Friday, August 21, 2015

สะท้อนการอ่าน

นักเรียนเอาไปตอบคำถามเรื่องนิสัยของตัวละคร และยกตัวอย่างประกอบได้คะ



Saturday, August 15, 2015

คะแนน Midterm กลางภาค

ให้นักเรียนโปรดตรวจสอบคะแนน นักเรียนสามารถดูคะแนนนี้ได้ในเฟสกลุ่มเช่นกัน
และสามารถส่งคะแนนทีค้างได้ในเฟสกลุ่มคะ และเอาต้นฉบับบมายื่นยันในวันเรียนอีกที และให้มาติดต่อแก้ไข เพิ่มเติมด่วนคะ
ระพิ


Saturday, August 1, 2015

สรุปเรื่องนักสืบทองอิน

                  ที่บางพระโขนง กำนัน ชื่อ พันโชติ  ภรรยา ชื่อ นาก  มีบุตร 2 คนชื่อ ชม และ ชื่น  เมื่อนากเสียชีวิต  พันโชติคิดมีภรรยาใหม่ เกิดปีศาจชื่อ นาก เที่ยวหลอกหลอนผู้คน  กลางคืนก็มีคนเห็นเดินอยู่ริมคอกกระบือ เที่ยวหลอกผู้ร้ายที่จะมาลักกระบือ และช่วยตักน้ำให้พันโชติเต็มตุ่มทุกคืน  ชาวบ้านเชื่อว่า เป็นปีศาจนาก เพราะเมื่อนากมีชีวิตนั้น เป็นผู้หญิงที่ขี้หึงมาก

นายวัดและนายทองอินไม่เชื่อว่าเป็นผีจริง จึงไปสืบเรื่องจากนายเปรม เพื่อนบ้านพันโชติทราบว่ามีจดหมายจากนากถึงพันโชติ  บอกว่าไม่มีเจตนาจะทำร้ายใคร และห้ามพันโชติคิดมีภรรยาใหม่  นายอินสอบถามเรื่องลายมือ  ทราบว่าพันโชติ มักอาศัยให้นายชมช่วยเขียนจดหมาย  นายชมเคยพูดว่า ไม่อยากให้พ่อมีภรรยาใหม่ เพราะกลัวเรื่องทรัพย์สมบัติ และชวนนายปริก ลูกชายนายเปรมไปดูผีด้วยกัน  นายวัดและนายอินไปที่บ้านพันโชติ สังเกตเห็นหลังเรือนมีสะพานไม้ท่อนเดียว ต่อไปคือ คอกกระบือและโรงนา  พันโชติเล่าว่านายชมเป็นคนนำจดหมายมาให่้ สั่งให้หาของกินไว้ พอรุ่งเช้าก็มีร่องรอย  ตัวเขาเองเคยเห็นผู้หญิงห่มผ้าคาดอกตักน้ำในคูมาใส่ตุ่ม  พอเดินตามหญิงนั้นก็หายไปใต้ถุนเรือนและมีหญิงที่แต่งกายเหมือนกันปรากฏที่คูฝั่งตรงข้ามก่อนหายวับไปในเวลาที่รวดเร็วมาก

นายอินบอกพันโชติว่า นายวัดเป็นหมอปีศาจ  นายทองอินออกอุบายให้พันโชติไปตักน้ำที่กลางแม่น้ำจอกหนึ่ง เทียนขี้ผึ้งจากพระเล่มหนึ่ง สายสิญจน์กลุ่มหนึ่ง  หญ้าคากำมือหนึ่ง  เพื่อถ่วงเวลาสำรวจรอบตัวเรือนและวางแผนเมื่อเสร็จพิธี  โดยนายวัดแอบอยู่ใต้ถุนริมโอ่งน้ำ  เมื่อได้ยินเสียงตักน้ำใส่ตุ่ม  นายทองอินก็ลงไปดู ผีนากจึงหนีไปปรากฏตัวฝั่งตรงข้าม  นายวัดก็วิ่งข้ามสะพานไม้กระด่านสามแผ่นที่เตรียมไว้ไปจับผีได้ และจูงมาพบกับผีที่ตักน้ำ พบว่า เป็นนายชมกับนายปริก

นายชมสารภาพว่า อยากกินขนมและนึกสนุก อีกทั้งไม่อยากให้พ่อมีภรรยาใหม่ นายวัดและนายอินขอให้ทั้งสองสัญญาว่า จะเลิกทำเป็นผี  มิฉะนั้นจะบอกนายพันและนายเปรม  ก่อนปล่อยตัวทั้งสองไป  จากนั้นมาก็ไม่ปรากฏปีศาจนากมารบกวนใครอีกต่อไป


