อให้ชัดเจนน่าอ่าน โดยอาจเปรียบเทียบอย่างสั้น ๆ หรือเปรียบเทียบอย่างละเอียดก็ได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอุปมา โวหารนั้นจะนำไปเสริมโวหารประเภทใด
ความรักเหมือนโรคา | บันดาลตาให้มืดมน |
ไม่ยินและไม่ยล | อุปสรรคคะใดใด |
ความรักเหมือนโคถึก | กำลังคึกผิขังไว้ |
ก็โลดจากคอกไป | บ่ย่อมอยู่ ณ ที่ขัง |
ประโยชน์ในการศึกษาสำนวนโวหาร
1. ทำให้ใช้ภาษาในการเขียน ความเรียงต่างๆ ได้ดีขึ้น เป็นการช่วยเพิ่มคุณค่าให้กับความ เรียงที่เขียนขึ้น
- ด้านการเรียน ตัวอย่างๆ “รู้ไว้ใช่ว่า ใส่บ่าแบกหาม” “ฝนทั่งให้เป็นเข็ม” “ความรู้ท่วม หัวเอาตัวไม่รอด”
- ด้านการคบค้าสมาคม ตัวอย่าง “คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ” “คบเด็กสร้างบ้าน คบหัวล้านสร้างเมือง”
- ด้านการครองเรือน ตัวอย่าง “ความในอย่านำออก ความนอกอย่านำเข้า” “ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่ ปลูกอู่ตามใจผู้นอน”
- ด้านความรัก ตัวอย่าง “ยามรักน้ำต้มผักก็ว่าหวาน” “รักยาวให้บั่น รักสั้นให้ต่อ” “รักวัวให้ผูก รักลูกให้ตี”
3. ทำให้ทราบความเป็นอยู่ของคนในสังคม ในสมัยที่เกิดสำนวนโวหารนั้น ว่ามีความเป็นอยู่ อย่างไร เช่น “อัฐยายซื้อขนมยาย” “แบ่งสันปันส่วน” “หมูไปไก่มา"
4.เป็นการรักษาวัฒนธรรมทางภาษาอันเป็นมรดกที่ล้ำค่าของไทยไว้ให้ลูกหลานภาคภูมิใจ
No comments:
Post a Comment
Note: Only a member of this blog may post a comment.