ใกล้ช่วงเวลาที่นักเรียนต้องฝึกการเขียน ในเทอม 2 และที่สำคัญทุกคนต้องเขียนบทความในชวงปิดเทอม ครูจะสอนการเขียนให้ จะได้รับรางวัล และประสบความสำเร็จเหมือนพี่นกของเรา ก่อนอื่นต้องเข้าใจหลักการเขียนก่อน ตามที่กำหนดข้างล่างนี้ และเราฝึกเขียนบ่อยๆ ก็จะชำนาญ
หลักในการเขียนเรียงความ
หลักในการเขียนเรียงความที่สำคัญ ๆ มีดังนี้
1. เขียนตรงตามส่วนประกอบของเรียงความ คือ มีส่วนนำเรื่อง ส่วนเนื้อเรื่องและส่วนปิดเรื่อง ย่อหน้าแรกและย่อหน้าสุดท้ายเป็นส่วนนำเรื่องและส่วนปิดเรื่อง2. เขียนตรงตามโครงเรื่องที่วางไว้ทุกประเด็น
3. เนื้อเรื่องที่วางไว้ตามโครงเรื่องควรเขียนอย่างครบถ้วน และสมบูรณ์ และมีการลำดับความที่ต่อเนื่องสอดคล้องกัน อ่านเข้าใจ ประเด็นความคิดหลักต้องแจ่มชัด อย่าเขียนออกนอกเรื่อง หรือนอกประเด็นไม่ตรงตามโครงเรื่องที่วางไว้
4. การนำเสนอเรื่อง นอกจากจะให้มีสาระน่าอ่านแล้ว ยังควรต้องเลือกสรรข้อความที่เหมาะสมมากล่าวจะทำให้มีน้ำหนักของถ้อยคำน่าเชื่อถือ สามารถจูงใจให้ผู้อ่านเห็นคล้อยตามถ้อยคำที่เลือกสรรไว้
5. มีความคิดแปลกใหม่ ทันสมัย น่าสนใจ สอดแทรกในข้อเขียนอย่างเหมาะเจาะกลมกลืน นับเป็นท่วงทำนองการเขียนเฉพาะตัวที่น่าสนใจ หรือแสดงความคิดเชิงสร้างสรรค์6. มีสำนวนการเขียนดี มีโวหาร คือ มีถ้อยคำที่เรียบเรียงน่าอ่าน มีการแสดงถ้อยคำออกมาเป็นข้อความที่เปรียบเทียบ
7. มีความงามในรูปแบบ คือ หัวข้อกลางหน้ากระดาษ หัวข้อชิดขอบกระดาษ หัวข้อย่อหน้า หัวข้อย่อยจะวางรูปแบบได้สัดส่วนเหมาะเจาะ สวยงาม อ่านง่าย ไม่สับสน ย่อหน้าใหม่ทุกครั้งเมื่อต้องเปลี่ยนเรื่องใหม่
8. เรียงความที่ต้องประกอบด้วย เอกภาพ สัมพันธภาพ และสารัตถภาพ
(คู่มือการเรียนการสอนภาษาไทย คิดและเขียนเชิงสร้างสรรค์:เรียงความ ย่อความและสรุปความ ช่วงชั้นที่2-4,สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ,2551)
No comments:
Post a Comment
Note: Only a member of this blog may post a comment.