พิ่มเติม และตอบ ตามความคิดเห็น
ประโยชน์ หรือข้อคิดของเรื่อง
1. ตามเนื้อเรื่องก็สะท้อนให้เห็นถึงความเชื่อว่า ผีไม่มีจริง และการจะเชื่อเรื่องอะไร ควรยึดในหลักฐานหรือข้อเท็จจริงที่ปรากฏ มากกว่าข่าวลือ หรือความรู้สึก
2. ตามเนื้อเรื่อง ก็จะเห็นในส่วนของการให้โอกาสคน เช่นตอนที่นายทองอินไม่ได้จับเจ้าเด็กสองคนที่ทำให้เกิดเหตุวุ่นวายไปให้ทางการ
3. ข้อคิดทั้งหมดในเรื่อง  จากมุมมองผู้อ่าน ในตัวบทอ่าน ก็จะพบว่า รัชกาลที่ 6 (ผู้แต่ง) ได้ให้นายวัดพูดแสดงเกี่ยวกับลักษณะของตัวละครเอก คือนายทองอิน ว่าเป็นใคร ทำงาน ทำการอะไร แต่ทั้งนี้ นายวัดเอง ก็ใช้คำพูดว่า ทั้งนี้  "ข้าพเจ้าได้รับอนุญาติของนายทองอินแล้วให้ขยาย" ในหน้าที่ 21 นั่นน่าจะหมายถึงให้พูดเกี่ยวกับตัวนายทองอินได้ นั่นเอง " รวมๆ ก็น่าจะแปลหรือสะท้อนได้ว่า การจะพูดถึงใครข้างหลัง ก็ควรได้รับอนุญาติก่อน ถึงจะถูกต้อง จุดนี้อาจสะท้อนให้เห็นว่าการพูดถึงคนอื่น อาจมีมาก จนดูเป็นปกติ และการให้ข่าวลือ คงเยอะ จนต้องมีการให้ตัวอย่างที่ถูกต้องคือการได้รับอนุญาตให้พูด จากเจ้าตัวก่อน
4. อีกมุมมองหนึ่ง น่าจะเป็นการสอนคนให้รู้จักใช้วิจารณญานในการฟังและเชื่อ มากกว่าการฟังอย่างงมงาย โดยไม่ตรวจสอบหรือพิสูจน์ 
 5 ผลของเหตุการณ์ ก็น่าจะเป็นความเข้าใจที่ถูกต้อง หรือการสยบข่าวลือที่ไม่เป็นจริงได้ และทำให้เกิดความสงบสุข การกลัวสิ่งที่ไม่มีตัวตน อาจทำเกิดความเสียหายต่อวิถีชีวิตของคนในสมัยนั้นได้ เช่นไม่กล้าเดินทาง หรือประกอบอาชีพ ในพื้นทีที่มีผี หรือวิญญาน 
6 ปัญหาของนิทานทองอิน ยังไม่แน่ใจในคำถามนะคะ ว่าจะให้ตอบอย่างไร แต่ถ้าถามว่าในเรื่องนี้มีปัญหาไหม  ก็ตอบตามเนื้อเรื่องปัญหาน่าจะมาจากคนในสมัยนั้นอาจจะค่อนข้างชื่อในสิ่งที่พิสูจน์ไม่ได้ มากเกินไปจนส่งผลกระทบกับวิถีชีวิตและความเป็นอยู่  ดังนั้นรัชกาลที่ 6 ท่านอยากให้คนไทย ชื่อในสิ่งที่ควรเชื่อ และควรมีการตรวจสอบ มีการหาหลักฐานที่นำมาซึ่งข้อสรุปที่ถูกต้อง อีกอย่างสอนให้คนเรามีทักษะในการสังเกต จะเห็นว่าทองอินจะสะท้อนให้เห็นว่า การเป็นคนช่างสังเกตจะช่วยให้เห็นปัญหา และนำมาซึ่งคำตอบได้ 

7 มีคำถามที่ถามมาว่า   นายทองอินทำอาชีพอะไร 
คำตอบอยู่ในหน้า 21  ว่านายทองอินทำการคล้ายพลตระเวนลับ (นักสืบหรือสายสืบในปัจจุบัน)